หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: เจดีอาร์เอฟประกาศเผยแพร่ดัชนีโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ระดับโลก  (อ่าน 12 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 27 ก.ย. 22, 11:36 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 

ดัชนีดังกล่าวนี้ซึ่งมีขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก จะยกระดับความตระหนักรู้เกี่ยวกับภาระและความต้องการที่ยังไม่ได้รับการตอบสนองของผู้ที่ต้องใช้ชีวิตกับโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ทั่วโลก

เจดีอาร์เอฟ (JDRF) องค์กรชั้นนำระดับโลกผู้วิจัยและสนับสนุนประเด็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 (T1D) ได้ประกาศการเผยแพร่ดัชนีโรคเบาหวานชนิดที่ 1 (Type 1 Diabetes Index หรือ T1D Index) เครื่องมือการจำลองข้อมูลซึ่งมีขึ้นเป็นครั้งแรกสำหรับการวัดผลกระทบด้านมนุษย์และด้านสาธารณสุขจากวิกฤตโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ในทุกประเทศทั่วโลก จนถึงปัจจุบันยังมีช่องว่างอย่างมากในแง่ของข้อมูลเกี่ยวกับอุบัติการณ์และผลกระทบของโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ในแง่นี้การใช้ประโยชน์จากข้อมูลและข้อมูลเชิงลึกจากดัชนีโรคเบาหวานชนิดที่ 1 นี้ช่วยเปลี่ยนแปลงชีวิตของผู้ที่ต้องใช้ชีวิตกับโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ได้ ด้วยการระบุการแทรกแซงที่ปฏิบัติได้จริงรายประเทศ ประกอบด้วย การวินิจฉัยอย่างทันท่วงที การดูแลรักษาที่เข้าถึงได้ และการให้ทุนวิจัยที่นำไปสู่วิธีการรักษาให้หายขาดได้ เป็นต้น

ดัชนีโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และงานวิจัยที่ดำเนินการควบคู่กัน ได้ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ชั้นนำด้านโรคเบาหวานและวิทยาต่อมไร้ท่ออย่างเดอะ แลนซิต โรคเบาหวาน และวิทยาต่อมไร้ท่อ (The Lancet Diabetes & Endocrinology)

โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เป็นภาวะภูมิคุ้มกันทำลายตนเองและภาวะเรื้อรั้งทางสุขภาพที่เติบโตเร็วเป็นอันดับต้น ๆ โดยส่งผลกระทบต่อผู้คนเกือบ 9 ล้านคนทั่วโลก ปัจจัยบางประการอย่างเช่นประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัวนั้นเพิ่มความเสี่ยงได้ แต่ไม่ได้เกิดจากการบริโภคอาหารหรือวิถีชีวิต โรคเบาหวานชนิดที่ 1 ส่งผลให้ตับอ่อนผลิตอินซูลินน้อยมากหรือไม่ผลิตเลย ทำให้ร่างกายมนุษย์แปรสภาพอาหารให้เป็นพลังงานไม่ได้ นำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนในระยะยาว รวมถึงความเสียหายต่อไต ดวงตา เส้นประสาท หัวใจ ตลอดจนถึงขั้นการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ให้หายขาด

"ในฐานะสมาชิกของชุมชนโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ผมทราบว่ามีคนจำนวนมากที่ไม่ได้โชคดีอย่างผม ที่มีทรัพยากรที่จำเป็นในการใช้ชีวิตอย่างแข็งแรงและสมบูรณ์" ดร.แอรอน โควาลสกี (Aaron Kowalski) ซีอีโอของเจดีอาร์เอฟ กล่าว "ผมจึงภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ขณะนี้มีความก้าวหน้าอย่างมากในการทำความเข้าใจผลกระทบระดับโลกของโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ด้วยดัชนีโรคเบาหวานชนิดที่ 1 นี้ เราขอเรียกร้องให้รัฐบาลและผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านสาธารณสุขทั่วโลกใช้ประโยชน์จากเครื่องมือนี้ ในการระบุวิธีและดำเนินการแทรกแซงที่เปลี่ยนแนวโน้มในปัจจุบันของโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ได้"

เจดีอาร์เอฟทำงานร่วมกับพันธมิตรและผู้เชี่ยวชาญรายสำคัญในทั่วโลกในการพัฒนาดัชนีโรคเบาหวานชนิดที่ 1 โดยใช้ผลจากการสำรวจระดับโลกที่ครอบคลุมแพทย์ด้านวิทยาต่อมไร้ท่อกว่า 500 คน และงานตีพิมพ์กว่า 400 ชิ้น เพื่อจำลองสถานะของโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ในระดับโลกและระดับประเทศ

ดัชนีนี้สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับภาระด้านมนุษย์ที่เกิดจากโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ได้อย่างเฉพาะตัว ด้วยการเน้นย้ำความสำคัญของ "ผู้ที่จากหายไป" (missing people) ซึ่งคือจำนวนผู้ที่ในวันนี้จะยังมีชีวิตอยู่หากไม่ได้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรจากภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และ "ปีของสุขภาพดีที่สูญเสียไป" (healthy years lost) ซึ่งหมายถึงเวลาที่สูญเสียไปให้กับสุขภาพที่ย่ำแย่ ความพิการ หรือการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรจากการต้องใช้ชีวิตกับโรคเบาหวานชนิดที่ 1

การจำลองจากดัชนีโรคเบาหวานชนิดที่ 1 บ่งชี้ว่าในระดับโลก ณ ปี 2565 มี "ผู้ที่จากหายไป" กว่า 3.86 ล้านคน และมี "ปีของสุขภาพดีที่สูญเสียไป" ให้กับโรคเบาหวานชนิดที่ 1 เฉลี่ย 32 ปีต่อคนหนึ่งคน หากได้รับการตรวจวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้ตั้งแต่อายุ 10 ปี

โรคเบาหวานชนิดที่ 1 ก่อภาระด้านมนุษย์ ภาระทางอารมณ์ และภาระทางการเงินอย่างหนักหน่วงสำหรับผู้ที่ต้องใช้ชีวิตอยู่กับโรค ยิ่งไปกว่านั้นความชุกของโรคยังกำลังเพิ่มสูงขึ้น การจำลองข้อมูลจากดัชนีโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ได้นำไปสู่การระบุวิธีแทรกแซงสำคัญ 4 ประการที่เปลี่ยนแนวโน้มในปัจจุบันของโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และผลกระทบของโรคดังกล่าวนี้ต่อผู้คนทั่วโลกได้ ดังต่อไปนี้

การวินิจฉัยอย่างทันท่วงที: ให้ความรู้และการฝึกอบรมที่ดียิ่งขึ้นสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์ในการวินิจฉัยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 อย่างถูกต้อง และหากประชากรโลกเข้าถึงการวินิจฉัยอย่างทันท่วงทีได้ตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นไป จะมีคนจำนวนเพิ่มขึ้น 668,000 คนที่มีชีวิตอยู่ได้ในปี 2583
อินซูลินและแถบตรวจน้ำตาล: สร้างการเข้าถึงอย่างไร้อุปสรรคสำหรับอินซูลินและแถบตรวจน้ำตาลกลูโคสในเลือด หากประชากรทั่วโลกเข้าถึงอินซูลินและแผ่นตรวจน้ำตาลได้ตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นไป ประกอบกับได้รับการฝึกสอนให้บริหารจัดการกับภาวะการเป็นโรคด้วยตนเองได้ จะมีคนจำนวนเพิ่มขึ้น 1.98 ล้านคนที่มีชีวิตอยู่ได้ในปี 2583
อินซูลินปั๊มและเครื่องตรวจน้ำตาลต่อเนื่อง ( CGM): ทำให้ผู้ที่ต้องใช้ชีวิตกับโรคเบาหวานชนิดที่ 1 เข้าถึงเทคโนโลยีที่ทำให้การเฝ้าระวังระดับน้ำตาลกลูโคสและการให้อินซูลินเป็นไปอย่างอัตโนมัติ จะมีคนจำนวนเพิ่มขึ้น 673,000 คนที่มีชีวิตอยู่ได้ในปี 2583 ถ้าทุกคนที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 เข้าถึงเทคโนโลยีดังกล่าวนี้ได้ตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นไป
การป้องกันและรักษาให้หายขาด: ผลักดันการลงทุนและการวิจัยเพิ่มเติมในการพัฒนาการป้องกัน การรักษาตามอาการ และการรักษาให้หายขาด จะมีคนจำนวนเพิ่มขึ้น 890,000 คนที่มีชีวิตอยู่ได้ในปี 2583 ถ้าเราค้นพบวิธีการรักษาให้หายขาด
เมื่อพบวิธีแทรกแซงในระดับโลกและระดับประเทศแล้ว ดัชนีโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ผลักดันให้ผู้ใช้ดำเนินการ ด้วยการเผยแพร่ข้อมูลและข้อค้นพบกับเครือข่ายของพวกเขาและผู้มีอำนาจตัดสินใจในท้องถิ่น ประกอบกับการเชื่อมต่อกับผู้สนับสนุนประเด็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ในชุมชนของพวกเขา


อ่านข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับเต็มได้ที่ https://www.thaipr.net/health/3242627

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า

กระทู้ฮอตในรอบ 7 วัน

Tags:
Tags:  

หน้า: 1

 
ตอบ

ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:  
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม