หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: ผลวิจัยใหม่ชี้ ยาแอนติบอดี JMB2002 มีฤทธิ์ต้านโควิดโอมิครอน  (อ่าน 39 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 4 ม.ค. 22, 14:09 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 






ผลการวิจัยร่วมจากสถาบันชีววัตถุของบริษัท Jemincare กับสถาบันมาเทอเรีย เมดิกาแห่งเซี่ยงไฮ้ (SIMM) ภายใต้สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน (CAS) ยืนยันว่ายา JMB2002 ซึ่งเป็นแอนติบอดีลบล้าง (NAb) ไวรัส SARS-CoV-2 ที่ค้นพบโดยสถาบันชีววัตถุของบริษัท Jemincare นั้น ยังคงมีประสิทธิผลกับไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์โอมิครอน

ทีมนักวิทยาศาสตร์นำโดยดร.ซู-จุน เติ้ง จากศูนย์การวิจัยและพัฒนาแห่งสถาบันชีววัตถุของบริษัท Jemincare ร่วมกับทีมนักวิทยาศาสตร์จาก SIMM สังกัด CAS นำโดยศาสตราจารย์เอช เอริค ซู และดร.ว่านเฉา หยิน ยืนยันว่า JMB2002 มีการยึดจับกับสายพันธุ์โอมิครอนและมีฤทธิ์ลบล้างอนุภาคเทียม (Pseudovirus) อีกทั้งยังแก้ไขโครงสร้างโปรตีนหนาม (Spike Protein) ของโอมิครอนที่จับกับ ACE2 และ JMB2002 ตามลำดับอีกด้วย (รูป 1 และรูป 2) การวิจัยร่วมดังกล่าวเผยให้เห็นกลไกความสามารถในการติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นและการหลบภูมิคุ้มกันของสายพันธุ์โอมิครอนที่ระดับโมเลกุล และแสดงให้เห็นกลไกการยึดจับที่เป็นลักษณะเฉพาะตัวของ JMB2002 ที่แตกต่างจาก NAb อื่น ๆ ที่มีการรายงานทั้งหมด ผลการวิจัยโดยละเอียดเกี่ยวกับคุณลักษณะใหม่ ๆ ของสายพันธุ์โอมิครอนและ JMB2002 ได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์ของ bioRxiv โดยเป็นฉบับร่าง (อ้างอิง 1)





ผลการวิจัยล่าสุดบ่งชี้ว่า JMB2002 มีฤทธิ์การยึดจับกับสายพันธุ์โอมิครอนสูงและมีฤทธิ์ลบล้างอนุภาคเทียมโอมิครอน (รูป 2A, 2B) ซึ่งเป็นเรื่องน่ายินดี เนื่องจากยาแอนติบอดีลบล้างไวรัส SARS-CoV-2 ระยะคลินิกที่ได้รับอนุมัติส่วนใหญ่นั้น ได้สูญเสียฤทธิ์การลบล้างหรือมีฤทธิ์ในการลบล้างลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากในสายพันธุ์โอมิครอนมีการกลายพันธุ์ของโปรตีนหนามหลายตำแหน่ง

เหตุผลประการหนึ่งที่สายพันธุ์โอมิครอนมีความสามารถในการติดเชื้อเพิ่มขึ้น ก็คือ RBD หรือตำแหน่งตัวรับ-ยึดเกาะ (Receptor Binding Domain) ในโปรตีนหนามนั้น มีความสามารถในการจับกับตัวรับไวรัส SARS-CoV-2 ชนิด ACE2 สูงกว่าสายพันธุ์ปกติ (Wild type หรือ WT) จึงมีความจำเป็นต้องพัฒนาแอนติบอดีเพื่อการรักษาจำเพาะโดยมุ่งเป้าที่สายพันธุ์โอมิครอน นักวิทยาศาสตร์จาก Jemincare พบว่าความสามารถในการยึดจับของ JMB2002 Fab กับโปรตีนหนามของสายพันธุ์โอมิครอนนั้นสูงกว่า WT ถึง 4 เท่า (รูป 2A) ยิ่งไปกว่านั้น ทีมของศาสตราจารย์เอช เอริค ซู ได้แก้ไขโครงสร้างของกลุ่มไตรเมอร์ (trimer) ส่วนหนามของโอมิครอนที่จับกับ JMB2002 (รูป 2C) โดยโครงสร้างดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า JMB2002 จับกับด้านหลังของ RBD ซึ่งเป็นเอปิโทปการยึดจับที่มีลักษณะเฉพาะที่มีโครงสร้างรูปแบบใหม่ (รูป 2D) เป็นการบ่งชี้ว่า JMB2002 เป็นคลาสใหม่ของแอนติบอดีลบล้างไวรัส SARS-CoV-2 ที่มีกลไกการยึดจับที่แตกต่างจาก NAb อื่น ๆ ที่มีการรายงานทั้งหมด โดยจำแนกได้เป็นคลาส V Nab ทั้งนี้ ผลลัพธ์จากการสอบศักยภาพการลบล้างอนุภาคเทียมบ่งชี้ว่า JMB2002 เป็นแอนติบอดีลบล้างออกฤทธิ์กว้างซึ่งมุ่งเป้าไปที่สายพันธุ์ที่น่ากังวล (VOC) ขององค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ทั้งหมด ยกเว้นสายพันธุ์เดลตา (อ้างอิง 1)

JMB2002 เสร็จสิ้นการทดลองทางคลินิกเฟส 1 ในจีนแล้ว

JMB2002 ได้เสร็จสิ้นการทดลองทางคลินิกในเฟส 1 เมื่อเดือนมิถุนายน 2564 ในกลุ่มผู้บริจาคที่มีสุขภาพดีในประเทศจีน โดยมีความปลอดภัยเป็นเลิศและมีคุณสมบัติทางเภสัชจลนศาสตร์เป็นที่น่าพอใจ JMB2002 ได้รับการอนุมัติสำหรับการทดลองทางคลินิกในสหรัฐ (IND 154745) เมื่อเดือนมีนาคม 2564 ปัจจุบัน Jemincare ผลิตสารยา JMB2002 เพียงพอสำหรับการสืบค้นทางคลินิกเพิ่มเติมที่ระดับเครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพ 2,000 ลิตร

เกี่ยวกับJemincare Group Co., Ltd.

Jemincare เป็นหนึ่งในบริษัทยาชื่อดังในประเทศจีนที่มุ่งจัดหายาคุณภาพสูงให้กับผู้ป่วย โดยติดอันดับท็อป 10 ใน 100 บริษัทยาชั้นนำในจีนเป็นเวลาหลายปี Jemincare ได้ก่อตั้งศูนย์การวิจัยและพัฒนาขึ้นในเมืองวิทยาศาสตร์จางเจียงในเซี่ยงไฮ้ตั้งแต่ปี 2561 และได้คัดเลือกนักวิทยาศาสตร์เข้าทำงานกว่า 500 คน โดยศูนย์ดังกล่าวได้สร้างแพลตฟอร์มนวัตกรรมเทคโนโลยีด้านชีววัตถุ โมเลกุลขนาดเล็ก และระบบการนำส่งยาแบบใหม่ ฯลฯ พร้อมทั้งอุทิศตนเพื่อพัฒนานวัตกรรมการรักษาสำหรับโรคไต เนื้องอก โรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง โรคระบบทางเดินหายใจ การติดเชื้อ กุมารเวชศาสตร์ และอาการเจ็บปวด

ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: www.jemincare.com
หรือติดต่อ: PR@jemincare.com

อ้างอิง

1. Structures of the Omicron spike trimer with ACE2 and an anti-Omicron antibody: mechanisms for the high infectivity, immune evasion and antibody drug discovery, https://doi.org/10.1101/2021.12.27.474273.

รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/1718815/1.jpg

รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/1718816/2.jpg
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า

กระทู้ฮอตในรอบ 7 วัน

Tags:
Tags:  

หน้า: 1

 
ตอบ

ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:  
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม