หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: IEP เผยประชากรกว่า 750 ล้านคนทั่วโลกได้รับผลกระทบจากการขาดสารอาหาร  (อ่าน 7 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 20 ต.ค. 22, 08:37 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 

สถาบันเศรษฐศาสตร์และสันติภาพ (IEP) เปิดเผยรายงานภัยคุกคามทางระบบนิเวศ (Ecological Threat Report หรือ ETR) ประจำปี ครอบคลุมงานวิจัยฉบับพิเศษจากโพลความเสี่ยงโลก (World Risk Poll) ซึ่งจัดทำโดยมูลนิธิลอยด์ส รีจิสเตอร์ (Lloyd's Register Foundation)

การค้นพบที่สำคัญ

ภัยคุกคามทางระบบนิเวศ เช่น การเติบโตของประชากรอย่างรวดเร็ว ความเสี่ยงด้านแหล่งน้ำ และความไม่มั่นคงด้านอาหารจะรุนแรงขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ก่อให้เกิดการอพยพครั้งใหญ่และความขัดแย้ง
56% ของ 228 ประเทศและเขตแดนภายใต้การประเมินในรายงานภัยคุกคามทางระบบนิเวศ กำลังเผชิญกับภัยคุกคามเชิงนิเวศวิทยาที่รุนแรง
40 ประเทศที่สงบสุขน้อยที่สุดในโลกจะมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้น 1.3 พันล้านคนภายในปี 2593 คิดเป็น 49% ของประชากรโลก
จากประมาณการถึงปี 2593 แสดงให้เห็นว่า พื้นที่ในแถบแอฟริกาใต้สะฮาราส่วนใหญ่จะไม่ยั่งยืน และการเติบโตของประชากรจะอยู่ที่ 95% ขณะที่ผู้คนจำนวนกว่า 738 ล้านคนในปัจจุบันประสบปัญหาขาดแคลนอาหาร และทุกประเทศยกเว้นเพียงประเทศเดียวต้องเผชิญกับความวิกฤติขาดแคลนน้ำอย่างรุนแรง
ในปี 2564 เกือบ 92% ของผู้ประสบปัญหาขาดสารอาหารทั่วโลกอาศัยอยู่ในประเทศที่มีสันติภาพต่ำถึงต่ำมาก
ตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นมา ความกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกลดลง 1.5% พลเมืองของสามในสี่ของประเทศที่สร้างมลพิษมากที่สุดในโลก ได้แก่ จีน อินเดีย และรัสเซีย มีความกังวลในระดับต่ำ
มลพิษทางอากาศทำให้โลกเสียหายถึง 8.1 ล้านล้านดอลลาร์ต่อปี หรือ 6.1% ของจีดีพีโลก คร่าชีวิตผู้คนราว 6-9 ล้านคน
ในแต่ละปี รายงานฉบับนี้จะวิเคราะห์ภัยคุกคามทางระบบนิเวศเพื่อประเมินว่าประเทศใดมีความเสี่ยงมากที่สุดจากวิกฤติความขัดแย้ง ความไม่สงบ และการพลัดถิ่นที่เกิดจากความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศ และเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศ รายงานตอกย้ำให้เห็นว่า ระดับความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศในปัจจุบันจะทวีความรุนแรงมากขึ้นหากไม่รวมพลังกัน ทำให้ความขัดแย้งที่มีอยู่บานปลาย และกลายเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาให้เกิดความขัดแย้งครั้งใหม่ และเป็นแรงบังคับให้เกิดการย้ายถิ่นมากขึ้น

รายงานวิเคราะห์ความเสี่ยงทางระบบนิเวศ ความยืดหยุ่นทางสังคม และความสงบสุขสำหรับประเทศและเขตแดนรวม 228 แห่ง เขตการปกครอง 3,638 แห่งและเมือง 250 แห่ง โดยประเมินความสามารถในการจัดการกับความท้าทายต่าง ๆ ในปัจจุบันจนถึงปี 2593 นอกจากนี้ยังเน้นให้เห็นถึง "ประเทศโซนสีแดง" จำนวน 27 แห่ง(1) ซึ่งมีประชากรอาศัยอยู่ราว 768 ล้านคน และกำลังเผชิญกับภัยคุกคามทางระบบนิเวศที่เลวร้ายที่สุด และมีความยืดหยุ่นทางสังคมต่ำที่สุด โดยกว่า 23 ประเทศจากทั้งหมด 27 ประเทศ ตั้งอยู่ในพื้นที่แอฟริกาใต้สะฮาราและภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ

ปัญหาการขาดแคลนอาหาร

ปัจจุบัน 41 ประเทศกำลังเผชิญกับความไม่มั่นคงด้านอาหารอย่างรุนแรง ซึ่งส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สาธารณสุข และความปรองดองในสังคม โดยมีประชากรทั้งสิ้น 830 ล้านคนที่ต้องตกอยู่ในความเสี่ยงนี้ ซึ่งกว่า 89% อาศัยอยู่ในแอฟริกาใต้สะฮารา และอีก 49 ล้านคนในภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ ความไม่มั่นคงด้านอาหารอย่างรุนแรงบ่งบอกถึงสถานะที่บุคคลปราศจากซึ่งเสบียงอาหารสำหรับการบริโภค ส่งผลให้สุขภาพ โภชนาการ และสวัสดิภาพของพวกเขาอยู่ในภาวะเสี่ยงรุนแรง

จำนวนผู้ขาดสารอาหารเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมา โดยเพิ่มขึ้นกว่า 35% ในปี 2564 อยู่ที่ราว 750 ล้านคน การขาดสารอาหาร ซึ่งเกิดจากการบริโภคอาหารตามปกติแต่ไม่เพียงพอที่จะทำให้สุขภาพดีในทางการแพทย์ มีแนวโน้มทวีความรุนแรงขึ้น เนื่องจากความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศที่เพิ่มขึ้น อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น และสงครามรัสเซีย-ยูเครน โดยในปี 2564 เกือบ 92% ของผู้คนที่ขาดสารอาหารทั่วโลกอาศัยอยู่ในประเทศที่มีระดับสันติภาพต่ำถึงต่ำมาก

ปัญหาความขัดแย้งและการขาดแคลนน้ำ

ความไม่มั่นคงด้านอาหารเกี่ยวข้องกับการขาดแคลนน้ำโดยตรง การขาดแคลนน้ำหมายถึงสถานการณ์ที่ "ประชากรมากกว่า 20% ไม่สามารถเข้าถึงน้ำดื่มสะอาดได้" นั่นหมายความว่า หากไม่สามารถกักเก็บน้ำได้อย่างเพียงพอ ประชากรเหล่านี้ก็ไม่สามารถจัดหาอาหารให้เพียงพอได้ ผู้คนมากกว่า 1.4 พันล้านคนใน 83 ประเทศต่างเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนน้ำอย่างรุนแรง โดยคาดว่าหลายประเทศในยุโรปจะประสบกับปัญหาการขาดแคลนน้ำในปี 2583 ไม่ว่าจะเป็นกรีซ อิตาลี เนเธอร์แลนด์ และโปรตุเกส

ประเทศที่คาดว่าจะประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำมากขึ้นระหว่างปัจจุบันถึงปี 2593 ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในพื้นที่แอฟริกาใต้สะฮาราและภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ ปัจจุบัน ทุกประเทศยกเว้นเพียงประเทศเดียวในแถบแอฟริกาใต้สะฮาราต่างเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนน้ำอย่างรุนแรง

เมืองขนาดใหญ่: มลภาวะและจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น

โลกในปัจจุบันประกอบด้วยเมืองใหญ่ 33 แห่ง (2) ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มเป็น 47 แห่งภายในปี 2593 เมืองขนาดใหญ่ที่มีแนวโน้มจะเผชิญกับความท้าทายที่รุนแรงที่สุดได้แก่กินชาซา ไนโรบี และลากอส เมืองขนาดใหญ่กว่า 60% อยู่ในประเทศที่มีสันติภาพต่ำ เมืองเหล่านี้มีอัตราการเติบโตของประชากรสูงสุด สุขาภิบาลที่แย่ที่สุด ระดับของอาชญากรรมย่อยและกลุ่มอาชญากรที่สูงกว่า และมลพิษทางอากาศที่แพร่ขยายได้ไกล อย่างไรก็ตาม กลับขาดซึ่งความสามารถทางการเงินและการกำกับดูแลในการรับมือกับความท้าทายเหล่านี้อย่างเพียงพอ เมืองที่ต้องเผชิญกับความท้าทายที่สุดมีการเติบโตของประชากรสูงสุด ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่ไม่มั่นคงและไม่ยั่งยืน

มลพิษทางอากาศได้สร้างความเสียหายให้โลกคิดเป็นมูลค่ากว่า 8.1 ล้านล้านดอลลาร์ต่อปี หรือ 6.1% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของโลก และคร่าชีวิตผู้คนราว 6-9 ล้านคน ปัจจุบันมีเมือง 9 แห่งที่มีระดับมลพิษทางอากาศมากกว่า 20 เท่าของระดับสูงสุดที่กำหนดโดยองค์การอนามัยโลก ซึ่งรวมถึงลาฮอร์ คาบูล และอัครา

ทั้งนี้ คาดว่า 40 ประเทศที่มีระดับสันติภาพต่ำที่สุดจะมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้น 1.3 พันล้านคน คิดเป็น 49% ของประชากรโลก ประเทศที่เผชิญกับภัยคุกคามทางระบบนิเวศที่เลวร้ายที่สุดจะมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นมากที่สุด โดยคาดว่าประชากรในพื้นที่แอฟริกาใต้สะฮาราจะเพิ่มขึ้นถึง 95%

อ่านข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับเต็มได้ที่ https://www.thaipr.net/finance/3254313

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า

กระทู้ฮอตในรอบ 7 วัน

Tags:  ธุรกิจ 

หน้า: 1

 
ตอบ

ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:  
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม