โรงพยาบาลสมิติเวชได้เผยแพร่ข้อมูลเชิงสถิติ ระบุว่า ออฟฟิศซินโดรม สามารถพบได้ในคนไทยมากกว่า 80% โดยจากกลุ่มตัวอย่างเคยมีอาการของโรคนี้ จะมีอาการเกิดขึ้นได้จากการทำงานลักษณะใดก็ตาม ที่ต้องอยู่ในท่าเดิม ๆ เป็นเวลานาน หรือมีพฤติกรรมใช้คอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือบ่อยครั้ง
ถึงแม้อาการของ ออฟฟิศซินโดรม ไม่ได้รุนแรงเท่าไหร่นัก แต่ถ้าปล่อยไว้ไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม มันก็อาจรุนแรงขึ้น จนกระทั่งกลายเป็นอาการปวดเรื้อรังได้หรือเกิดอันตรายอื่น ๆ ตามมาได้ โดยเฉพาะผลกระทบต่อกล้ามเนื้อ กระดูกสันหลัง ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบทางเดินอาหาร การไหลเวียนของเลือด
วิธีง่าย ๆ ที่ช่วยป้องกันออฟฟิศซินโดรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีดังนี้
1.ปรับอิริยาบถ – ถ้าไม่ได้เป็นมากจนต้องเข้ารักษากับ https://www.themoveclubratchada.com/office-syndrome.html ขอแนะนำให้พนักงานออฟฟิศที่ใช้เวลานั่งทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน เวลานั่งนาน ๆ ก็ให้ลุกออกจากหน้าจอสักพัก เพื่อยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ผ่อนคลายขยับร่างกาย โดยให้ทำเป็นประจำทุก 20 นาที
ส่วน ออฟฟิศซินโดรม ที่เกิดจากจ้องหน้าจอนานเกินไป ก็ควรพัก สายตา เป็นประจำทุก 10 นาที หรือกะพริบตาบ่อย ๆ เพราะช่วยให้ดวงตาคงความชุ่มชื้นไว้ได้ หรือลองปรับเปลี่ยนโต๊ะทำงานเป็นพื้นที่สีเขียวผ่อนคลายสายตาก็ได้ หรือจะหาซื้อแว่นกรองแสงสีฟ้ามาใส่ก็ดี เพราะช่วยวยลดปริมาณแสงสีน้ำเงินที่กระทบดวงตาได้ ซึ่งแสงสีน้ำเงินนี้ทำให้เกิดความเครียดทางตา และทำให้เกิดโรคในดวงตา
3.ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เลี่ยง ออฟฟิศซินโดรม - โดยเฉพาะการนอนหลับผักผ่อนอย่างเพียงพอ ทาน อาหาร ครบ 5 หมู่ และหันมาออกกำลังกายบ้าง การเลือกทานอาหารเพื่อสุขภาพอย่างผัก ผลไม้ และไขมันปลาในปริมาณที่พอเหมาะ ก็จะช่วยลดการอักเสบภายในร่างกายได้มากกว่ารับประทานอาหารจากคาร์โบไฮเดรตและอาหารแปรรูปอื่น ๆ