ดิฉันพนักงานออฟฟิตคนหนึ่งซึ่งวันหยุดในแต่ละครั้ง สิ่งที่คิดไว้เสมอคือการท่องเที่ยว ดิฉันชอบเที่ยวทะเลดำน้ำดูปะการัง แต่ด้วยทุนทรัพย์ในแต่ละครั้ง จึงทำได้แค่นานๆ ไปเที่ยวเกาะใหญ่ๆ สักครั้ง ที่เหลือก็จะเลือกเล่นน้ำตามชายหาด ที่ชอบก็ทะเลทางสัตหีบ หัวหิน อะไรพวกนี้ ซึ่งเดินทางไม่ไกลนัก เอาล่ะ เข้าเรื่องเลยปกติเป็นคนผิวดำอยู่แล้ว ทำยังไงก็ไม่ขาว แต่สิ่งที่ช่วยให้ไม่ทำไปกว่าเดิมได้ก็คือครีมกันแดดนี้ ครีมกันแดดที่ใช้จะดูที่ SPF 50+++ ขึ้นไป ยิ่งบวกเยอะยิ่งคิดว่าป้องกันได้เยอะ แต่ที่ไหนได้บางอันก็โครตเหนียวเนอะไปอีก เคยมีอยู่ครั้งเพื่อนพาไปดำน้ำตื้นๆ ทางใต้อยู่ที่หนึ่งที่คนนิยมไปกัน ขณะกำลังชโลมครัมกันแดดก็มีฝรั่งมองมาที่เราก็รู้สึกสงสัยมองอะไรหนักหนา จนเพื่อนของเพื่อนอีกคนบอกว่าที่ต่างประเทศเค้าห้ามใช้ครีมกันแดดทาลงดำน้ำ มาสักพักแล้ว อย่างเช่นในทะเลแคริบเบี้ยน โซนทวีปอเมริกาใต้ ที่นี่ออกกฏหมายห้ามผลิต นำเข้า จำหน่าย ใช้ ผลิตภัณฑ์กันแดดที่มีสารเคมีอันตรายลงเล่นน้ำกันเชียวล่ะ เลยถึงบางอ้อ ว่าทำไมฝรั่งถึงชอบมาอาบแดดที่ไทยแบบไม่กลัวดำและ และน้อยมากที่จะเห็นฝรั่งเล่นน้ำทะเลจะเห็นชอบมานอนอาบแดดซะส่วนมาก
จนผ่านมาเมื่ออาทิตย์ก่อนมีกระแสเรื่องครีมกันแดดที่เป็นอันตรายต่อปะการังและสัตว์ทะเลขึ้นมาอีกโดยผู้เปิดประเด็นคือ เจ้ากระทรวงทรัพยกรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดิฉันในนามผู้ชื่นชอบการเที่ยวทะเลเป็นชีวิตจิตใจ ขออนุญาตยกข้อมูลคราวๆ นำมาแชร์ให้เพื่อนๆได้ทราบกันสักนิดหน่อยก็ยังดี สำหรับ ผลิตภัณฑ์กันแดดที่มีสารอันตราย 4 ชนิดหลักเลย ได้แก่
Oxybenzone (Benzophenone-3, BP-3)
Octino***e (Ethylhexyl methoxycinnamate)
4-Methylbenzylid Camphor (4MBC)
Butylparaben
ผลของการใช้ครีมกันแดดที่มีส่วนผสม 4 ชนิดนี้จะทำให้เกิดปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวแล้ว สารเคมีในผลิตภัณฑ์กันแดด ก็เป็นอีกตัวการที่ทำให้ปะการังในท้องทะเลอ่อนแอเสื่อมโทรมลงทั้งยังสร้างสารอันตรายกับสิ่งมีชีวิตในทะเลมากกว่าที่ตาเห็น ยกตัวอย่างเช่น
1. สาหร่ายทะเล : ระบบสังเคราะห์แสงทำงานได้ไม่เต็มที่ ส่งผลเสียต่อการเติบโต และขยายพันธุ์
2. ปะการัง : สะสมใน DNA และ เนื้อเยื่อ เร่งอัตราการฟอกขาวและตายในที่สุด
3. หอยแมลงภู่ : สะสมในเนื้อเยื่อ รบกวนการเติบโตในตัวอ่อน
4. หอยเม่น : ทำลายภูมิคุ้มกัน และระบบสืบพันธุ์ ส่งผลให้ตัวอ่อนกลายพันธุ์ ผิดรูปร่าง
5. ปลาทะเล : ส่งผลให้ตัวเมีย ผลิตไข่ได้น้อยลง และส่งผลให้เกิดภาวะเปลี่ยนเพศในตัวผู้ ทำให้ไม่สามารถผสมพันธุ์ได้
6. โลมา : มีการสะสมสารเคมีในเนื้อเยื่อ และส่งต่อทางพันธุกรรมไปยังรุ่นลูก ซึ่งอาจส่งผลต่อการกลายพันธุ์ในอนาคต
แต่ไม่ต้องตกใจว่า ต่อไปนี้ไปเที่ยวทะเลไทย แล้วห้ามทาครีมกันแดด ให้ต้องเสี่ยงมะเร็งผิวหนังหรือเปล่า? เพราะทุกวันนี้ ในท้องตลาดมีผลิตภัณฑ์กันแดดหลายยี่ห้อ ที่พัฒนาสูตรมาให้เป็นมิตรกับปะการังและสัตว์ทะเล เพียงแค่มองหาผลิตภัณฑ์ที่มีสัญลักษณ์ #ReefSafe #OceanFriendly แค่นี้เอง หาซื้อง่าย มีหลายยี่ห้อให้เลือก แต่ขออนุญาตไม่ชี้เป้านะค่ะ เดียวจะหาว่ามาขายของอีก
สำหรับในต่างประเทศก็เริ่มมีการรณรงค์ให้เลิกใช้ครีมกันพวกที่มีสารอันตรายทั้ง 4 ชนิดนี้กันมากขึ้นแล้ว ขอยกตัวอย่างเช่น
รัฐฮาวาย สหรัฐอเมริกา : Hawaii
ถือเป็นรัฐแรกในอเมริกา ที่ผ่านกฏหมายแบนผลิตภัณฑ์กันแดดที่มีสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อปะการัง โดยกฏที่ว่า ไม่ได้แค่ห้ามใช้หรือนำเข้าไปในแหล่งท่องเที่ยวนะ แต่ห้ามวางจำหน่ายในร้านค้าเลย มีผลบังคับใช้เมื่อ 1 มกราคม 2564 นี้
เกาะอารูบ้า : Aruba
เป็นเกาะขนาดเล็ก ความยาว 32 กิโลเมตร ในทะเลแคริบเบี้ยน โซนทวีปอเมริกาใต้ และเป็น 1 ใน 4 ประเทศองค์ประกอบที่อยู่ภายใต้ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ที่นี่ออกกฏหมายห้ามผลิต นำเข้า จำหน่าย ใช้ ผลิตภัณฑ์กันแดดที่มีสารเคมีอันตรายไปเมื่อ เดือน กรกฏาคม 2563
เกาะโบแนร์เรอ : Bonaire
อีกหนึ่งเกาะในทะเลแคริบเบี้ยน ที่มีสถานะเป็นเขตเทศบาลพิเศษ ภายใต้ราชอาณาจักร์เนเธอร์แลนด์ เป็นอีกหนึ่งจุดดำน้ำชมปะการังที่มีชื่อเสียงระดับโลก ในเรื่องของสีสันที่สวยงามและความหลากหลายทางชีวภาพ ก็ประกาศแบนผลิตภัณฑ์กันแดดที่มีสารอันรรายต่อปะการัง ไปเมื่อ เดือนมกราคม 2564
สาธารณรัฐปาเลา : Palau
ประเทศหมู่เกาะ ในมหาสมุทรแปซิฟิค อยู่ห่างจากประเทศฟิลิปปินส์ไปทางทิศตะวันออก ประมาณ 500 กิโลเมตร ที่นี่ผ่านกฏหมาย แบนผลิตภัณฑ์กันแดดที่มีสารเคมีอันตราย 10 ชนิด ห้ามใช้ ห้ามผลิต ห้ามนำเข้า ห้ามวางจำหน่าย ไปเมื่อเดือนมกราคม 2564 ที่ผ่านมา ทำให้ปาเลา มีสถานะเป็นประเทศแรกในโลก ที่แบนสารเคมีอันตรายในครีมกันแดดแบบ 100%
เกาะเซบู ฟิลิปปินส์ : Cebu
อีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของนักท่องเที่ยวไทย ที่เดินทางไปดำน้ำชมฝูงฉลามวาฬกันปีละหลายแสนคน ที่เกาะเซบูแห่งนี้ แม้จะยังไม่ผ่านเป็นกฏหมาย แต่ถือเป็นกฏเหล็ก ที่ทั้งเจ้าหน้าที่รัฐ บริษัททัวร์ โรงแรม รวมถึงตัวนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปเยือน ต่างยึดถือปฏิบัติและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ว่าห้ามทาครีมกันแดดลงไปดำน้ำชมฉลามวาฬเด็ดขาด เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับฝูงฉลามวาฬ
แต่สำหรับของประเทศไทย กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้ประกาศห้ามใช้ครีมกันแดดที่มีสารส่วนผสม 4 ชนิดที่กล่าวมาทั้งหมดนี้แล้ว แต่อาจจะยังไม่ทั่วถึงทุกพื้นที่ ยังไง ขอเป็นกระบอกเสียงหนึ่งสำหรับผู้ที่รัก และชื่อชอบการท่องเที่ยวทะเล ดำน้ำดูปะการัง ช่วยๆ กันนะค่ะ ให้ท้องทะเลไทยอยู่คู่กับลูกหลายเราไปอีกนานๆ รวมถึงเราด้วย อย่างน้อยไม่มีเขา ก็มีทะเลเป็นเพื่อนได้ในยามที่ทำงานเหนื่อยๆ นะค่ะ (ปล. เกี่ยวกันไหมเนี้ย ) ยังไงก็เอาความรู้มาฝากกันไม่มากก็น้อยค่ะ ขอบคุณข้อมูลดีๆ จากเพจ TOP Varawut - ท็อป วราวุธ ศิลปอาชา