โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตมาก ถือเป็นโรคที่คร่าชีวิตคนติดอันดับสูง 1 ใน 5 โรคร้ายแรง หากคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคหัวใจและมีปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ เช่น โรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคหัวใจ ควรตรวจสุขภาพและ โปรแกรมตรวจหัวใจ เป็นประจำทุกปี เมื่อพบสัญญาณความผิดปกติแต่เนิ่นๆ สามารถรักษาอย่างทันท่วงทีและปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจโดยไม่รู้ตัว
อัตราผู้ป่วยโรคหัวใจมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นผลมาจากการใช้ชีวิตแบบเร่งด่วน มีกิจกรรมทางกายน้อยลง ขาดการออกกำลังกาย มีภาวะน้ำหนักเกิน ไขมันในเลือดสูง ความเครียด การสูบบุหรี่ ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของอาการโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจตีบตัน ทั้งนี้ พบว่าผู้ชายมีความเสี่ยงต่ออาการโรคหัวใจมากกว่าผู้หญิง แม้ว่า
โรคหัวใจ อาการ นั้นจะไม่มีอาการเตือนให้เห็นชัดเจน แต่ปัจจุบันการตรวจคัดกรองทำได้ง่าย หากเกิดข้อสงสัยว่าเป็นโรคหัวใจควรไปพบแพทย์ที่ โรง พยาบาล รักษา โรค หัวใจ ตรวจให้รู้แน่ชัดว่าเป็นโรคหัวใจหรือไม่
การตรวจคัดกรองโรคหัวใจมีขั้นตอนดังนี้
-แพทย์สอบถามประวัติอาการเจ็บป่วยและปัจจัยเสี่ยงต่างๆ
-ตรวจ สุขภาพ พื้นฐาน เป็นการตรวจร่างกายทุกระบบ ดูน้ำหนักและส่วนสูง ตรวจวัดชีพจร ฟังการเต้นของหัวใจ วัดความดันโลหิต ตรวจระบบหัวใจและหลอดเลือด
-ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เป็นการตรวจจังหวะการเต้นของหัวใจ วิธีนี้อาจไม่เห็นผลโดยตรงแต่วินิจฉัยความรุนแรงของโรคได้ เนื่องจากผู้ที่มีคลื่นไฟฟ้าหัวใจปกติไม่ได้หมายความว่าไม่เป็นโรคหัวใจ แต่ถ้าตรวจพบคลื่นไฟฟ้าหัวใจปกติจะเป็นสัญญาณเตือนว่าป่วยเป็นโรคหัวใจที่มีระดับอาการรุนแรง หัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจตาย
-การเอกซเรย์ทรวงอก เป็นการตรวจปอดและหลอดเลือดแดงใหญ่ในปอด สามารถประเมินขนาดของหัวใจได้
-ตรวจเลือด เป็นการ ตรวจ สุขภาพ หาปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจ เช่น เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง
-อัตราซาวน์หัวใจ เป็นการใช้คลื่นเสียงความถี่สูงตรวจผ่านผนังทรวงอกเพื่อจำลองสร้างภาพของหัวใจช่วยให้แพทย์วินิจฉัยโรคถูกต้องและวางแผนรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
-ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะออกกำลังกายโดยการเดินหรือวิ่งบนสายพาน หรือปั่นจักรยานทำให้หัวใจเต้นเร็วเพื่อตรวจการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจและวัดความดันโลหิตสูง ตรวจลักษณะและความหนาของผนังหัวใจ เป็นการทดสอบที่วินิจฉัยโรคหัวใจได้ครอบคลุมเกือบทั้งหมด
-ตรวจหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์
คอมพิวเตอร์ความเร็วสูงเพื่อวิเคราะห์หาเส้นเลือดแดงตีบซึ่งเป็นสาเหตุของกล้ามเนื้อหัวใจอุดตันเฉียบพลัน และภาวะหัวใจวาย ตรวจการทำ
งานของกล้ามเนื้อหัวใจและเยื่อหุ้มหัวใจ
-ตรวจฉีดสีเพื่อดูเส้นเลือดหัวใจด้วยการสวนหลอดเลือดหัวใจบริเวณขาหนีบ ข้อพับแขน หรือข้อมือ ช่วยในการวินิจฉัยและวางแผนรักษาอย่าง
แม่นยำ
ทุกวันนี้อัตราการเป็นโรคหัวใจพบมากขึ้นในวัยระหว่าง 30-40 ปี หากพบสัญญาณเตือนอาการโรคหัวใจ เช่น เหนื่อยง่ายกว่าปกติ หายใจลำบากเวลาออกกําลังกายหรือใช้แรงมาก เหนื่อยมากจนนอนราบไม่ได้ แน่นหน้าอก และหอบ ปลายนิ้วมือนิ้วเท้าและริมฝีปากมีสีเขียวคล้ำ แนะนำให้เริ่มตรวจสุขภาพ โปรแกรม ตรวจ หัวใจ ช่วงอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ ไม่ว่าจะเป็นกรรมพันธุ์พ่อ
แม่เป็นโรคหัวใจ โรคอ้วนและไขมันในเลือดสูง สูบบุหรี่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง บริโภคอาหารไม่ถูกต้อง และความเครียด ปัจจัยเหล่านี้เป็นตัวการสำคัญทำให้หลอดเลือดหัวใจตีบตัน หัวใจขาดเลือด ซึ่งมีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจมากขึ้น