หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: ตุ๊กตาบาร์บี้ห่อหุ้มด้วยบรรจุภัณฑ์ที่มาจากการทำลายป่าฝนเขตร้อน  (อ่าน 109 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 9 มิ.ย. 11, 18:09 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 
กรีนพีซรณรงค์ออนไลน์เพื่อปกป้องป่าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

จาการ์ตา, มะนิลา, กรุงเทพฯ, 8 มิถุนายน 2554- กรีนพีซเปิดเผยรายงานล่าสุด ระบุ ตุ๊กตาบาร์บี้ ของเล่นยอดฮิตทั่วโลก มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำลายป่า กล่องบรรจุภัณฑ์ตุ๊กตาบาร์บี้ผลิตจากไม้ที่ถูกตัดทำลายในป่าฝนเขตร้อนของอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ อย่างเช่น เสือสุมาตรา

นักกิจกรรมกรีนพีซในชุดทักซิโด้เลียนแบบ “เคน” ตัวละครแฟนหนุ่มของบาร์บี้ ได้แขวนป้ายผ้าขนาดใหญ่ที่มีข้อความว่า “บาร์บี้ เราเลิกกันเถอะ ผมไม่อยากเดทกับสาวที่ทำลายป่า” ณ หน้าสำนักงานใหญ่ของบริษัทแมทเทล (Mattel) นครลอสแอนเจลิส

กิจกรรมดังกล่าวถือเป็นการเปิดตัวงานรณรงค์ของกรีนพีซทั่วโลกที่เรียกร้องให้บริษัทผลิตของเล่นหยุดทำลายป่าในอินโดนีเซีย

นักวิจัยของกรีนพีซใช้วิธีการสืบค้นหลักฐานเพื่อเปิดเผยว่ากล่องบรรจุภัณฑ์ของตุ๊กตาบาร์บี้นั้นมาจากป่าฝนเขตร้อนในประเทศอินโดนีเซีย โดยผนวกเข้ากับการสืบค้นภาคสนาม ข้อมูลแผนที่ และตามรอยหลักฐาน(ใบประกาศ)ของบริษัทเพื่อแสดงให้เห็นว่าแมทเทล ผู้ผลิตบาร์บี้และบริษัทของเล่นอื่นๆ อย่างเช่น ดิสนีย์ (Disney) ใช้บรรจุภัณฑ์ที่มาจากบริษัท Asia Pulp and Paper หรือ APP ที่ถูกเปิดโปงหลายครั้งว่าเป็นผู้ทำลายป่าฝนเขตร้อนในอินโดนีเซียเพื่อนำมาผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์ต่างๆ

บุสตาร์ ไมทาร์ หัวหน้าฝ่ายรณรงค์ของกรีนพีซเพื่อปกป้องผืนป่าอินโดนีเซียกล่าวว่า

“บาร์บี้กำลังทำลายป่าฝนเขตร้อนและทำให้สัตว์ป่าที่มีความสำคัญ อย่างเช่นเสือ ตกอยู่ในความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ทั้งนี้เพราะบรรจุภัณฑ์ของบาร์บี้นั้น มาจากการตัดไม้ทำลายป่าในอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่ของเสือสุมาตรา”

“แมทเทลผู้ผลิตบาร์บี้จะต้องหยุดใช้บรรจุภัณฑ์ที่มาจากการทำลายป่า โดยแมทเทลต้องหยุดซื้อวัสดุที่ใช้ทำหีบห่อจาก APP ซึ่งเป็นผู้ทำลายผืนป่าขนาดใหญ่ และถูกเปิดโปงหลายครั้งว่าทำลายป่าในอินโดนีเซียเพื่อนำมาทำบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วทิ้ง”

“APP คือข่าวร้ายของผืนป่าในอินโดนีเซีย APP ปฏิบัติต่ออินโดนีเซียเหมือนกับสิ่งของที่ใช้แล้วทิ้ง โดยช่วงชิงทรัพยากรป่าที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของชุมชนรอบผืนป่า แมทเทลและบริษัทผลิตของเล่นอย่างเช่น ดิสนีย์ จะต้องมีความรับผิดชอบในการสนับสนุนการพัฒนาที่สะอาดและก่อให้เกิดคาร์บอนต่ำ พวกเขาควรหันหลังให้ APP และสนับสนุนผู้ผลิตในอินโดนีเซียที่มีความรับผิดชอบ”

อินโดนีเซียเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่มีอัตราการทำลายป่าเร็วที่สุดในโลก รัฐบาลอินโดนีเซียประเมินว่าผืนป่าในอินโดนีเซียถูกทำลายมากกว่าหนึ่งล้านเฮกเตอร์ต่อปี ถึงแม้ว่ารัฐบาลได้ประกาศให้ยุติการทำลายและการแปลงผืนป่าไว้ชั่วคราว แต่ข้อมูลได้ระบุว่านโยบายดังกล่าวไม่สามารถปกป้องผืนป่าธรรมชาติและป่าพรุเป็นพื้นที่รวมกัน 45 ล้านเฮกเตอร์ การประกาศยุติการทำลายป่านี้ล้มเหลวในการปกป้องผืนป่าปริมาณมหาศาลให้รรอดพ้นจากการทำลาย และยากที่จะทำให้อินโดนีเซียบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ 41

“กรีนพีซเรียกร้องให้รัฐบาลอินโดนีเซียออกมาตรการที่เข้มแข็งในการปกป้องผืนป่าธรรมชาติและป่าพรุที่หลงเหลืออยู่ รวมถึงป่าที่อยู่ในแปลงสัมปทาน โดยการทบทวนสัมปทานป่าไม้ที่มีอยู่ว่าได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องภายใต้กฎหมายอินโดนีเซียหรือไม่ ปัจจุบัน ป่าไม้ ป่าพรุและสัตว์ป่าทั้งหมดในพื้นที่ต่างได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่องจากการตัดไม้ทำลายป่าของบริษัทต่างๆ อย่างเช่น APP” ซูลฟามิ ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านป่าไม้ กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าว



เอกสารเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับการทำลายป่าฝนเขตร้อนของ APP และบาร์บี้สามารถดาวน์โหลดได้ที่ www.greenpeace.org/app-toying-with-extinction
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า

กระทู้ฮอตในรอบ 7 วัน

Tags:
Tags:  

หน้า: 1

 
ตอบ

ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:  
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม