ยาปรับฮอร์โมน มีผลข้างเคียงอะไรบ้าง เรื่องนี้สาว ๆ ต้องอ่าน ยาคุมกำเนิดในปัจจุบันได้รับการปรับปรุงใหม่ให้มีประสิทธิภาพด้านการป้องกันการตั้งครรภ์ได้ดี พร้อมทั้งใช้เป็น ยาปรับฮอร์โมน ที่มีคุณสมบัติต่าง ๆ บางชนิดใช้ยับยั้งฮอร์โมนเพศชายแอนโดรเจนเพื่อลดการผลิตไขมันบนผิวหนังและหนังศีรษะ ช่วยลดปัญหาสิวได้ผล นอกจากนี้การปรับฮอร์โมนในร่างกายให้เกิดความสมดุลยังทำให้ประจำเดือนมาเป็นปกติอีกด้วย
ยาคุมปรับฮอร์โมนที่นิยมใช้กันแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลักคือ ee20d, ee30d, และ ee35c แต่ละแบบมีคุณสมบัติแตกต่างกัน เป็นยาคุมที่ช่วยในเรื่องไหน เช่น
ยาคุมรักษาสิว ยาคุมลดสิว ยาคุมหน้าใส เราได้สรุปให้เข้าใจง่าย ๆ รวมถึงผลข้างเคียงที่สาว ๆ ควรรู้ ดังนี้
1.ee20d เป็น
ยาคุมฮอร์โมนต่ำ ชนิดฮอร์โมนรวมที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำเพียง 20 ไมโครกรัม มีผลข้างเคียงน้อย เหมาะกับคนที่ไม่เคยกินยาคุมปรับฮอร์โมนมาก่อนขอแนะนำให้ใช้ยาตัวนี้เป็นแผงแรก มีตัวยาดรอสไพรีโนนที่ลดความมันบนผิวหนัง ลดปัญหาหนังศีรษะมันเยิ้ม ช่วยรักษาสิวที่เป็นไม่มากนัก ลดอาการปวดประจำเดือน ลดอาการบวมน้ำที่เกิดจากการคั่งน้ำในร่างกายช่วงที่มีประจำเดือน เป็น ยาคุมกินแล้วไม่อ้วน สำหรับคนที่กินยาชนิดนี้เป็นแผงแรกอาจพบอาการข้างเคียงเล็กน้อย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน แต่ใช้เวลาไม่นานร่างกายจะปรับให้ชินและเริ่มใช้ยาแผงใหม่ที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงขึ้นได้
2.ee30d เป็นยาคุมปรับฮอร์โมนที่มีปริมาณฮอร์โมนเอสโตรเจนมากกว่า ee20d มีสรรพคุณเหมือนกัน รักษาสิวที่มีอาการปานกลาง ลดอาการบวมน้ำ ลดอาการปวดประจำเดือน กินยาคุมปรับฮอร์โมนแล้วไม่ต้องกลัวตัวบวม ผลข้างเคียงของยาชนิดนี้มากกว่าชนิดแรก ถ้าลองกินแล้วเกิดอาการคลื่นไส้รุนแรง เวียนหัว ปวดศีรษะให้เลิกใช้ แล้วกลับไปเริ่มกิน ee20d รอให้ร่างกายปรับให้คุ้นเคยกับฮอร์โมนเอสโตรเจนได้ก่อน
3.ee35c เป็น ยาปรับฮอร์โมน ที่เน้นสรรพคุณด้านการรักษาสิวอักเสบที่เป็นมาก เนื่องจากมีส่วนประกอบของตัวยาไซโปรเตอโรน อะซิเตท ที่ช่วยยับยั้งฮอร์โมนเพศชายและปรับสมดุลให้กับร่างกาย นอกจากบรรเทาปัญหาสิวได้ผลดีแล้ว ยังลดอาการขนดกที่เกิดกับหญิงวัยเจริญพันธุ์ซึ่งมีฮอร์โมนเพศชายมากกว่าปกติ เมื่อใช้แล้วสิวจะลดลงเรื่อย ๆ ข้อควรระวังคือผลข้างเคียงจากยาคุมกำเนิดที่รุนแรงกว่า 2 ชนิดแรก ทั้งคลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนปวดศีรษะ และคัดตึงเต้านมมาก เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนปริมาณค่อนข้างสูงไม่เหมาะกับร่างกาย ลองเปลี่ยนเป็นยาคุมชนิด 20 ไมโครกรัมแทน
ร่างกายแต่ละคนมีปฏิกิริยาต่อชนิดของยาคุมกำเนิดแตกต่างกัน ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเลือกใช้ยาคุมที่เหมาะกับตัวเราที่สุด ถ้าลองชนิดใดแล้วไม่พอใจ เปลี่ยนไปใช้ชนิดอื่นที่มีอาการคลื่นไส้จากผลข้างเคียงน้อยกว่า โดยเฉพาะคนสูบบุหรี่ สตรีอายุมากกว่า 35 ปี ขึ้นไป และคุณ
แม่ให้นมบุตร อาจพบผลข้างเคียงได้มากกว่า การขอคำแนะนำจากแพทย์เป็นวิธีที่ดีที่สุด ผลข้างเคียงไม่พึงประสงค์อาจป้องกันหรือหลีกเลี่ยงได้โดยการเลือก
วิธีกินยาคุม เวลาเย็นหรือก่อนนอน และควรรับประทานยาอย่างต่อเนื่องในเวลาเดียวกันทุกวัน