หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: ค่าแรงขั้นต่ำ รอบบ้านเราทั้งอาเซียน เทียบกับไทย  (อ่าน 24694 ครั้ง)
Guest
coin house
เรทกระทู้
« เมื่อ: 17 ก.ค. 11, 00:54 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 

ผมเห็นคนตั้งกระทู้ รอบบ้านเราแพงกว่าเรา
ผมไม่รู้เขาเอาตัวเลขมาจากไหน ผมไปเจอมาทีน่าสนใจและมีที่มาที่ไปด้วย

ค่าแรงขั้นต่ำ ทั้งอาเซียน เทียบกับไทยเมื่อเราจ่าย 300 บาท
ข้อมูลจาก http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_mi ... by_country

พม่า 401$ / ปี
ลาว 1,057$ / ปี
เวียดนาม 1,002$ / ปี

ไทย 2,293$ / ปี

กัมพูชา 672$ / ปี
มาเลเซีย 4,735$ / ปี
สิงคโปร ไม่มีกฏหมายเรื่องค่าแรงขั้นต่ำ
บรูไน ไม่มีกฏหมายเรื่องค่าแรงขั้นต่ำ
อินโดนิเซีย 2,103$ / ปี
ติมอร์ตะวันออก ไม่มีกฏหมายเรื่องค่าแรงขั้นต่ำ

ผมลองมองเลยมาชาติอื่นที่ปัจจุบันเราเห็นในบ้านเราด้วย

อินเดีย ไม่มีกฏหมายเรื่องค่าแรงขั้นต่ำ
บังคลาเทศ 798$ / ปี

สำหรับจีนนั้น แต่ละส่วนไม่เท่านกัน ส่วนที่แพงราวๆ 200 $ ต่อเดือนหรือ 2,400 $ ต่อปี

นั้นทำให้ประธานสหพัฒน์เล่าถึงทุนต่างชาติที่ย้ายจากจีนมาเข้าไทย

สังเกตว่าหากไม่นับ มาเลเซีย สิงคโปร และบรูไน เราอยู่ระดับกลางๆพอๆกับอินโดฯ

หากเป็นเป็น 300 บาท ต่อ วัน หรือ 10 $ เราจะมีค่าแรงทั้งสิ้น
10 * 26 วัน * 12 เดือน
ไทย 3,120$ / ปี

หากเป็น 300 บาท เราจะสูงกว่า

พม่า 7.78 เท่า
ลาว 2.95 เท่า
เขมร 4.65 เท่า
เวียดนาม 3.11 เท่า
บังคลาเทศ 3.91 เท่า
อินโดฯ 1.48 เท่า
และจีน ที่ตอนนี้เราถูกกว่า จะวิ่งไปแพงกว่าเขาที่ 1.3 เท่า

คิดดู
จาก http://forum.serithai.net/viewtopic.php?f=2&t=39370

รอบบ้านเราแพงกว่าเรา.............เอามาจากไหน

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า

กระทู้ฮอตในรอบ 7 วัน

Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #1 เมื่อ: 17 ก.ค. 11, 00:59 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ก็คนแถวๆนี้ล่ะครับ หาได้ไม่ยาก ฮ่า ฮ่า

q*073

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #2 เมื่อ: 17 ก.ค. 11, 01:01 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

BS ka, that lady always give a bull and .... story. If she ever log in??? NaHa

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #3 เมื่อ: 17 ก.ค. 11, 01:15 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

คนที่ตั้งกระทู้เรื่องค่าแรงนั้นที่จขกท.ถาม เขาเอาข้อมูลมาจากไหน

เขาบอกผมว่า เขาก็เอามาจากแม่ลูกจันทร์ไทยรัฐไงครับ

ซึ่งผมได้หักล้างเขาไว้เช่นกัน

ตามนี้

http://webboard.news.sanook.com/forum/?topic=3462768.msg17366477#msg17366477



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #4 เมื่อ: 17 ก.ค. 11, 07:05 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
แหล่งข่าวน่าเชื่อถือ
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
Guest
นะฮะ
เรทกระทู้
« ตอบ #5 เมื่อ: 17 ก.ค. 11, 08:44 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
ค่าแรงขั้นต่ำในภูมิภาคอาเซียน

สิงคโปร์ครองตำแหน่งประเทศที่มีอัตราค่าแรงขั้นต่ำสูงที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน ขณะที่ ลาว กัมพูชา เวียดนาม พม่า มีอัตราค่าแรงขั้นต่ำในระดับที่ต่ำมาก

การปรับขึ้นอัตราค่าแรงขั้นต่ำ เป็นนโยบายที่หลายประเทศทั่วโลกหยิบยกขึ้นมาพิจารณา บางประเทศได้ข้อสรุปจนมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำไปแล้ว แต่บางประเทศประเด็นนี้ยังคงเป็นประเด็นร้อน ที่มีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและคัดค้าน

สำหรับประเทศกลุ่มสมาชิกอาเซียนนั้น มีหลายประเทศที่รัฐบาลได้อนุมัติให้ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำไปแล้วก่อนหน้านี้ เช่น ประเทศเวียดนาม ที่อนุมัติให้มีการปรับค่าแรงขั้นต่ำขึ้นมาร้อยละ 12.3 ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ปีที่ผ่านมา เนื่องจากดัชนีราคาผู้บริโภคปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ปัจจุบันค่าแรงขั้นต่ำของเวียดนามอยู่ที่ประมาณ 55 - 60 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อเดือน หรือประมาณ 1,650 - 1,800 บาท

ขณะที่ประเทศลาว รัฐบาลก็มีนโยบายที่จะปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำ ซึ่งขณะนี้นโบบายดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณา โดยปัจจุบันผู้ใช้แรงงานลาวมีรายได้เฉลี่ย 1,057 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อปี หรือประมาณ 31,700 บาท ส่วนประเทศเพื่อนบ้านอีกประเทศหนึ่งของเรา นั่นก็คือประเทศพม่า มีค่าแรงขั้นต่ำต่อปีจากการจัดอันดับโดยองค์การค่าแรงขั้นต่ำ อยู่ที่ 401ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 12,030 บาท

ด้านกัมพูชา หลังจากที่แรงงานได้ประท้วงหยุดงานครั้งประวัติศาสตร์ โดยมีผู้เข้าร่วมมากกว่า 200,000 คน เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลปรับขึ้นราคาค่าแรงขั้นต่ำ เป็น 93 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อเดือน หรือประมาณ 2,790 บาท ซึ่งหลังจากที่มีการเจรจาต่อรองกัน รัฐบาลจึงตกลงปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำเป็น 61 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อเดือน จากเดิมคือ 50 ดอลลาร์ โดยถือเป็นอัตราที่เพิ่มขึ้นมาถึงร้อยละ 10

ส่วนประเทศมาเลเซีย ประเทศนี้มีอัตราค่าแรงขั้นต่ำที่สูงที่สุดในแถบประเทศเพื่อนบ้านของเรา แต่แม้ว่าจะมีอัตราค่าแรงขั้นต่ำที่สูง แต่ก็ยังคงประสบกับปัญหาค่าครองชีพที่สูงตามมาด้วยเช่นกัน ทำให้ประชาชนและผู้ใช้แรงงานต่างก็เรียกร้องให้รัฐบาลมาเลเซียปรับขึ้นอัตราค่าแรงขั้นต่ำอีกครั้ง เพื่อให้สอดคล้องกับภาวะเงินเฟ้อและค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งปัจจุบัน มาเลเซียมีอัตราค่าแรงขั้นต่ำอยู่ที่ 530 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อเดือน หรือประมาณ 15,900 บาท

ขณะที่ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศนี้มีอัตราค่าแรงขั้นต่ำแตกต่างกันไป ตามแต่ละภูมิภาค ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วอยู่ที่ 232 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อเดือน หรือประมาณ 6,960 บาท ด้านอินโดนีเซียอยู่ที่ 112 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 3,360 บาทต่อเดือน

ปิดท้ายกันที่ประเทศสิงคโปร์ ประเทศนี้เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า เป็นประเทศที่มีอัตราค่าแรงขั้นต่ำที่สูงที่สุดในประเทศอาเซียนทั้งหมด ซึ่งจากการจัดอันดับของหน่วยงานด้านสถิติค่าจ้างแรงงานในภูมิภาคอาเซียนพบว่า ผู้ใช้แรงงานในสิงคโปร์มีค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำอยู่ที่ 1,850 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือน หรือประมาณ 55,500 บาท โดยคิดเป็นรายได้เฉลี่ยต่อวัน คือ 61 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 1,830 บาท ซึ่งเทียบเท่ากับค่าแรงขั้นต่ำในประเทศเวียดนาม ที่ผู้ใช้แรงงานจะได้รับต่อ 1 เดือน.
q*031q*033q*039q*076q*073q*074
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #6 เมื่อ: 17 ก.ค. 11, 15:16 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
^

^


q*022
คุณนะฮะ คุณก็ไปลอกข้อมูลvoice tv เขามา(ที่ผมแนะนำให้คุณไปอ่านน่ะ) ก็หัดให้เครดิตเขาบ้าง

และจะบอกให้ ข้อมูลตรงนี้ของวอย์ซทีวี ยังผิดตรงค่าแรงมาเลเซีย

แล้วที่คุณนะฮะ อ้างคำของแม่ลูกจันทร์ว่า ค่าแรงเวียตนามถูกกว่าไทยนิดเดียว

เห็นข้อมูลของvoice tv แล้ว ยังจะเชื่อว่าค่าแรงเวียตนามถูกกว่าไทยนิดเดียวอีกมั้ย?? q*013

แล้วที่แม่ลูกจันทร์บอกว่าค่าแรงอินโดนีเซียแพงกว่าไทยน่ะ

คุณนะฺฮะ คุณเชื่อรึยังว่าแม่ลูกจันทร์มั่วน่ะะ
q*020

V

V


" แม่..... " สนับสนุนนโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ๓๐๐ บาท เพราะเป็นประโยชน์โดยตรงกับแรงงานไทยไม่ต่ำกว่า ๕ ล้านคน

ขอกระชุ่นพระเดชพระคุณนายทุนทั้งหลาย ให้ยอมรับความจริงว่า ค่าแรงขั้นต่ำวันละ ๒๑๕ บาท ถึง ๒๒๐ บาท มันอยู่ไม่ได้กับภาวะค่าครองชีพปัจจุบัน ถึงจะขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็นวันละ ๓๐๐ บาท ก็แค่พอประทังชีวิตอยู่ได้เท่านั้นเอง

ส่วนกรณีที่สภาหอการค้าและสมาคมอุตสาหกรรม ออกมาขู่ฮึ่มๆ จะย้ายฐานการผลิตไปจีน อินโดนีเซีย และเวียดนาม " แม่..... " กราบเรียนว่า อัตราค่าแรงขั้นต่ำของจีนวันนี้สูงกว่าไทย ค่าแรงขั้นต่ำของอินโดนีเซียวันละ ๒๒๗ บาท ก็สูงกว่าไทย

ค่าแรงขั้นต่ำของฟิลิปปินส์ ๒๘๓ บาทต่อวัน ก็สูงกว่าไทย ค่าแรงขั้นต่ำมาเลเซีย ๓๑๘ บาทต่อวัน ก็สูงกว่าไทย ส่วนค่าแรงขั้นต่ำเวียดนาม ก็ต่ำกว่านิดเดียว แต่ถ้าเทียบโครงสร้างพื้นฐานเศรษฐกิจและสิ่งอำนวยความสะดวกในการลงทุน เวียดนามสู้ไทยไม่ได้เลย

" แม่..... " สรุปว่า สังคมต้องมีความสมดุล ไม่ใช่เศรษฐีนายทุนฟาดกำไรรวยสะดือบาน แต่ปล่อยลูกจ้างแรงงานอดตายเพราะรายได้ไม่พอกิน

รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเราซะบ้าง ดวงตาจะได้เห็นธรรม .


สังคมใดมีแต่การกดขี่ เอารัดเอาเปรียบ ในที่สุดช่องว่างแห่งชนชั้น

คนรวยกับคนจน มันก็ถ่างออกจากกันมากขึ้น ๆ จนในที่สุดคนส่วนใหญ่ก็

อยู่ไ่ม่ได้ แล้ว..กลียุคแดนมิคสัญญีก็อาจเลี่ยงได้ยากสุด ๆ...!!!!!!
q*031q*032q*033q*074q*075q*076q*039



---------------

q*082
คลิก --> หักล้างข้อเขียนแม่ลูกจันทร์
.


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 ก.ค. 11, 16:57 น โดย akecity » noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
Guest
มั่วกันจิ๊ง
เรทกระทู้
« ตอบ #7 เมื่อ: 17 ก.ค. 11, 17:33 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

อินโดนีเซียเหรอที่ค่าแรงจะแพงกว่าไทย ผมไม่ค่อยรู้เรื่องเกี่ยวกับอินโดนีเซียเท่าไหร่หรอก แต่ดูจากตำแหน่งภูมิศาสตร์ ขนาดของประเทศแล้ว ผมคิดว่า ค่าแรงต้องต่ำกว่าไทยแน่ๆ ถ้าใครมาบอกว่าสูงกว่า ก็ต้องเช็คจากสถิติขององค์การสหประชาชาติแหละว่า มาตรฐานค่าครองชีพของประเทศนี้เป็นยังไง

ถ้าจะหลอกก็น่าจะเนียนกว่านี้ แต่คิดบวกว่าเขาไม่ตั้งใจหลอก เขาเพียงแต่ไม่มีความรู้รอบตัวเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์สักเท่าไหร่ แล้วเที่ยวไปหาบทความของใครก็ได้ที่สนับสนุนความคิดแบบเดียวกับตัว มั่วก็ไม่สน เอามาเผยแพร่

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
Guest
tuta_vee
เรทกระทู้
« ตอบ #8 เมื่อ: 18 ก.ค. 11, 14:41 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ค่าแรงขึ้นต่ำก็เป็นส่วนหนึ่งที่ต้องเปรียบเทียบ
ก็ลองเทียบค่าสินค้าดูบ้างสิว่ามันราคาแตกต่างกับกลุ่มอาเซียนเท่าไร
เช่น ไข่ไก่ ไก่ เนื้อหมู

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
Guest
ประชาชน-คนขายแรง
เรทกระทู้
« ตอบ #9 เมื่อ: 18 ก.ค. 11, 14:48 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

แล้วไงค่ะ เหตุผลที่ตั้งกระทู้นี้มาเพื่อ.... แล้วประเทศไทยจะขึ้นค่าแรงไม่ได้เลยหรือ ในเมื่อค่าครองชีพมันก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แต่ค่าแรงกลับไม่เพิ่ม
เมื่อสินค้าขึ้นราคา ผู้ค้าจะอ้างว่า....เพราะน้ำมันมันแพง แต่ ในด้านผู้ซื้อ(ผู้ขายแรงงาน)อ้างเหตุผลอะไรไม่ได้เลยว่า ท่านผู้จ้างทั้งหลายต้องขึ้นค่าแรงให้หนะ..... q*035q*069

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
Guest
moonaka
เรทกระทู้
« ตอบ #10 เมื่อ: 18 ก.ค. 11, 14:51 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

การคำนวณค่าแรงในไทย อย่ามองแค่ด้านเดียว คือเอาไปเปรียบกับ ปท.เพื่อนบ้าน วาระค่าแรงต้องมองที่ปัจจัยหลัก ค่าครองชีพในไทย คุณภาพแรงงาน ถ้าไปทำวิจัยออกมาจริงๆ 300 มันน่าจะขึ้นมาตั้งนานแล้ว และการปรับสเถียรภาพค่าแรงทุกจังหวัดมีความแตกต่างกันจนเกินไป ทำให้คนมากระจุกอยู่ใน กทม. การขึ้นค่าแรงดูเป็นเรื่องเลวร้าย แต่ถ้ามองในเรื่องยุทธศาสตร์ของ ปท. ควรจะปรับเพิ่มได้แล้ว..

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
Guest
สงสัย
เรทกระทู้
« ตอบ #11 เมื่อ: 18 ก.ค. 11, 15:01 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

เขาเปรียบเทียบ หัก-ล้าง กะค่าครองชีพด้วยมั้งครับถึงออกมาแบบนั้นผมก็ยัง งงๆอยู่ว่าคิดยังใงถึงคิดว่าไม่ต่างกันมาก

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #12 เมื่อ: 18 ก.ค. 11, 15:21 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

อยากให้คนใช้แรงงาน หรือทำรายวัน มีคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้น เป็น 300 บาทต่อวันครับ...ทุกอย่างเป็นไปได้หมดครับ...ถ้าจะทำกันจริงๆๆ

ผมว่า..อยากให้มองว่า ถ้าคนใช้แรงงาน มีรายได้เพิ่ม300 บาทต่อวัน พวกเขาจะใช้จ่ายเงินลงไปในตลาดแน่นอนครับ ไม่มีใครเขาเก็บเงินหรอกครับ...ถ้าเงินสะพัดเข้าในตลาด จะมีการหมุนเวียนของเม็ดเงินไปทุกส่วนของกลไกตลาดครับ...ทุกฝ่ายมีส่วนได้กันหมด ไม่มีใครเสียหรอกครับ...แต่ถ้าพวกใช้แรงงานไม่ได้ค่าแรงเพิ่ม 300 บาท พวกเขาก็จะไม่มีการใช้จ่ายเงิน ไม่มีอะไรเกิดขึ้นในกลไกตลาดหรอกครับ

คิดตามหลักความจริงสิครับ...อย่าไปมองตามหลักวิชาการ แบบพวกนักวิชาการที่มองกัน......เพราะพวกนักวิชาการ คุณมีรายได้มากอยู่แล้ว คุณไม่สนใจปัญหาของพวกใช้แรงงานหรอกครับ ....พวกคุณมองแต่ทฤษฏีอย่างนี้ อย่างนั้น แต่พวกคุณนักวิชาการทั้งหลายไม่ได้ลงมือปฏิบัตินี่ครับ....ถ้าพวกคุณไม่อยากให้ปรับเงินเป็น 300 บาทต่อวัน พวกคุณลองเสนอทางแก้ปัญหาให้คนกลุ่มนี้บ้างสิครับ... ไม่ใช่มาขัดขวางแบบสุภาษิตที่ว่า "มือไม่พาย เอาเท้าราน้ำ"

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #13 เมื่อ: 18 ก.ค. 11, 15:33 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ขอเสนอนะครับ
การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำไม่ช่ายคำตอบนะครับ คำตอบอยู่ที่ไปดูที่ต้นทุนการผลิตสินคา้แต่ละชนิดดีกว่ามั้ยครับ เพราะถ้าขึ้นค่าแรงนั่นหมายความว่าขึ้นต้นทุนการผลิตด้วย ผลสุดท้ายค่าแรงกับค่าครองชีพก็เป็นเงาตามตัวแตกกันไม่ออกซักที ไม่รู็ว่านักการเมืองบ้านเรา คิดเป็นด้านเดียวหรืองัยครับ ทำไมไม่คิดทั้งระบบ

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
Guest
123
เรทกระทู้
« ตอบ #14 เมื่อ: 18 ก.ค. 11, 16:41 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

อ้างอิงจากข้อความข้างล่าง ข้อมูลของประเทศสิงคโปร์ ผิดน่ะค่ะ ประเทศอื่นไม่รู้ แต่ประเทศสิงคโปร์ น่ะไม่มีค่าแรงขั้นต่ำ ที่บอกว่าได้ประมาณ 5 หมื่นบาท น่ะไม่ถือว่าเป็นค่าแรงขั้นต่ำ แต่ถือว่าเป็น ค่าจ้างคนงานในห้างร้านหรือพนักงานบริษัทที่จบใหม่ หรือเรียกง่ายๆๆค่า พนักงานที่ไม่ค่อยมีประสบการณ์ ส่วนค่าแรงสำหรับชนชั้นแรงงาน ที่นั้น ซึ่งส่วนมากเป็น คนฟิลิปปินส์ อิโดนิเชีย บังคลาเทศ อินเดีย น่ะ ได้น้อยมาก ทำงานทั้งเดือนได้ ประมาณ 5000 บาท แรงงานพวกนี้ คือแรงงานถูกกฏหมาย พวกแม่บ้านอิโด จะโดนขดขี่ที่สุด นี่คือความจริง จากคนที่อยู่มาหลายปี แม่บ้านที่ประเทศไทยได้เงินเดือนเยอะที่สุดในอาเซี่ยน



ค่าแรงขั้นต่ำในภูมิภาคอาเซียน

สิงคโปร์ครองตำแหน่งประเทศที่มีอัตราค่าแรงขั้นต่ำสูงที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน ขณะที่ ลาว กัมพูชา เวียดนาม พม่า มีอัตราค่าแรงขั้นต่ำในระดับที่ต่ำมาก

การปรับขึ้นอัตราค่าแรงขั้นต่ำ เป็นนโยบายที่หลายประเทศทั่วโลกหยิบยกขึ้นมาพิจารณา บางประเทศได้ข้อสรุปจนมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำไปแล้ว แต่บางประเทศประเด็นนี้ยังคงเป็นประเด็นร้อน ที่มีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและคัดค้าน

สำหรับประเทศกลุ่มสมาชิกอาเซียนนั้น มีหลายประเทศที่รัฐบาลได้อนุมัติให้ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำไปแล้วก่อนหน้านี้ เช่น ประเทศเวียดนาม ที่อนุมัติให้มีการปรับค่าแรงขั้นต่ำขึ้นมาร้อยละ 12.3 ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ปีที่ผ่านมา เนื่องจากดัชนีราคาผู้บริโภคปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ปัจจุบันค่าแรงขั้นต่ำของเวียดนามอยู่ที่ประมาณ 55 - 60 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อเดือน หรือประมาณ 1,650 - 1,800 บาท

ขณะที่ประเทศลาว รัฐบาลก็มีนโยบายที่จะปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำ ซึ่งขณะนี้นโบบายดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณา โดยปัจจุบันผู้ใช้แรงงานลาวมีรายได้เฉลี่ย 1,057 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อปี หรือประมาณ 31,700 บาท ส่วนประเทศเพื่อนบ้านอีกประเทศหนึ่งของเรา นั่นก็คือประเทศพม่า มีค่าแรงขั้นต่ำต่อปีจากการจัดอันดับโดยองค์การค่าแรงขั้นต่ำ อยู่ที่ 401ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 12,030 บาท

ด้านกัมพูชา หลังจากที่แรงงานได้ประท้วงหยุดงานครั้งประวัติศาสตร์ โดยมีผู้เข้าร่วมมากกว่า 200,000 คน เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลปรับขึ้นราคาค่าแรงขั้นต่ำ เป็น 93 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อเดือน หรือประมาณ 2,790 บาท ซึ่งหลังจากที่มีการเจรจาต่อรองกัน รัฐบาลจึงตกลงปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำเป็น 61 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อเดือน จากเดิมคือ 50 ดอลลาร์ โดยถือเป็นอัตราที่เพิ่มขึ้นมาถึงร้อยละ 10

ส่วนประเทศมาเลเซีย ประเทศนี้มีอัตราค่าแรงขั้นต่ำที่สูงที่สุดในแถบประเทศเพื่อนบ้านของเรา แต่แม้ว่าจะมีอัตราค่าแรงขั้นต่ำที่สูง แต่ก็ยังคงประสบกับปัญหาค่าครองชีพที่สูงตามมาด้วยเช่นกัน ทำให้ประชาชนและผู้ใช้แรงงานต่างก็เรียกร้องให้รัฐบาลมาเลเซียปรับขึ้นอัตราค่าแรงขั้นต่ำอีกครั้ง เพื่อให้สอดคล้องกับภาวะเงินเฟ้อและค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งปัจจุบัน มาเลเซียมีอัตราค่าแรงขั้นต่ำอยู่ที่ 530 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อเดือน หรือประมาณ 15,900 บาท

ขณะที่ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศนี้มีอัตราค่าแรงขั้นต่ำแตกต่างกันไป ตามแต่ละภูมิภาค ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วอยู่ที่ 232 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อเดือน หรือประมาณ 6,960 บาท ด้านอินโดนีเซียอยู่ที่ 112 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 3,360 บาทต่อเดือน

ปิดท้ายกันที่ประเทศสิงคโปร์ ประเทศนี้เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า เป็นประเทศที่มีอัตราค่าแรงขั้นต่ำที่สูงที่สุดในประเทศอาเซียนทั้งหมด ซึ่งจากการจัดอันดับของหน่วยงานด้านสถิติค่าจ้างแรงงานในภูมิภาคอาเซียนพบว่า ผู้ใช้แรงงานในสิงคโปร์มีค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำอยู่ที่ 1,850 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือน หรือประมาณ 55,500 บาท โดยคิดเป็นรายได้เฉลี่ยต่อวัน คือ 61 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 1,830 บาท ซึ่งเทียบเท่ากับค่าแรงขั้นต่ำในประเทศเวียดนาม ที่ผู้ใช้แรงงานจะได้รับต่อ 1 เดือน.
q*031q*033q*039q*076q*073q*074
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
Guest
อยากรู้
เรทกระทู้
« ตอบ #15 เมื่อ: 18 ก.ค. 11, 17:21 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ได้กันเดือนละเท่าไร

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
Guest
คนเหนือ
เรทกระทู้
« ตอบ #16 เมื่อ: 18 ก.ค. 11, 18:29 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
แล้วไงค่ะ เหตุผลที่ตั้งกระทู้นี้มาเพื่อ.... แล้วประเทศไทยจะขึ้นค่าแรงไม่ได้เลยหรือ ในเมื่อค่าครองชีพมันก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แต่ค่าแรงกลับไม่เพิ่ม
เมื่อสินค้าขึ้นราคา ผู้ค้าจะอ้างว่า....เพราะน้ำมันมันแพง แต่ ในด้านผู้ซื้อ(ผู้ขายแรงงาน)อ้างเหตุผลอะไรไม่ได้เลยว่า ท่านผู้จ้างทั้งหลายต้องขึ้นค่าแรงให้หนะ..... q*035q*069



.>>>>>> ค่าครองชีพแพง ก็ลดค่าครองชีพ ซิครับ ... เพิ่มค่าจ้างไป คนไทยจะตกงานกัน เพราะ นายจ้างจะหันไปจ้าง บุคคลต่างด้าว ... เพราะค่าแรงถูกกว่า ทำงาน ทน สู้งานกว่าคนไทย
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
Guest
คนเหนือ
เรทกระทู้
« ตอบ #17 เมื่อ: 18 ก.ค. 11, 18:34 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
อยากให้คนใช้แรงงาน หรือทำรายวัน มีคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้น เป็น 300 บาทต่อวันครับ...ทุกอย่างเป็นไปได้หมดครับ...ถ้าจะทำกันจริงๆๆ

ผมว่า..อยากให้มองว่า ถ้าคนใช้แรงงาน มีรายได้เพิ่ม300 บาทต่อวัน พวกเขาจะใช้จ่ายเงินลงไปในตลาดแน่นอนครับ ไม่มีใครเขาเก็บเงินหรอกครับ...ถ้าเงินสะพัดเข้าในตลาด จะมีการหมุนเวียนของเม็ดเงินไปทุกส่วนของกลไกตลาดครับ...ทุกฝ่ายมีส่วนได้กันหมด ไม่มีใครเสียหรอกครับ...แต่ถ้าพวกใช้แรงงานไม่ได้ค่าแรงเพิ่ม 300 บาท พวกเขาก็จะไม่มีการใช้จ่ายเงิน ไม่มีอะไรเกิดขึ้นในกลไกตลาดหรอกครับ

คิดตามหลักความจริงสิครับ...อย่าไปมองตามหลักวิชาการ แบบพวกนักวิชาการที่มองกัน......เพราะพวกนักวิชาการ คุณมีรายได้มากอยู่แล้ว คุณไม่สนใจปัญหาของพวกใช้แรงงานหรอกครับ ....พวกคุณมองแต่ทฤษฏีอย่างนี้ อย่างนั้น แต่พวกคุณนักวิชาการทั้งหลายไม่ได้ลงมือปฏิบัตินี่ครับ....ถ้าพวกคุณไม่อยากให้ปรับเงินเป็น 300 บาทต่อวัน พวกคุณลองเสนอทางแก้ปัญหาให้คนกลุ่มนี้บ้างสิครับ... ไม่ใช่มาขัดขวางแบบสุภาษิตที่ว่า "มือไม่พาย เอาเท้าราน้ำ"





>>>> ค่าแรง 300บาท แต่ ข้าวของทุกอย่าง ทุกชนิด ราคาขึ้นตามค่าแรง สมมุติขึ้น อย่างละ 5-10 บาท ลองคิดตามนะครับ ว่ามันจะเกิดผลดี หรือ ผลเสีย มากกว่ากัน ... ------------------ แนวทางแก้ไขปัญหา ค่าแรงเท่าเดิม ลดราคาน้ำมันทุกชนิด กับ ข้าว ลงครับ
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
Guest
tonyong
เรทกระทู้
« ตอบ #18 เมื่อ: 18 ก.ค. 11, 18:50 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

q*062
มาทำงานภาคใต้จากกรรมกรวันหนึ่ง 350 บาทยังหาอยากเลย

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
Guest
ดอย
เรทกระทู้
« ตอบ #19 เมื่อ: 18 ก.ค. 11, 19:14 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
แล้วไงค่ะ เหตุผลที่ตั้งกระทู้นี้มาเพื่อ.... แล้วประเทศไทยจะขึ้นค่าแรงไม่ได้เลยหรือ ในเมื่อค่าครองชีพมันก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แต่ค่าแรงกลับไม่เพิ่ม
เมื่อสินค้าขึ้นราคา ผู้ค้าจะอ้างว่า....เพราะน้ำมันมันแพง แต่ ในด้านผู้ซื้อ(ผู้ขายแรงงาน)อ้างเหตุผลอะไรไม่ได้เลยว่า ท่านผู้จ้างทั้งหลายต้องขึ้นค่าแรงให้หนะ..... q*035q*069

คุณคิดว่าถ้าค่าแรงขึ้น แล้วค่าครองชืพจะไม่ขึ้นตามเหรอครับ แล้วแรงงานจะมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นตรงไหน

ที่เค้าตั้งกระทู้ไม่ใช่ไม่ให้ขึ้นค่าแรง ค่าแรงมันมีกลไกให้ขึ้นไปเรื่อยๆ อยู่แล้่ว แต่มีคนบางคนพยายามเอาข้อมูลเท็จมาหลอกว่าเพื่อนบ้านเค้าค่าแรงสูงเท่านั้นเท่านี้

ที่เค้าต่อต้านกันคุณควรทำความเข้าใจเหตุผล ไม่ใช่คิดแต่ว่าต้องขึ้น ถ้าขึ้นค่าแรงแบบก้าวกระโดดแล้วธุรกิจเจ๊งระดนระนาด คนตกงาน ผลเสียก็ตกอยู่กับคนงานเอง อย่าลืมว่าคนกลุ่มนี้ตกงาน 2-3 วันก็เดือดร้อนแล้วครับ

เงินที่ขึ้นเป็น 300 อย่าคิดว่าเค้าจะมีเงินเก็บเป็นทุนสำรองครับ ถ้าคุณได้คลุกคลีกับคนเหล่านี้คุณจะทราบดี

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
Guest
d;;kd
เรทกระทู้
« ตอบ #20 เมื่อ: 18 ก.ค. 11, 19:24 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
อยากให้คนใช้แรงงาน หรือทำรายวัน มีคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้น เป็น 300 บาทต่อวันครับ...ทุกอย่างเป็นไปได้หมดครับ...ถ้าจะทำกันจริงๆๆ

ผมว่า..อยากให้มองว่า ถ้าคนใช้แรงงาน มีรายได้เพิ่ม300 บาทต่อวัน พวกเขาจะใช้จ่ายเงินลงไปในตลาดแน่นอนครับ ไม่มีใครเขาเก็บเงินหรอกครับ...ถ้าเงินสะพัดเข้าในตลาด จะมีการหมุนเวียนของเม็ดเงินไปทุกส่วนของกลไกตลาดครับ...ทุกฝ่ายมีส่วนได้กันหมด ไม่มีใครเสียหรอกครับ...แต่ถ้าพวกใช้แรงงานไม่ได้ค่าแรงเพิ่ม 300 บาท พวกเขาก็จะไม่มีการใช้จ่ายเงิน ไม่มีอะไรเกิดขึ้นในกลไกตลาดหรอกครับ

คิดตามหลักความจริงสิครับ...อย่าไปมองตามหลักวิชาการ แบบพวกนักวิชาการที่มองกัน......เพราะพวกนักวิชาการ คุณมีรายได้มากอยู่แล้ว คุณไม่สนใจปัญหาของพวกใช้แรงงานหรอกครับ ....พวกคุณมองแต่ทฤษฏีอย่างนี้ อย่างนั้น แต่พวกคุณนักวิชาการทั้งหลายไม่ได้ลงมือปฏิบัตินี่ครับ....ถ้าพวกคุณไม่อยากให้ปรับเงินเป็น 300 บาทต่อวัน พวกคุณลองเสนอทางแก้ปัญหาให้คนกลุ่มนี้บ้างสิครับ... ไม่ใช่มาขัดขวางแบบสุภาษิตที่ว่า "มือไม่พาย เอาเท้าราน้ำ"

มีธุรกิจจำนวนมากที่เค้าไม่สามารถแบกรับภาระนี้ได้ครับ ถ้ากฏหมายบังคับเค้าต้องเจ๊ง คนงานที่รับ 300 ก็ต้องตกงานจำนวนมาก คุณลองเสนอทางแก้ปัญหาให้แรงงานที่ตกงานบ้างสิครับ ไม่ใช่มาขัดขวางแบบสุภาษิตที่ว่า "มือไม่พาย เอาเท้าราน้ำ"
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
Guest
icie
เรทกระทู้
« ตอบ #21 เมื่อ: 18 ก.ค. 11, 19:45 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

เปรียบเทียบ วัดระดับกับค่าครองชีพแล้วหรือยังว่า balance กันหรือปล่าว

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
Guest
KKK
เรทกระทู้
« ตอบ #22 เมื่อ: 18 ก.ค. 11, 20:09 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
อยากให้คนใช้แรงงาน หรือทำรายวัน มีคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้น เป็น 300 บาทต่อวันครับ...ทุกอย่างเป็นไปได้หมดครับ...ถ้าจะทำกันจริงๆๆ

ผมว่า..อยากให้มองว่า ถ้าคนใช้แรงงาน มีรายได้เพิ่ม300 บาทต่อวัน พวกเขาจะใช้จ่ายเงินลงไปในตลาดแน่นอนครับ ไม่มีใครเขาเก็บเงินหรอกครับ...ถ้าเงินสะพัดเข้าในตลาด จะมีการหมุนเวียนของเม็ดเงินไปทุกส่วนของกลไกตลาดครับ...ทุกฝ่ายมีส่วนได้กันหมด ไม่มีใครเสียหรอกครับ...แต่ถ้าพวกใช้แรงงานไม่ได้ค่าแรงเพิ่ม 300 บาท พวกเขาก็จะไม่มีการใช้จ่ายเงิน ไม่มีอะไรเกิดขึ้นในกลไกตลาดหรอกครับ

คิดตามหลักความจริงสิครับ...อย่าไปมองตามหลักวิชาการ แบบพวกนักวิชาการที่มองกัน......เพราะพวกนักวิชาการ คุณมีรายได้มากอยู่แล้ว คุณไม่สนใจปัญหาของพวกใช้แรงงานหรอกครับ ....พวกคุณมองแต่ทฤษฏีอย่างนี้ อย่างนั้น แต่พวกคุณนักวิชาการทั้งหลายไม่ได้ลงมือปฏิบัตินี่ครับ....ถ้าพวกคุณไม่อยากให้ปรับเงินเป็น 300 บาทต่อวัน พวกคุณลองเสนอทางแก้ปัญหาให้คนกลุ่มนี้บ้างสิครับ... ไม่ใช่มาขัดขวางแบบสุภาษิตที่ว่า "มือไม่พาย เอาเท้าราน้ำ"

เห็นด้วยๆ..เพราะคุณพวกนี้หนักไปทางตัวหนังสือมากเกิน ถือว่าจบมาดีกว่าคนอื่นๆ
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
Guest
คนปากน้ำ
เรทกระทู้
« ตอบ #23 เมื่อ: 18 ก.ค. 11, 20:36 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ไม่ว่าอย่างไรนะครับผมคิดว่า ค่าแรง 300 นั้น ไม่แพงหรอกครับเพราะคุณคิดดูซิครับว่า ในปัจจุบันนี้ข้าวของเครื่องใช้นั้นมันแพงขึ้นทุกอย่างคุณคิดว่าการขึ้นค่าแรงเท่านี้มันแพงหรือครับฉะนั้นมนุษย์เงินเดือนอย่างเราเนี่ยนะครับน่าดีใจด้วยซ้ำไป คุณคิดว่าอย่างไร

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #24 เมื่อ: 18 ก.ค. 11, 20:40 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
ค่าแรงจะสูงแตกต่างกันอย่างไร นั่นดิฉันว่า มันไม่ค่อยตรงประเด็นเท่าไหร่ มันอยู่ที่ค่าครองชีพและใช้จ่ายเดี๋ยวนี้มันสูงขึ้นมาก เราก็ควรที่จะขึ้นให้ประชาชนนิดหน่อย ไม่ต้องรอให้ถึงวันแรงงาน
ไม่ต้องถึง 300 ก็ได้ ดิฉันได้ดูการให้สัมภาษณ์ ของคนที่เกี่ยวข้องกับเงินค่าแรงแล้วดิฉันเหนื่อยใจ รัฐบาลขอให้ขึ้นมา300 เค๊าก็ขอตามนโยบาย เผื่อต่อรอง ทำไมไม่ต่อขอลดมาซัก50% ช่วยๆกัน แต่นี่โยนให้รัฐบาล บอกว่าให้หาเงินมาจ่ายให้ประชาชนเอง คุณคิดว่าประชาชนไม่เข้าใจเรื่องภาษี เงินรายได้ หรืออะไรต่างๆ รึงัย เข้าใจว่าพื้นฐาน มันได้เพิ่มขึ้นมาเท่าไหร่ คนที่อยู่ในตำแหน่งที่สูงขึ้นมันก็ต้องได้เพิ่มขึ้น ไม่งั๊นไม่ยุติธรรม แต่ที่บอกว่าคนส่วนใหญ่ทุกวันนี้ก็อยู่ได้ที่ค่าแรงเท่านี้ คุณคิดผิด สังเกตุจากหนี้ที่เพิ่มพูนจากทุกทุกที่ ใครมีลูกเต้าก็ลำบาก หาที่เรียนอีก โอย ไม่โทษรัฐบาล แต่ขอทุกฝ่ายช่วยเหลือกันหน่อย เข้าใจคนจนด้วย
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
Guest
ThL
เรทกระทู้
« ตอบ #25 เมื่อ: 18 ก.ค. 11, 20:48 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ค่าครองชีพมันปรับขึ้น แล้วก็ปรับลงได้ครับ ไม่ต้องคิดมาก ทดลองกันได้
แต่ถ้าค่าครองชีพคุณปรับขึ้นแล้ว พอมันเกิดผิดพลาด แล้วจะมานั่งปรับลงเนี่ยลำบากแล้วนะครับ จะเกิดการประท้วงครั้งยิ่งใหญ่ หรือไม่ก็ให้ภาคเศรษฐกิจล่มเสียก่อนค่อยปรับลงโดยไม่มีการประท้วง ถามว่าถ้าเป็นคุณจะแบกรับไหวหรอครับ สู้ว่าคุณค่อยๆเป็นค่อยๆไปดีไหมครับ ทำวิจัยสักนิดว่คุณภาพแรงงานของเราไปถึงไหนแล้ว และปัจจัยหลายๆอย่าง

ป.ล. ในใจก็ลุ้นให้มันเป็นจริงทั้งประเทศเหมือนกัน 555+

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
Guest
*-*
เรทกระทู้
« ตอบ #26 เมื่อ: 18 ก.ค. 11, 21:18 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

คนกินค่าแรงเค้าไม่อยากให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นเหรอ อย่ามาเรียกร้อง อยากได้เงินเดือนขึ้นให้เห็นนะ คนเค้าจะได้อยู่ดีกินดีขึ้นจะมากั๊กอีก
รอ ดุกึ๋นรัฐบาลก่อนดิว่าเค้าจะแก้ไขยังไง ที่สิงคโปบลูไน ไม่บอกว่า อ่ะ ก็น่าจะรู้อยู่แก่ใจว่าเค้าสูงดว่าเรามาก ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำก็ยังดีกว่าเอาไข่ขึ้นโลล่ะวะ

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
Guest
ขี้ฮก
เรทกระทู้
« ตอบ #27 เมื่อ: 18 ก.ค. 11, 21:35 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
อ้างจาก: link=topic=3462822.msg17370644#msg17370644 date=1310996437
ค่าแรงจะสูงแตกต่างกันอย่างไร นั่นดิฉันว่า มันไม่ค่อยตรงประเด็นเท่าไหร่ มันอยู่ที่ค่าครองชีพและใช้จ่ายเดี๋ยวนี้มันสูงขึ้นมาก เราก็ควรที่จะขึ้นให้ประชาชนนิดหน่อย ไม่ต้องรอให้ถึงวันแรงงาน
ไม่ต้องถึง 300 ก็ได้ ดิฉันได้ดูการให้สัมภาษณ์ ของคนที่เกี่ยวข้องกับเงินค่าแรงแล้วดิฉันเหนื่อยใจ รัฐบาลขอให้ขึ้นมา300 เค๊าก็ขอตามนโยบาย เผื่อต่อรอง ทำไมไม่ต่อขอลดมาซัก50% ช่วยๆกัน แต่นี่โยนให้รัฐบาล บอกว่าให้หาเงินมาจ่ายให้ประชาชนเอง คุณคิดว่าประชาชนไม่เข้าใจเรื่องภาษี เงินรายได้ หรืออะไรต่างๆ รึงัย เข้าใจว่าพื้นฐาน มันได้เพิ่มขึ้นมาเท่าไหร่ คนที่อยู่ในตำแหน่งที่สูงขึ้นมันก็ต้องได้เพิ่มขึ้น ไม่งั๊นไม่ยุติธรรม แต่ที่บอกว่าคนส่วนใหญ่ทุกวันนี้ก็อยู่ได้ที่ค่าแรงเท่านี้ คุณคิดผิด สังเกตุจากหนี้ที่เพิ่มพูนจากทุกทุกที่ ใครมีลูกเต้าก็ลำบาก หาที่เรียนอีก โอย ไม่โทษรัฐบาล แต่ขอทุกฝ่ายช่วยเหลือกันหน่อย เข้าใจคนจนด้วย

ก็เค้าใจเพราะเป็นคนเงินน้อยเหมือนกัน แต่ถ้าคิดในส่วนของเจ้าของกิจการ เค้าให้300 แต่มีข้อแม้ว่าขอลดจำนวนพนักงาน 10% ต่อโรงงาน จะเป็นจำนวนคนเท่าไร หรืออาจะได้แต่ขอปิดโรงงานแต่ไปตั้งประเทศอื่นเอาเปล่า คนไทยที่เป็นเจ้าของโรงงานมีน้อยมากทุกวันนี้ คิดเอาเองแล้วกันระหว่างมีเงินใช้น้อยกับตกงาน
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
Guest
เห้ออออ
เรทกระทู้
« ตอบ #28 เมื่อ: 18 ก.ค. 11, 21:37 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

แทนที่จะไปเปรียบทราเค้าพัฒนา
ดันไปเปรียบกับลลาว กำพูชา เห้อ
มีพวกความคิดแบบนี้เยอะๆประเทศมันเลยไม่เจริญ

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
Guest
123
เรทกระทู้
« ตอบ #29 เมื่อ: 18 ก.ค. 11, 21:54 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

เอะอะก็พูดแต่ค่าแรงขั้นต่ำ ทำไม่ไม่พูดถึงปัจจัยค่าครองชีพของเขากันบ้าง แล้วลองบวกลบคูณหารกันซิว่าใครถูกใครเเพงกว่ากัน เมื่อก่อนจนแบบมีเงินน้อย มาม่า ไข่ไก่ก็พอจะซื้อกินได้ ถ้าขึ้นค่าแรงแล้วคุณที่คนจนจะซื้อกินได้มันจะมีอะไรบ้างเเม้แต่เกลือก็คงยาก

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #30 เมื่อ: 18 ก.ค. 11, 22:59 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

No comment

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
Guest
คนสุพรรณ
เรทกระทู้
« ตอบ #31 เมื่อ: 18 ก.ค. 11, 23:20 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ค่าครองชีพ ค้าสินค้า ค่าน้ำมันพืชที่กักตุนรวยกระจุกนะ ตอนขึ้นราคา พวกนี้เคยขออนุญาตหรือถามความเห็นผู้ใช้แรงงาน ผู้บริโภคบ้างหรือเปล่า เขาขึ้นเพราะคิดว่าแบกรับภาระต้นทุนไม่ไหว ใครมีกำลังซื้อก็ซื้อ เขาไม่ได้ต้องการให้ซื้อหมดทุกคน ในเรื่องค่าแรงก็เหมือนกัน นายจ้างเอาเปรียบลูกจ้าง มานานน่าจะคลายความร่ำรวยออกมาบ้าง ไม่เชื่อหรอกว่าถ้าขึ้นค่าแรงเป็น 300 บาทแล้วเจ้าของกิจการจะเจ๊ง ถึงขนาดต้องปิดกิจการ ทีประชาชนข้าวของแพง ถึงเวลาจำเป็นยังต้องไปกู้หนี้ยืมสินนายทุนมาซื้อเลย

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
Guest
สีน้ำเงิน
เรทกระทู้
« ตอบ #32 เมื่อ: 18 ก.ค. 11, 23:24 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ถ้าเขาขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท ส่วนต่างคุณก็เค้าไปให้คนอื่นและกันนะ ง่ายดี ไม่ต้องมานั่งพล่าม ... เห็นเหตุผลเยอะจัง แต่อย่างน้อยก็ยังดีแต่พูดละกัน

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #33 เมื่อ: 19 ก.ค. 11, 02:41 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
ค่าครองชีพ ค้าสินค้า ค่าน้ำมันพืชที่กักตุนรวยกระจุกนะ ตอนขึ้นราคา พวกนี้เคยขออนุญาตหรือถามความเห็นผู้ใช้แรงงาน ผู้บริโภคบ้างหรือเปล่า เขาขึ้นเพราะคิดว่าแบกรับภาระต้นทุนไม่ไหว ใครมีกำลังซื้อก็ซื้อ เขาไม่ได้ต้องการให้ซื้อหมดทุกคน ในเรื่องค่าแรงก็เหมือนกัน นายจ้างเอาเปรียบลูกจ้าง มานานน่าจะคลายความร่ำรวยออกมาบ้าง ไม่เชื่อหรอกว่าถ้าขึ้นค่าแรงเป็น 300 บาทแล้วเจ้าของกิจการจะเจ๊ง ถึงขนาดต้องปิดกิจการ ทีประชาชนข้าวของแพง ถึงเวลาจำเป็นยังต้องไปกู้หนี้ยืมสินนายทุนมาซื้อเลย
เจ้าของกิจการใหญ่ๆไม่เจ๊งหรอก แต่เขาหมายถึง กิจการเล็กๆ จะไม่พอจ่ายให้พนักงาน คิดแบบ เจ้าของกิจการมั่งสิครับ ไม่ใช่คิดแต่แบบลูกจ้างอย่างเดียว มองทั้ง 2 ด้านสิ
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #34 เมื่อ: 19 ก.ค. 11, 05:52 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ทำไม่ต้องเปรียบเทียบกับเพื่อนบ้านที่ค่าแรงน้อยกว่าด้วย ทำไม่คิดถึงความยุติธรรม ทำงานแทบตายได้วันึงไม่ถึงสามร้อย

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
Guest
ง่ายนิดเดียว
เรทกระทู้
« ตอบ #35 เมื่อ: 19 ก.ค. 11, 06:13 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ถ้ารัฐบาลปล่อยขึ้นค่าแรง300บาทเมื่อไหร่ ความหายนะก้อตามมาในทันใดฉันนั้น นี่ขนาดรัฐบาลยังไม่ตั้ง ข้าวก้อมีการหยุดซื้อแล้วทำให้ข้าวราคาแพงขึ้นอนาคตคงไม่ต้องไปขายที่ไหนแล้วราคามันสูงกว่าเพื่อนบ้านเยอะซึ่งถ้าคุณเป็นพ่อค้าคุณจะซื้อข้าวจากไทยอีกหรือแล้วถ้ามาค่าแรง300บาทอีกรับรองกู๋ไม่กลับแล้ว แล้วถามสักนิดข้าววันนี้จานละ30-35แล้ว หลังจากนี้อาจจะจานละ50บาทซึ่งใกล้เคียงสิงคโปร์เข้าไปทุกที ถามนิดสิงคโปร์ระบบเศรษฐ์กิจเขามั่งคงมาก เขาก้อกินข้าวจานละ75บาทได้แต่ไทยเราต่างกันโดยสิ้นเชิง แล้วถ้าคุณเป็นพ่อค้าแล้วมีลูกน้องเยอะๆๆแล้วต้องจ่ายค่าแรง300บาท มันก้อแน่นอนที่เขาต้องเพิ่มราคาสินค้าไปด้วยเพราะต้นทุนสูงขึ้น แล้วถามนิดน่ะเงินที่เพิ่มมาเพียงนิดหน่อยจาก200ต้นๆมา300บาท มันจะคุ้มไหมกับที่คุณต้องซื้อของใช้ทุกอย่าง ทุกอย่างเลยในราคาที่สูงขึ้นทุกประเภทกับเงินที่เพิ่มขึ้นมาไม่กี่บาทเท่านั้นเอง ลองคิดเอาเองละกัน ที่จริงมันต้องปรับค่าแรงให้สมดุลกับความเป็นจริงแล้วรัฐบาลมีหน้าที่ทำยังไงที่จะส่งเสริมต้นทุกการผลิตของภาคเอกชนให้ลดลงรวมทั้งควมคุมราคาสินค้าให้อยู่ในราคาที่เหมาะสมและแท้จริงไม่ใช่ปล่อยให้มีการปั่นราคาไปเรื่อยๆๆ เช่นเนื้อหมู ต้องไปคุมที่ราคาค่าอาหารสัตว์ไม่ใช่มาแก้ปลายทางที่ไปสั่งให้ตรึงราคาค่าหมู มันจะตรึงไปได้สักนานเท่าไร แต่ถ้ามาแก้ที่ค่าอาหารสัตว์นี่สิราคามันจะลงมาทันที เหนื่อยใจจิงๆๆ

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
Guest
นะฮะ
เรทกระทู้
« ตอบ #36 เมื่อ: 19 ก.ค. 11, 08:08 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
โดย คนบาป
พม่า 401 $ / ปี ตกวันละ 401*30/312 = 38.55 บาท
กัมพูชา 672 $ / ปี ตกวันละ 672*30/312 = 64.61 บาท
ลาว 1,057 $ / ปี ตกวันละ 1057*30/312 = 101.63 บาท
เวียดนาม 1,002 $ / ปี ตกวันละ 1002*30/312 = 96.34 บาท
ฟิลิปปินส์ 2,053 $ / ปี ตกวันละ 2053*30/312 = 197.40 บาท
อินโดนิเซีย 2,103 $ / ปี ตกวันละ 2103*30/312 =202.21 บาท
มาเลเซีย 4,735 $ / ปี ตกวันละ 4735*30/365 = 455.28 บาท

ไทย 2,293 $ / ปี ตกวันละ (2293*30)/312 = 220.48 บาท

*** ทำงาน 6 วันต่อสัปดาห์หรือประมาณ 312 วัน ต่อปี ***

ในวิกิฯ บอกเปอร์เซ็นต์ต่อ GDP เฉลี่ยด้วยน่าจะนำมาถกกันด้วยนะครับ
เพราะเลขที่เราพูดเป็นเลขที่อ้างอิงกับอัตราแลกเปลี่ยน นั่นคือมีผลของเศรษฐกิจแต่ละประเทศด้วย แต่รายรับต่อ GDP เฉลี่ยต่อคน จะบอกสถานะของผู้ใช้แรงงานเทียบกับ คนสายอาชีพอื่นในประเทศนั้น ๆ จะเห็นว่าถ้าเทียบกับ GDP รายรับของผู้ใช้แรงงาน ของประเทศไทยต่ำมาก นั่นคืออาชีพผู้ใช้แรงงานมีรายได้ต่ำกว่าอาชีพอื่นๆ มากเกินไป เทียบกับกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาด้วยกัน.
q*031q*032q*033q*039q*076q*073q*072q*070q*069
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
Guest
แรงงาน
เรทกระทู้
« ตอบ #37 เมื่อ: 19 ก.ค. 11, 10:33 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ลองคิดเล่นๆนะครับ
ค่าแรงขั้นต่ำขณะนี้คิดไปวันละ 230 บาทเท่ากับ 6,900 บาท
ค่าใช้จ่ายแต่ละวัน
ค่าเดินทางมาทำงานไปกลับวันละ 30 บาท เท่ากับ 900 บาท
ค่าข้าว 3 มื้อ(ข้างราด2อย่างหรือก๋วยเตี๋ยว) 90 บาท เท่ากับ 2,700 บาท
ค่าเช่าห้อง 2,500 บาท
รวมทั้งเดือนมีค่าใช้จ่าย 6,100 บาท เหลือจ่าย 800 บาท
ซึ่งจำนวนนี้ยังไม่รวมค่าผงซักฟอก,สบู่,ยาสีฟัน ซึ่งจำเป็น
หากคุณตัวคนเดียวก็โชคดีไปพออยู่เลี้งแค่ตัวเองได้แต่ถ้ามีพ่อแม่ต้องเลี้ยงดูแล้วนั้นคงลำบากมาก ส่วนคนที่มีเงินเดือนสูงอยู่แล้วคงไม่เดือดร้อนเท่าไหร่ การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำนั้นผมเห็นด้วยหากมีการขึ้นจริงควรที่จะออกกฏหมายควบคุมราคาสินค้ารวมทั้งราคาอาหาร(อาหารตามสั้งหรือแม้กระทั้งก๋วยเตี๋ยวเอง)ส่วนจะอ้างเรื่องน้ำมันนั้นควรจะต้องดูให้ละเอียดเพราะรถที่ขนส่งวัดถุดิบนั้นส่วนมากจะใช้แก็สทั้งนั้น

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
Guest
วอลเปอร์
เรทกระทู้
« ตอบ #38 เมื่อ: 22 ก.ค. 11, 21:51 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

คนมีเงินเดือนก็หัดเห็นใจคนอื่นบ้าง อย่าเป็นเดือดเป็นร้อนแทนเจ้าสัวหรือผู้ประกอบการมากนัก อย่าทำนาบนหลังคนบาปกรรมเปล่าๆ จะขึ้นบ้างยึกยักๆเวลาท่านจะขึ้นอ้างนั่นอ้างนี่แอบขึ้นบ้างก็มี ลักเป็ดลักไก่ก็มี เอาเปรียบโลก หลักการเยอะ

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
Guest
รักประเทศไทย
เรทกระทู้
« ตอบ #39 เมื่อ: 29 ก.ค. 11, 00:12 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ดูรัฐบาลใหม่ทำงานก่อนไหมครับ ว่าทำได้จริงดังว่าหรือไม่..ในฐานะที่ประชาชนคนส่วนใหญ่เลือกเข้ามาตามกระบวนการของระบอบประชาธิปไตย ตอนนี้อย่าพึงเอาเป็นเอาตายกันครับ..555 ปรองดองครับปรองดอง

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
Tags:  

หน้า: 1

 
ตอบ

ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:  
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม