หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: นายกฯ แถลงสรุปผลทัวร์แก้น้ำท่วม  (อ่าน 78 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 17 ก.พ. 12, 14:57 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 

สรุปผลการติดตามการแก้ไขปัญหาอุทกภัย และการบริหารจัดการน้ำ ในพื้นที่ต้นน้ำ-กลางน้ำ-ปลายน้ำ ของนายกรัฐมนตรี



หลังจากคณะกรรมการ กยน. ได้กำหนดยุทธศาสตร์ และแผนแม่บทของการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ โดยมีสาระสำคัญคือ

- น้ำต้องมีที่อยู่

- น้ำต้องมีที่ไป

- ประชาชนต้องได้รับการดูแล

- พื้นที่ชุมชน เศรษฐกิจสำคัญ ทั้งระดับจังหวัดและระดับประเทศต้องได้รับการป้องกัน

- พื้นที่เกษตรกรรม-ทุ่งรับน้ำ (แก้มลิง) ที่อยู่นอกพื้นที่ป้องกัน รวมทั้งพื้นที่ที่นำมาใช้ผันน้ำหลาก (Floodway) จะต้อง ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม



นายกรัฐมนตรีได้นำคณะรัฐมนตรี คณะกรรมการ กยน. ลงพื้นที่เพื่อติดตามการแก้ไขปัญหาอุทกภัย และการบริหารจัดการน้ำ ตั้งแต่พื้นที่ต้นน้ำ กลางน้ำ จนถึงปลายน้ำ ระหว่างวันที่ 13-17 กุมภาพันธ์ 2555 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ

1) ติดตามงานการแก้ไขปัญหาตามแผนงานและโครงการที่ได้รับอนุมัติงบประมาณ รวมทั้งการฟื้นฟู เยียวยา การช่วยเหลือครัวเรือนที่ประสบอุทกภัย

2) ทำความเข้าใจร่วมกับส่วนราชการในพื้นที่ (Area) และส่วนราชการในระดับกระทรวง/กรม (Function) เกี่ยวกับแผนการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม และการบริหารจัดการน้ำตามที่ กยน. กำหนดทั้งระยะเร่งด่วน และระยะยั่งยืน

3) รับฟังความเห็น และข้อเสนอแนะของประชาชนในพื้นที่ เพื่อนำไปปรับปรุงและอนุมัติแผนงานและโครงการเพิ่มเติมให้สมบูรณ์ (FlagShip)



ทั้งนี้ได้แบ่งกลุ่มการติดตามงานตามแผนแม่บทออกเป็น 4 กลุ่มพื้นที่ รวม 31 จังหวัด ประกอบด้วย

1) พื้นที่ต้นน้ำ ประกอบด้วยพื้นที่ 10 จังหวัด คือ เชียงใหม่ เชียงราย สุโขทัย อุตรดิตถ์ ตาก น่าน แพร่ ลำปาง ลำพูน และพะเยา

2) พื้นที่กลางน้ำตอนบน ประกอบด้วยพื้นที่ 6 จังหวัด คือ พิษณุโลก นครสวรรค์ อุทัยธานี พิจิตร กำแพงเพชร และชัยนาท

3) พื้นที่กลางน้ำตอนล่าง ประกอบด้วยพื้นที่ 8 จังหวัด คือ สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา ปราจีนบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง ลพบุรี สระบุรี และนครนายก

4) พื้นที่ปลายน้ำ ประกอบด้วยพื้นที่ 7 จังหวัด คือ นนทบุรี สมุทรสาคร สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา นครปฐม ปทุมธานี และกรุงเทพมหานคร



พื้นที่ต้นน้ำ

พื้นที่ต้นน้ำได้ติดตามงาน และมอบหมายภารกิจให้หน่วยงานปฏิบัติ ประกอบด้วย

1) โครงการพระราชดำริ และการดูแลป่าต้นน้ำ การปลูกป่า ฝายแม้ว การรักษาระบบนิเวศ โดยมอบให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กำหนดพื้นที่ปลูกป่าเพื่อปรับปรุงระบบนิเวศในลุ่มน้ำ ปิง วัง ยม น่าน สะแกกรัง และป่าสัก รวมพื้นที่ประมาณ 330,000 ไร่ กำหนดให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จใน 3 เดือน โดยให้บูรณาการร่วมกับ กระทรวงมหาดไทย สำนักงาน กปร. และกองทัพไทย ดังนี้

- มูลนิธิปิดทองหลังพระ กำหนดพื้นที่ปลูกป่าในพื้นที่ชุมชนตามโครงการแม่ฟ้าหลวง และมูลนิธิปิดทองหลังพระ

- สำนักงาน กปร. กำหนดพื้นที่ปลูกป่า ในพื้นที่ชุมชนโครงการหลวง

- กองทัพไทย กำหนดพื้นที่ปลูกป่า ตามแนวชายแดน

- กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประสานกระทรวงมหาดไทย กำหนดพื้นที่ปลูกป่า ในพื้นที่สูงและมีชุมชนอาศัยอยู่



2) การพัฒนาคลังข้อมูล ระบบพยากรณ์และเตือนภัย ได้มอบหมายให้ รองนายกฯ ยงยุทธ และ รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เร่งดำเนินการเชื่อมโยงระบบข้อมูลทุกหน่วยงานให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน โดยกำหนดให้มี 3 เครื่องมือสำคัญ คือ

- ศูนย์ข้อมูลการจัดการน้ำแห่งชาติ ทำหน้าที่เชื่อมโยงระบบข้อมูลทุกหน่วยราชการ เป็นคลังข้อมูล และติดตามสถานการณ์แบบ Real-Time โดยการติดตั้งกล้อง CCTV

- ระบบศูนย์เตือนภัย มีการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงาน จัดทำระบบคาดการณ์แบบจำลองสถานการณ์และเตือนภัยในเชิงพื้นที่ มีระบบแจ้งเตือนภัยผ่าน Smart Phone, Internet และ Social Media รวมทั้งมีศูนย์รับแจ้งข้อมูล (Call Center) เชื่อมโยงเครือข่ายสื่อกระจายข่าวหมู่บ้าน และมีการประชาสัมพันธ์โดยสื่อต่างๆ ทั้ง โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ และ Website ในช่วงเวลาที่เหมาะสม

- พัฒนาระบบช่วยในการตัดสินใจ (Decision Support System)



3) การบริหารจัดการน้ำในเขื่อน

- ให้ปรับปรุงเกณฑ์การบริหารน้ำ (Rule Curve) ของเขื่อนใหญ่ทั้ง 33 แห่ง โดยให้มีความสมดุลในช่วงฤดูฝนและแล้ง ซึ่งต้องพิจารณาถึงน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค การป้องกันบรรเทาอุทกภัย การรักษาระบบนิเวศ การเกษตร การอุตสาหกรรม ควบคู่กันไปให้เหมาะสม

- เขื่อนสำคัญที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อ ลุ่มน้ำเจ้าพระยา เช่น เขื่อนภูมิพล และสิริกิติ์ ได้ปรับเกณฑ์การบริหารจัดการ (Rule Curve) ใหม่ โดยให้มีปริมาณน้ำต่ำสุดอยู่ที่ 45% ซึ่งจะทำให้ ปี 2555 เขื่อนทั้ง 2 แห่ง สามารถรับน้ำได้ 12,000 ล้าน ลบ.ม. มากกว่า ปี 2554 ถึง 5,000 ล้าน ลบ.ม.



พื้นที่กลางน้ำ

ได้ติดตามงานและมอบหมายภารกิจให้หน่วยงานปฏิบัติ ประกอบด้วย

1) ตามยุทธศาสตร์สำคัญที่ต้องดำเนินการในพื้นที่กลางน้ำทั้งตอนบนและตอนล่าง คือการหาที่อยู่ให้น้ำ การจัดหาทุ่งรับน้ำ (แก้มลิง) ให้สามารถเก็บกักน้ำได้ประมาณ 5,000 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งต้องใช้พื้นที่ประมาณ 2 ล้านไร่ เป็นพื้นที่เกษตรกรรม และทุ่งรับน้ำธรรมชาติ โดยหลีกเลี่ยงพื้นที่ชุมชน ที่อยู่อาศัย ให้มีผลกระทบน้อยที่สุด จากการลงพื้นที่ในครั้งนี้ สามารถจัดหาพื้นที่แก้มลิง โดยการบูรณาการร่วมกันทุกหน่วยงาน ได้ดังนี้

- พื้นที่กลางน้ำตอนบน 6 จังหวัด หาพื้นที่ทุ่งเหนือนครสวรรค์ได้แล้ว 500,000 ไร่ เช่นพื้นที่อำเภอชุมแสง อำเภอบางมูลนาก ฯลฯ รับน้ำได้ประมาณ 1,850 ล้าน ลบ.ม. และได้มอบหมายให้ทุกจังหวัดในพื้นที่เร่งดำเนินการจัดหาพื้นที่เพิ่มเติมให้ได้ประมาณ 1,000,000 ไร่ โดยจะต้องให้เกิดผลกระทบต่อชุมชน ที่อยู่อาศัย น้อยที่สุด

- พื้นที่กลางน้ำตอนล่าง 8 จังหวัด สามารถหาพื้นที่ทุ่งรับน้ำใต้นครสวรรค์ได้แล้ว ประมาณ 1 ล้านไร่ เช่นพื้นที่รับน้ำทุ่งบางบาล เป็นต้น รับน้ำได้ประมาณ 3,100 ล้าน ลบ.ม.

รวมพื้นที่แก้มลิงที่จัดหาได้ในปัจจุบัน ประมาณ 1.5 ล้านไร่ สามารถรองรับน้ำได้ประมาณ 4,900 ล้าน ลบ.ม.



และได้มอบหมายให้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงคมนาคม ดำเนินการจัดทำแผนและโครงการโดยด่วน โดยให้ กยน. เป็นผู้กำกับติดตาม และรายงานผลการดำเนินงานให้ทราบเป็นระยะ



อ่านเพิ่มเติม

http://news.voicetv.co.th/pmtour/31186.html




noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า

กระทู้ฮอตในรอบ 7 วัน

Tags:
Tags:  

หน้า: 1

 
ตอบ

ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:  
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม