Sanook.commenu

ค้นหา ตรวจหวย ข่าว อีเมล์ ดูทีวีออนไลน์ ฟังเพลงออนไลน์ คลาสสิฟายด์ ริงโทน เกมส์ ดูทั้งหมด »

สนุก! เว็บบอร์ด > หมวดหมู่ > ชุมชนสนุก! > ร่วมเทิดไท้องค์ราชันย์ > เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตร์
หน้า: 1 2 3 4 5 6 7 8 9 ... 31
ชนิดกระทู้ ผู้เขียน เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตร์  (อ่าน 16333 ครั้ง)
add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตร์
        ความคิดเห็นที่ #45: 17 ก.ค. 12, 13:00 น

บารมีไพศาล ปกบ้านคุ้มเมือง พืชพันธุ์ประเทือง อาหารสมบูรณ์ 

 
add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตร์
        ความคิดเห็นที่ #46: 18 ก.ค. 12, 08:32 น

“ความสุขความเจริญ  ที่แท้จริง  อันควรหวังนั้นเกิดขึ้นจากการกระทำ  และความประพฤติที่เป็นธรรมมีลักษณะสร้างสรรค์ คือ  อำนวยผลที่เป็นประโยชน์ ทั้งแก่ตัว แก่ผู้อื่น ตลอดถึงประเทศชาติโดยส่วนรวมด้วย”

add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตร์
        ความคิดเห็นที่ #47: 18 ก.ค. 12, 08:33 น

“ต้องมีวินัย มีความขยันพากเพียร มีความกล้าหาญ อดทน  และมีสติยั้งคิดอย่างสูง และสูง    และต้องรักษาความสุจริตไว้ให้มั่นคงทุกเมื่อ ไม่ว่าจะอยู่ในสภาวะ และ สถานการณ์ใด ๆ”

add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตร์
        ความคิดเห็นที่ #48: 18 ก.ค. 12, 08:34 น

“จะต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง เที่ยงตรง และสมบูรณ์  เพื่อให้บังเกิดเฉพาะสิ่งที่เป็นคุณประโยชน์แก่บ้านเมือง และประชาชน”

add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตร์
        ความคิดเห็นที่ #49: 18 ก.ค. 12, 08:35 น

“ความซื่อสัตย์  สุจริต  เป็นพื้นฐานของความดีทุกอย่างเด็ก ๆ  จึงต้องฝึกฝนอบรมให้เกิดมีขึ้นในตนเอง  เพื่อจักได้เติบโตขึ้นเป็นคนดีมีประโยชน์  และมีชีวิตที่สะอาด   สะอาดที่เจริญมั่นคง”

add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตร์
        ความคิดเห็นที่ #50: 18 ก.ค. 12, 08:35 น

“เมื่อพบอุปสรรคใด ๆ  อย่าเพิ่งท้อแท้  และหมดกำลังใจง่าย ๆ  จงตั้งใจทำให้ดี  คิดหาหนทางที่จะแก้ไขผ่อนคลาย อุปสรรคต่าง ๆ ด้วยเหตุผลและหลักวิชาไตร่ตรอง  ด้วยความสุขุมรอบคอบ  และเยือกเย็น งานก็จะลุล่วงไปด้วยดี”

add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตร์
        ความคิดเห็นที่ #51: 18 ก.ค. 12, 08:36 น

“ความสุขความเจริญ  อันแท้จริงนั้น  หมายถึง  ความสุขความเจริญที่บุคคลแสวงหามาได้ด้วยความเป็นธรรม  ทั้งในเจตนา  และการกระทำไม่ใช่ได้มาด้วยบังเอิญ  หรือด้วยการแก่งแย่งเบียดบังมาจากผู้อื่น”

add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตร์
        ความคิดเห็นที่ #52: 18 ก.ค. 12, 08:36 น

“การที่จะทำงานให้สัมฤทธิ์ผลที่พึงปรารถนา คือ  ที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรมด้วยนั้น  จะต้องอาศัยความรู้เพียงอย่างเดียวมิได้   จำเป็นจะต้องอาศัยความสุจริตด้วยความบริสุทธิ์ใจ และความถูกต้องเป็นธรรมประกอบด้วย”

add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตร์
        ความคิดเห็นที่ #53: 19 ก.ค. 12, 09:51 น

“ความมีใจจริงที่ขาดไม่ได้ในการทำงานมีสองประการ หนึ่งคือ  ความจริงใจต่อผู้ร่วมงานซึ่งมีลักษณะประกอบด้วย ความซื่อตรง เมตตา หวังดี พร้อมเสมอที่จะร่วมมือช่วยเหลือ และส่งเสริมกันทุกขณะ และในฐานะที่เป็นเพื่อนมนุษย์ ร่วมชาติร่วมโลกกัน ประการที่สอง ได้แก่ความจริงใจต่องานมีลักษณะเป็นการตั้งสัตย์อธิษฐาน  หรือการตั้งใจจริงที่จะทำงานในให้เต็มกำลัง”

add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตร์
        ความคิดเห็นที่ #54: 19 ก.ค. 12, 09:54 น

“ต้องมีวินัย มีความขยันพากเพียร มีความกล้าหาญ อดทน  และมีสติยั้งคิดอย่างสูง และสูง    และต้องรักษาความสุจริตไว้ให้มั่นคงทุกเมื่อ ไม่ว่าจะอยู่ในสภาวะ และ สถานการณ์ใด ๆ”

add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตร์
        ความคิดเห็นที่ #55: 19 ก.ค. 12, 09:55 น

“จะต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง เที่ยงตรง และสมบูรณ์  เพื่อให้บังเกิดเฉพาะสิ่งที่เป็นคุณประโยชน์แก่บ้านเมือง และประชาชน”

 
add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตร์
        ความคิดเห็นที่ #56: 19 ก.ค. 12, 09:56 น

“ตราบใดที่ชาวไทยมีความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน  ร่วมแรงร่วมใจกันเพื่อประเทศชาติแล้ว ชาติก็ได้รอดพ้นจากภัยพิบัติ  สู่ความเจริญแต่คราวใด ที่ขาดความสามัคคีกลมเกลียวกันก็ต้องปฏิบัติหน้าที่ให้ดีที่สุด”

add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตร์
        ความคิดเห็นที่ #57: 19 ก.ค. 12, 09:57 น

“ประเทศของเรารักษาเอกราชอธิปไตย  และอิสรภาพให้สมบูรณ์มั่นคง มาได้จนถึงทุกวันนี้  เพราะคนไทยทุกหมู่เหล่ารู้รักสามัคคี  และรู้จักหน้าที่ของแต่ละฝ่ายให้ประสานส่งเสริมกัน เมื่อทุกคนมุ่งใจปฏิบัติดังนี้  ความถูกต้องเรียบร้อยความพัฒนาก้าวหน้า  และความมั่นคง  เป็นปึกแผ่นจึงบังเกิดขึ้น”

add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตร์
        ความคิดเห็นที่ #58: 19 ก.ค. 12, 09:59 น

“เทคโนโลยี  นั้นโดยหลักการ   คือการทำให้สิ่งที่มีอยู่ให้เกิดเป็นสิ่งที่นำมาใช้ประโยชน์ได้ ดังนั้น  เทคโนโลยี ที่ดีสมบูรณ์ จึงควรจะสร้างสิ่งที่จะใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า และมีความสูญเปล่า หรือเสียหายที่เกิดขึ้นน้อยที่สุด”

add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตร์
        ความคิดเห็นที่ #59: 19 ก.ค. 12, 10:02 น

ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน

add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตร์
        ความคิดเห็นที่ #60: 20 ก.ค. 12, 07:44 น

๑.“ให้เป็นคนที่มั่นคง ในสัตย์ สุจริต และความถูกต้องตามทำนองครองธรรม ไม่ปล่อยให้ความสุจริตยุติธรรมถูกย่ำยีให้มั่วหมองได้”

๒ “สำนึกถึงหน้าที่ ต้องตั้งใจกระทำการให้สมบูรณ์ และเหนี่ยวแน่น ด้วยความ สุจริต บริสุทธิ์ใจด้วยความสามัคคีปรองดองไม่แก่งแย่งชิงดีกัน”

๓ “ทุกวันนี้คนทั่วไปนิยมยินดีอย่างมาก  ในความคิดและการกระทำโดยอิสรเสรี เด็กได้ส่งเสริม และสั่งสอนให้นำไปคิดอย่างอิสระ การมีเสรีภาพนั้นเป็นเป็นของดีอย่างยิ่ง   แต่เมื่อจะใช้จำเป็นจะต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง  และความรับผิดชอบมิให้ล่วงละเมิดเสรีภาพของผู้อื่น  ที่เขาก็มีอยู่เท่าเทียมกัน ทั่งมิได้กระทบกระเทือน ถึงสวัสดิภาพ และความปรกติสุขของส่วนรวมด้วย มิฉะนั้นจะทำให้มีแต่ความยุ่งยาก  จะทำให้สังคมและชาติประเทศต้องแตกสลายจนสิ้นเชิง”

๔ “ขอให้ท่านทั้งหลาย  แต่ละคนกระทำสัตย์สัญญาแก่ตนเองว่า  จะตั้งใจปฏิบัติตัวปฏิบัติงานให้ดีที่สุดตามหน้าที่ และความสามารถของตน  จะนำความคิดเห็น  ให้เที่ยงตรง  และกระจ่างแจ่มใส  จะเอื้อเฟื้อช่วยเหลือกันด้วยความหวังดี และช่วยเหลือ เพื่อให้เกิดความรักความสามัคคีที่แท้จริงในชาติไทยขึ้นเป็นกำลังอันกล้าแข็งและมั่นคง  สำหรับสร้างสรรค์  ความดีความเจริญทุก ๆ  ประการให้เต็มบริบูรณ์ เพื่อทำให้ชาติประเทศของเรายืนยง อยู่ได้ตลอดไปด้วยวัฒนาผาสุก”

๕ “การทำงานใหญ่  ๆ  ทุกอย่างต้องการเวลามากกว่าจะทำสำเร็จผู้ที่เริ่มโครงการอาจไม่ทันทำให้สำเร็จ  โดยตลอดด้วยตนเองก็ได้   ต้องมีผู้อื่นรับทำต่อไป ดังนั้นไม่ควรยกเอาเรื่องใคร  เป็นผู้ริเริ่มงาน  ใครเป็นผู้รับช่วงงาน ขึ้นเป็นข้อสำคัญนัก จะต้องถือผลสำเร็จที่จะเกิดจากงานเป็นใหญ่”

add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตร์
        ความคิดเห็นที่ #61: 23 ก.ค. 12, 12:14 น

๑ “คุณธรรมข้อหนึ่งที่ยังมีอยู่อย่างบริบูรณ์ในจิตใจของคนไทยก็คือการให้นี้ว่าจะ  ให้สิ่งใดแก้ผู้ใด โดยสภาพใดก็ตาม เป็นสิ่งที่พึงประสงค์อย่างยิ่ง  เพราะเป็นเครื่องประสานไมตรีอย่างสำคัญระหว่างบุคคล และทำให้สังคมมีความมั่นคงเป็นปึกแผ่นด้วยสามัคคีธรรม”

๒. “อาชีพของในหลวง  เมื่อผู้แทนพระองค์ไปติดต่อเอกสารสำคัญใด ๆ  ทรงโปรดให้กรอกในช่องอาชีพของพระองค์ว่า  ทำราชการ”

๓. “ถ้าประเทศทั้งปวงยกย่องนับถือกันโดยบริสุทธิ์ใจ  และช่วยกันเกื้อกูลกันและกันโดยพร้อมพรักแล้ว ก็เชื่อได้ว่าจะเกิดความเข้าใจกัน และกันอย่างแท้จริงพร้อม ทั้งความร่วมมือกันฉันมิตรอย่างแน่นแฟ้นขึ้นได้ แล้วความสงบสุข อิสรภาพ เสถียรภาพอันเสมอหน้า และก็เกิดขึ้นทุกแห่งหน ในโลกดังที่ทุกคนปรารถนา”

๔. “ป่าชายเลนมีประโยชน์  ต่อระบบนิเวศน์ของพื้นที่ชายฝังทะเล  และอ่าวไทย  แต่ปัจจุบัน ป่าชายเลนของประเทศไทยของเรากำลังถูกบุกรุก  และถูกทำลายลงไปโดยผู้แสวงหาประโยชน์ส่วนตัว  จึงควรหาหนทางป้องกัน อนุรักษ์  และขยายพันธุ์เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะด้านโครงการ  เป็นป่าไม้ชายเลนที่แปลกและขยายพันธุ์ค่อนข้างยาก เพราะต้องอาศัยระบบน้ำขึ้นลงในการเจริญเติบโต”

๕. “ในหลวงเริ่มพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรก   เมื่อปี  พ.ศ.๒๔๙๓  ต่อมาจึงมีผู้คำนวณว่า    พระองค์ท่านทรงพระราชทานปริญญาบัตร  จำนวน  ๔๙๐  ครั้ง  ประทับครั้งละประมาณ  ๓  ชั่วโมงทรงยื่นพระหัตถ์พระราชทาน  จำนวน   ๔๗๐,๐๐๐  ครั้ง  น้ำหนักปริญญาบัตรฉบับละ  ๓  ขีด  รวมน้ำหนักทั้งหมด  จำนวน  ๑๔๑  ตัน”

add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตร์
        ความคิดเห็นที่ #62: 24 ก.ค. 12, 11:19 น

๑ “การแบ่งการศึกษาเป็นสองอย่าง คือ การศึกษาวิชาการอย่างหนึ่ง วิชาการนั้นจะเป็นประโยชน์แก่ตัวเอง  และบ้านเมือง ถ้ามาใช้ต่อไปเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว  อีกอย่างหนึ่ง ขั้นที่สอง คือ  ความรู้ที่จะเรียกธรรม คือรู้ในการวางตัว ประพฤติและคิด วิธีคิด วิธีที่จะใช้สมองมาทำประโยชน์แก่ตัว สิ่งที่ธรรมหมายถึง วิธีประพฤติปฏิบัติคนที่ศึกษาในทางวิชาการ และการศึกษาในทางธรรมก็ต้องมีปัญญา แต่ผู้ใช้ความรู้ในทางวิชาการทางเดียว และไม่ใช้ความรู้ในทางธรรม จะนับว่าเป็นปัญญาชนมิได้”

 ๒. “การศึกษานั้นเป็นเรื่องของทุกคน   และไม่ใช่ว่าเฉพาะในระยะหนึ่ง เป็นหน้าที่โดยตรงในระยะเดียวไม่ใช่อย่างนั้น ตั้งแต่เกิดมาก็ต้องศึกษาเติบโตขึ้นมาก็ต้องศึกษา จนกระทั่งถึงขั้นที่เรียกว่าอุดมศึกษา อย่างที่ท่านทั่งหลาย กำลังศึกษาอยู่ หมายความว่า การศึกษาที่ครบถ้วน ที่บริบูรณ์ แต่ต่อไปเมื่อออกไปทำหน้าที่การงานก็ต้องศึกษาต่อไปเหมือนกัน มิฉะนั้นคนเราก็อยู่ไม่ได้ แม้จบปริญญาเอกแล้ว ก็ต้องศึกษาต่อไปตลอด หมายความว่า  การศึกษาไม่มีสิ้นสุด”

๓. “ในการปฏิบัติหน้าที่ให้ลุล่วงไปด้วยดีนั้น นอกจากต้องใช้ความรู้ความสามารถแล้วยังต้องเป็นผู้มีจิตใจสูง มีศีลธรรม มีสติสัมปชัญญะประพฤติแต่ในสิ่งที่ชอบที่ควร วางตนให้สมเกียรติเป็นผู้ที่ควรแก่การนับถือ”

๔. “อนาคตของชาติทุกชาติย่อมขึ้นอยู่แก่เด็ก  เพราะเด็กก็คือผู้ใหญ่ในเวลาข้างหน้า   ถ้าบุคคลได้รับการอบรมบ่มนิสัยให้เป็นพลเมืองดีอยู่ในศีลในธรรม เคารพต่อบทกฎหมายของบ้านเมืองเสียตั้งแต่ยังเยาว์ เมื่อเติบโตขึ้นพลเมืองของประเทศก็จะมีแต่คนดี และประเทศจะเจริญก้าวหน้าต่อไปได้ ก็โดยต้องมีพลเมืองดีดั่งว่านี้ ข้าพเจ้าจึงมีความพอใจที่รัฐบาลของข้าพเจ้าได้มีความสนใจในปัญหาเกี่ยวกับการที่เด็ก และเยาวชนกระทำความผิด และพยายามคิดหาทางที่จะอบรมบุคคลเหล่านี้ให้กลับตนเป็นพลเมืองดี”

add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตร์
        ความคิดเห็นที่ #63: 25 ก.ค. 12, 12:25 น

๑. “เพราะความรู้ความคิดอันกว้างขวางนั้น หากมิได้ใช้โดยเหมาะสมถูกต้องแล้ว ก็ให้ผลดีได้ไม่มากนัก หรืออาจจะทำให้เกิดผลเสียหายก็เป็นได้ เพราะฉะนั้นทุกคนควรสังวรระวังให้มาก ขอให้ตั้งเจตนาอันมั่นคง ที่จะสร้างสรรค์และอบรมกำลังกายกำลังใจ อันสมบูรณ์ไว้เป็นหลักฐาน เพียรพยายามใช้ความฉลาดรอบคอบและสุจริตวินิจฉัยปัญหา และสถานการณ์ต่าง ๆ ให้เป็นไปโดยถูกต้อง นำความรู้ความคิดของตน ๆ ที่มีอยู่มาเชื่อมโยงเข้ากันให้พร้อมเพรียง ประสมประสานความรู้ความคิดนั้นด้วยเหตุผลและวิจารณญาณ แล้วนำออกใช้ให้ได้ผล กล่าวคือแก้ไขเปลี่ยนแปลงจุดที่บกพร่อง ส่งเสริมจุดที่ดีให้มั่นคงยิ่งขึ้น”

๒. “ผู้ที่ทำงานให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวมย่อมเป็นคุณแก่ตนด้วย  ผู้ที่ทำงานโดยเห็นแก่ตัวเบียดเบียนประโยชน์ส่วนรวม  ย่อมบ่อนทำลายความมั่นคงของชาติ และที่สุดก็จะเอาตัวไม่รอด ข้าราชการทุกคนจึงต้องทำงานทุกอย่าง ด้วยสติสำนึกหน้าที่ ที่จะต้องปฏิบัติเพื่อส่วนรวมอยู่เสมอ”

๓. “การปฏิบัติราชการนั้น  นอกจากมุ่งกระทำเพื่อให้งานสำเร็จไปโดยเร็ว  และมีประสิทธิภาพแล้ว  ยังจะต้องกระทำด้วยสติรู้ตัว  และปัญหารู้คิด ว่าสิ่งใดเป็นความเจริญ สิ่งใดเป็นความเสื่อม อะไรเป็นสิ่งที่จะต้องทำอะไรเป็นสิ่งที่ต้องละเว้นหรือกำจัด ผลที่เกิดขึ้นจะเป็นประโยชน์ที่แท้ และยั่งยืนทั้งแก่ตนเอง   และส่วนรวม”

๔. “ข้าราชการผู้ปฏิบัติงานของแผ่นดิน จะต้องรู้ตระหนักแน่นในการเสียสละอันได้แก่สละสำคัญสองประการ  คือสละประโยชน์ส่วนรวมที่ยิ่งใหญ่   และเหนือกว่าประโยชน์ส่วนตัวประการหนึ่ง กับสละความคิดจิตใจที่ต่ำทรามต่าง ๆ อีกประการหนึ่ง จึงจะเป็นที่เชื่อถือไว้วางใจของคนทั้งปวง และสามารถดำรงตำแหน่ง  หน้าที่ อย่างมีเกียรติ  และความเจริญมั่นคงตลอดไป”

add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตร์
        ความคิดเห็นที่ #64: 26 ก.ค. 12, 10:22 น

๑. “ในครั้งนี้อยากจะแนะข้อคิดอันหนึ่ง ซึ่งเป็นทางแห่งความเจริญคือการพิจารณา การพิจารณานั้นเป็นการหยุดยั้งชั่งใจก่อนที่จะปฏิบัติการใดลงไป เสมือนกับได้ปรึกษากับตนเองก่อน ถ้าหากทำสิ่งใดโดยมิได้พิจารณาแล้วก็อาจ จะตกเป็นเหยื่อแห่งอารมณ์บังเกิดความประมาทขึ้น อันจะเป็นผลเสียหายแก่กิจการนั้น ๆ ได้”

๒. “แม้จะเป็นผู้ที่มีการศึกษาสูงเพียงใด ถ้าบกพร่องต่อการประมาณตนในทางปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ วิชาต่าง ๆ  ที่ได้เล่าเรียนมาจนสำเร็จนั้นก็ไร้ประโยชน์  ไม่สามารถจะนำความเจริญมาสู่ตน  และประเทศชาติ   สมดังความปรารถนา” 

๓. “ข้าราชการไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งใด  ระดับไหนมีหน้าที่อย่างไร  ล้วนแต่มีส่วนสำคัญอยู่ในงานของแผ่นดินทั้งสิ้น  ทุกคนทุกฝ่าย  จึงไม่ควรถือตัวแบ่งแยกกัน  หากต้องยกย่องนับถือให้เกียรติกัน ให้การปฏิบัติบริหารงานของแผ่นดินดำเนินไปอย่างมีเอกภาพ   และได้ผลที่พึงประสงค์สมบูรณ์พร้อมทุกส่วน”

๔. “ผู้ปฏิบัติราชการ จำเป็นต้องรู้วิทยาการ รู้งาน   และรู้ดี รู้ชั่ว อย่างกระจ่างชัด  จึงจะสามารถปฏิบัติบริหารงาน  ในความรับผิดชอบให้ถูกต้องตามเป้าหมาย  และสัมฤทธิ์ผลที่เป็นประโยชน์เป็น ความเจริญที่แท้จริง และยั่งยืน ทั้งแก่ตนเอง และส่วนรวม”

๕. “หลักของคุณธรรม  คือ  การคิดด้วยจิตใจที่เป็นกลาง  ก่อนจะพูดจะทำสิ่งไรจำเป็นต้องหยุดคิดเสียก่อน เพื่อรวบรวมสติให้ตั้งมั่น และให้จิตใจสว่างแจ่มใสซึ่งเมื่อฝึกหัดจนคุ้นเคยชำนาญแล้ว จะกระทำได้คล่องแคล่ว  ช่วยให้สามารถแสดงความรู้  ความคิด ในเรื่องต่างๆ ให้ผู้ฟังเข้าใจได้ง่ายได้ชัด ไม่ผิดหลักวิชา ทั้งหลักคุณธรรม”

add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตร์
        ความคิดเห็นที่ #65: 27 ก.ค. 12, 06:29 น

๑. ไทยเรามีสถาบันพระมหากษัตริย์  ทรงเป็นประมุขปกครองประเทศมาช้านาน  ทรงเป็นศูนย์รวมดวงใจของคนทั้งชาติ


๒. พระองค์ทรงเป็นพระมหาบพิตรที่สถิตในดวงใจของปวงประชา


๓. พระองค์ทรงเป็นผู้นำตามแนวพระราชดำริ  ให้เจริญรอยตามเบื้องพระยุคคลบาทด้วยเศรษฐกิจพอเพียง


๔. ร้อยรัดดวงใจเพื่อเทิดไท้องค์ราชัน ที่พระองค์ทรงฝ่าฟันให้ไทยนั้นได้ร่มเย็น


๕. กษัตริย์ ผู้ทรงธรรม พระมหากรุณาธิคุณปกเกล้าฯ ชาวไทย


๖. ทรงเป็นทุกลมหายใจ ของปวงประชาราษฎร ขอจงทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน


๗. ตามรอยเบื้องพระยุคลบาท จะขอเป็นข้าพระบาททุกชาติไป


๘. จากความแห้งแล้งกลับกลายมาชุ่มชื้น  จากผืนทรายกลับกลายเป็นดิน  ด้วยพระบารมีของทั้ง สองพระองค์


๙. ในหลวงพระองค์ทรงงานหนักและเหนื่อยเพื่อราษฎรของพระองค์ให้เป็นสุข

๑๐. ในหลวงพระองค์ทรงงาน หนักและเหนื่อย เพื่อราษฎรของพระองค์ให้เป็นสุข

๑๑. กษัตริย์ ผู้ทรงธรรม พระมหากรุณาธิคุณปกเกล้าฯ ชาวไทย


๑๒. ทรงเป็นทุกลมหายใจ ของปวงประชาราษฎร ขอจงทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน


๑๓. ตามรอยเบื้องพระยุคลบาท จะขอเป็นข้าพระบาททุกชาติไป


๑๔. รวมใจภักดิ์ รัก ในหลวง


๑๕. พระมหากษัตริย์ ที่พรั่งพร้อมด้วย ทศพิธราชธรรม

add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตร์
        ความคิดเห็นที่ #66: 30 ก.ค. 12, 09:38 น

๑. “การใช้จ่ายโดยประหยัดนั้น จะเป็นหลักประกันความสมบูรณ์พูนสุขของผู้ประหยัดเองและครอบครัว ช่วยป้องกันความขาดแคลนในวันข้างหน้า การประหยัดดังกล่าวนี้ จะมีผลดีไม่เฉพาะแก่ผู้ประหยัดเท่านั้น ยังจะเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติด้วย”

๒. “ประเพณีทั้งหลายย่อมมีประโยชน์ในการดำเนินชีวิตของคนแต่ละคน เรามีประเพณีของชาติไทยเป็นสมบัติ เราควรยินดีอย่างยิ่งและช่วยกันส่งเสริมรักษาไว้เพื่อความเจริญก้าวหน้าของประเทศ”

๓. “ความรู้จักอดทนและอดกลั้น ไม่ยอมตัวยอมใจให้วู่วามไปตามเหตุการณ์ตามอคติและอารมณ์ที่ชอบใจ หรือไม่ชอบใจนั้น ทำให้เกิดมีการยั้งคิดและธรรมดาคนเรา เมื่อยั้งคิดได้แล้ว ย่อมมีโอกาสที่จะพิจารณาเรื่องที่ทำ คำที่พูด ทบทวนดูใหม่ได้อีกคำรบหนึ่ง การพิจารณาทบทวนเรื่องใดๆใหม่ ย่อมจะช่วยให้มองเห็นละเอียดชัดเจนขึ้น ทำให้เกิดความเข้าใจอันกระจ่างสว่างไสวขึ้น”

๔. “การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น    ต้องสร้างพื้นฐานคือ    ความพอมีพอกิน  พอใช้  ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและใช้อุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชา เมื่อได้พื้นฐานมั่นคงพร้อมพอควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างเสริมความเจริญและฐานะเศรษฐกิจชั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป”

๕. “ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดที่เป็นอยู่แก่เราในวันนี้ ย่อมมีต้นเรื่องมาก่อน ต้นเรื่องนั้นคือเหตุ สิ่งที่ได้รับคือผล และผลที่ท่านมีความรู้อยู่ขณะนี้ จะเป็นเหตุให้เกิดผลอย่างอื่นต่อไปอีก ดังนั้นที่พูดกันว่าให้พิจารณาเหตุผลให้ดีนั้น กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ให้พิจารณาการกระทำหรือ กรรมของตนให้ดีนั่นเอง”

add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตร์
        ความคิดเห็นที่ #67: 31 ก.ค. 12, 09:10 น

๑. “การทำความดีนั้น สำคัญที่สุดอยู่ที่ตัวเอง ผู้อื่นไม่สำคัญและไม่มีความจำเป็นอันใดที่จะต้องเป็นห่วงหรือต้องรอคอยเขาด้วย เมื่อได้ลงมือลงแรงกระทำแล้วถึงแม้จะไม่มีใครร่วมมือด้วยหรือไม่ก็ตาม ผลดีที่จะต้องเกิดขึ้นแน่นอน”

๒. “ความบังคับตนเองนั้นเกิดขึ้นได้จากความรู้สึกระลึกได้ว่า อะไรเป็นอะไรหรือเรียกสั้นๆ ว่า สติ กล่าวคือ ก่อนที่บุคคลจะทำ จะพูด หรือแม้แต่จะคิดเรื่องต่างๆ สติหรือความรู้สึกระลึกได้นั้นจะทำให้หยุดคิดว่า สิ่งที่จะทำนั้นผิดชอบชั่วดีอย่างไร จะมีผลเสียหายหรือจะเป็นประโยชน์อย่างไรต่อไปในระยะยาว”

๓. “การดำเนินชีวิตที่ดีจะต้องปรับปรุงตัวตลอดเวลา การปรับปรุงตัวจะต้องมีความเพียรและความอดทนเป็นที่ตั้ง ถ้าคนเราไม่หมั่นเพียร ไม่มีความอดทนก็อาจจะท้อใจไปโดยง่าย เมื่อท้อใจไปแล้วไม่มีทางที่จะมีชีวิตเจริญรุ่งเรืองแน่ๆ”

๔. “คุณธรรมที่ทุกคนควรจะศึกษาและน้อมนำมาปฏิบัติ ประการแรกคือ การรักษาความสัตย์ ความจริงใจต่อตัวเองที่จะประพฤติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรม”

๕. “การใช้หลักวิชาหรือใช้ทฤษฎีให้เกิดประโยชน์ได้แท้จริงนั้น จะต้องใช้ให้ถูกต้อง และสอดคล้องพอเหมาะ พอดี กับความเป็นอยู่ ความคิด ความเชื่อ และวัฒนธรรม ตามสภาพที่เป็นจริงในภาคพื้นต่างๆ”

๖. “ความซื่อสัตย์สุจริตเป็นพื้นฐานของความดีทุกอย่าง เด็กๆ จึงต้องฝึกฝน อบรมให้เกิดมีขึ้นในตนเองเพื่อจัดได้เติบโตขึ้นเป็นคนดีมีประโยชน์และมีชีวิตที่สะอาด ที่เจริญมั่นคง”

add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตร์
        ความคิดเห็นที่ #68: 1 ส.ค. 12, 08:54 น

๑. “การจะเป็นเสือนั้นไม่สำคัญ   สำคัญอยู่ที่เรามีเศรษฐกิจแบบพอมีพอกิน   แบบพอมีพอกินนั้นหมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้  ให้มีพอเพียงกับตัวเอง  อันนี้ก็เคยบอกว่าความพอเพียงนี้ไม่ได้หมายความว่าทุกครอบครัวจะต้องผลิตอาหารของตัว  จะต้องทอผ้าใส่เอง  อย่างนั้นมันเกินไปแต่ว่าในหมู่บ้านหรือในอำเภอจะต้องมีความพอเพียงพอสมควร  บางสิ่งบางอย่างที่ผลิตได้มากกว่าความต้องการก็ขายได้    แต่ขายในที่ไม่ห่างไกลเท่าไหร่ ไม่ต้องเสียค่าขนส่งมากนัก    อย่างนี้ท่านนักเศรษฐกิจต่าง ๆ   ก็มาบอกว่าล้าสมัย   จริงอาจจะล้าสมัย   คนอื่นเข้าต้องมีเศรษฐกิจที่ต้องแลกเปลี่ยน   เรียกว่าเศรษฐกิจการค้า   ไม่ใช่เศรษฐกิจความพอเพียงเลยรู้สึกว่าไม่หรูหรา  แต่เมืองไทยเป็นประเทศที่มีบุญอยู่ว่า  ผลิตให้พอเพียงได้”

๒. “คนเราถ้าพอในความต้องการ   ก็มีความโลภน้อย   เมื่อมีความโลภน้อยก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย    ถ้าทุกประเทศมีความคิดคิดอันนี้ไม่ใช่เศรษฐกิจ      มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง    หมายความว่าพอประมาณ ไม่สุดโต่ง  ไม่โลภอย่างมาก  คนเราก็อยู่เป็นสุข”

๓. “จะทำโครงการอะไร    ก็ต้องนึกถึงขนาดที่เหมาะสมกับที่เรียกว่าอัตภาพ    หรือกับสิ่งแวดล้อม  ฉะนั้นการที่จะทำโครงการอะไร  จะต้องทำด้วยความรอบคอบและอย่าตาโตเกินไป”

๔. “คนเราถ้าพอในความต้องการ  ก็มีความโลภน้อย  เมื่อมีความโลภน้อย  ก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย   ถ้าทุกประเทศมีความคิด  –  อันนี้ไม่ใช่เศรษฐกิจ – มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง   หมายความว่า พอประมาณไม่สุดโต่ง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข  พอเพียงนี้อาจจะมีมาก อาจมีของหรูหราก็ได้  แต่ว่าต้องไม่เบียดเบียนคนอื่น  ต้องให้พอประมาณตามอัตภาพ  พูดจาก็พอเพียง ทำอะไรก็พอเพียง  ปฏิบัติตนก็พอเพียง”

add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตร์
        ความคิดเห็นที่ #69: 6 ส.ค. 12, 08:47 น

๑. “ทั้งหมดนี้ พูดอย่างนี้ก็คือ เศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง เศรษฐกิจพอเพียงที่ได้ย้ำแล้วย้ำอีกแปลเป็นภาษาอังกฤษว่า SUFFICIENCY ECONOMY ใครต่อใครก็ต่อว่า ว่าไม่มี SUFFICIENCY ECONOMY แต่ว่าเป็นคำใหม่ของเราก็ได้ ก็หมายความว่า ประหยัด แต่ไม่ใช่ขี้เหนียว ทำอะไรด้วยความอะลุ้มอล่วยกัน ทำอะไรด้วยเหตุและผล จะเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแล้วทุกคนจะมีความสุขแต่พอเพียง”

๒. “อันนี้เคยบอกว่า ความพอเพียงนี้ไม่ได้หมายความว่าทุกครอบครัวจะต้องผลิตอาหารของตัว  จะต้องทอผ้าใส่เองอย่างนั้นมันเกินไป  แต่ว่าในหมู่บ้านหรือในอําเภอจะต้องมีความพอเพียงพอสมควร บางสิ่งบางอย่างที่ผลิตได้มากกว่าความต้องการก็ขายได้ แต่ขายในที่ ไม่ห่างไกลเท่าไหร่ ไม่ต้องเสียค่าขนส่งมากนัก”

๓. “การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือความพอดีพอกิน  พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน   โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัด   แต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานมั่นคงพร้อมพอควร และปฏิบัติได้แล้ว  จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญ  และฐานะเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป  หากจะมุ่งสร้างแต่ความเจริญยกเศรษฐกิจขึ้นให้รวดเร็วแต่ประการเดียว  โดยไม่ให้แผนปฏิบัติการสัมพันธ์กับสภาวะของประเทศ  และประชาชนโดยสอดคล้องด้วยก็จะเกิดไม่สมดุล  ในเรื่องต่าง ๆ  ขึ้น ซึ่งอาจกลายเป็นความยุ่งอยากล้มเหลวได้ในที่สุด ดังเห็นได้ดังที่อารยประเทศ กำลังประสบปัญหาเศรษฐกิจอย่างรุนแรง  อยู่ในวันนี้”

๔. “เศรษฐกิจพอเพียง   เป็นเสมือนรากฐานของชีวิต   รากฐานความมั่นคงของแผ่นดิน เปรียบเสมือนเสาเข็มที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือนตัวอาคารไว้นั่นเอง  สิ่งก่อสร้างจะมั่นคงได้ก็อยู่ที่เสาเข็ม  แต่คนส่วน มากมองไม่เห็นเสาเข็ม  และลืมเสาเข็มซะด้วยซ้ำไป”

add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตร์
        ความคิดเห็นที่ #70: 7 ส.ค. 12, 11:04 น

๑. “ในการทำเศรษฐกิจทฤษฎีใหม่ต้องทำอย่างช้า ๆ  และใช้ระยะเวลา ค่อย ๆ  ทำไปทีละขั้น  และต้องมีการวางแผน   เตรียมความพร้อมในทุก ๆ  ด้าน  ไม่ว่าจะเป็นที่ดิน  ที่จะใช้ทำเศรษฐกิจทฤษฎีใหม่ โดยมีการจัดสรรที่ดินออกเป็น  4  ส่วน  ดังนี้

                                      ส่วนที่ 1  ร้อยละ  30  ของที่ทำกินใช้ขุดสระน้ำไว้ให้มีน้ำใช้ตลอดปี

                                      ส่วนที่ 2  ร้อยละ  30  ของที่ทำกินใช้สำหรับทำนาปลูกข้าวไว้กินเองในครอบครัว

                                      ส่วนที่ 3  ร้อยละ  30  ของที่ทำกินใช้สำหรับปลูกพืชสวนและพืชไร่ไว้เป็นอาหาร

ในครอบครัว

                                      ส่วนที่ 4  ร้อยละ  10  ของที่ทำกินใช้สำหรับเป็นที่อยู่อาศัย และเลี้ยงสัตว์

การแบ่งที่ดินนี้เป็นเพียงตัวอย่าง   อาจเพิ่มหรือลดได้บ้างตามความเหมาะสมของพื้นทีหรือตามความเหมาะสมของที่ดินทำกินที่มากหรือน้อยกว่านี้”

๒. “ช่วยกันรักษาส่วนรวมให้อยู่ดีกินดีพอสมควรขอย้ำพอสมควร  พออยู่พอกิน  มีความสงบไม่ให้คนอื่นมาแย่งคุณสมบัตินี้จากเราไปได้  ก็จะเป็นของขวัญวันเกิดที่ถาวรที่จะมีคุณค่าอยู่ตลอดกาล”

๓. “ผู้ที่จะรักษาความเป็นไทยได้มั่นคงที่สุด  ดีและเหมาะสมที่สุด  ไม่มีใครอื่นนอกจากคนไทย  เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะอยู่  ณ  แห่งใดคนไทยมีหน้าที่ต้องรักษาความเป็นไทย  ได้เสมอ”

๔. “เราทุกคนเกิดมาได้ชื่อว่าเป็นคนไทย   เลือดเนื้อเชื้อชาติไทย   เพื่อตอบแทนบุญคุณแผ่นดินไทยและบรรพบุรุษไทย  คนไทยควรรักและสามัคคีกัน   เพื่อความสงบสุขของประเทศไทยและจะดำรงความเป็นไทยอยู่ได้ตลอดไป”

๕. “การทำงานร่วมกับผู้อื่นนั้น ที่จะให้เป็นไปโดยราบรื่น ปราศจากปัญหาข้อขัดแย้ง ย่อมเป็นไปได้ยาก เพราะคนจำนวนมากย่อมมีความคิดความต้องการที่แตกต่างกันไป มากบ้างน้อยบ้าง ท่านจะต้องรู้จักอดทนและอดกลั้น ใช้ปัญญา ไม่ใช้อารมณ์ ปรึกษากัน และโอนอ่อนผ่อนตามกันด้วยเหตุผล โดยถือว่าความคิดที่แตกต่างกันนั้น มิใช่เหตุที่จะทำให้เป็นข้อขัดแย้ง โต้เถียง เพื่อเอาแพ้เอาชนะกัน แต่เป็นเหตุสำคัญที่จะช่วยให้เกิดความกระจ่างแจ้ง ทั้งในวิถีทางและวิธีการปฏิบัติงาน”

๖. “เป็นความจริงอยู่โดยธรรมดา      ที่บุคคลในสังคมนั้นย่อมมีอัชฌาสัยจิตใจแตกต่างเหลื่อมล้ำกันเป็นหลายระดับ ขึ้นอยู่กับพื้นฐานภูมิธรรมของตน บางคนก็มีความคิดจิตใจสูง มีความประพฤติปฏิบัติดีงาม เป็นคุณเป็นประโยชน์อยู่แล้วเป็นปกติ   แต่บางคนก็ไม่สามารถจะทำเช่นนั้นได้   เพราะยังไม่เห็นคุณค่าของการปฏิบัติดี   จึงมักก่อปัญหาให้เกิดแก่สังคมคนเรานั้น   สำคัญอยู่ที่ควรจะได้ปรารภปรารถนาที่จะพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นเป็นลำดับ เพื่อให้ชีวิตเป็นสุข และเจริญรุ่งเรือง”

add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตร์
        ความคิดเห็นที่ #71: 9 ส.ค. 12, 09:45 น

๑. “การทำงานด้วยน้ำใจรัก    ต้องหวังผลงานนั้นเป็นสำคัญ    แม้จะไม่มีใครรู้ใครเห็นก็ไม่น่าวิตก   เพราะผลสำเร็จนั้นจะเป็นประจักษ์พยานที่มั่นคง    ที่พูดเช่นนี้เหมือนกับสอนให้ปิดทองหลังพระ   การปิดทองหลังพระนั้น  เมื่อถึงคราวจำเป็นก็ต้องปิดว่าที่จริงแล้วคนโดยมากไม่ค่อยชอบปิดทองหลังพระกันนัก  เพราะนึกว่าไม่มีใครเห็น แต่ถ้าทุกคนพากันปิดทองแต่ข้างหน้าไม่มีใครปิดทองหลังพระเลย  พระจะเป็นพระที่งามบริบูรณ์ไม่ได้”

๒. “คนเราถ้าพอในความต้องการ  ก็มีความโลภน้อย  เมื่อมีความโลภน้อยก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าทุกประเทศมีความคิดอันนี้ไม่ใช่เศรษฐกิจ มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่า พอประมาณ ไม่สุดโต่ง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข”

๓. “ช่วยกันรักษาส่วนรวมให้อยู่ดีกินดีพอสมควรขอย้ำพอสมควร พออยู่พอกิน มีความสงบไม่ให้คนอื่นมาแย่งคุณสมบัตินี้จากเราไปได้ ก็จะเป็นของขวัญวันเกิดที่ถาวรที่จะมีคุณค่าอยู่ตลอดกาล”

๔. “บ้านเมืองของเรากำลังต้องปรับปรุงและพัฒนาที่มีประสิทธิภาพ     ทางที่เราจะช่วยกันได้ก็คือ   การทำความคิดให้ถูก    และแน่วแน่ในอันที่จะยึดถือประโยชน์ของบ้านเมืองเป็นที่หมายต้องเพลาคิดถึงประโยชน์เฉพาะตัว  และความขัดแย้งกันในสิ่งที่มิใช่สาระลง”

๕. “ในการปฏิบัติราชการนั้น  ขอให้ทำหน้าที่เพื่อหน้าที่อย่านึกถึงบำเหน็จรางวัล  หรือผลประโยชน์ให้มาก   ขอให้ถือว่าการทำหน้าที่ได้สมบูรณ์เป็นทั้งรางวัลและประโยชน์อย่างประเสริฐ   จะทำให้บ้านเมืองของเราอยู่เป็นสุขและมั่นคง”

๖. “การทำงานร่วมกับผู้อื่นนั้น ที่จะให้เป็นไปโดยราบรื่น ปราศจากปัญหาข้อขัดแย้ง ย่อมเป็นไปได้ยาก เพราะคนจำนวนมากย่อมมีความคิดความต้องการที่แตกต่างกันไป มากบ้างน้อยบ้าง ท่านจะต้องรู้จักอดทนและอดกลั้น ใช้ปัญญา ไม่ใช้อารมณ์ ปรึกษากัน และโอนอ่อนผ่อนตามกันด้วยเหตุผล โดยถือว่าความคิดที่แตกต่างกันนั้น มิใช่เหตุที่จะทำให้เป็นข้อขัดแย้ง โต้เถียง เพื่อเอาแพ้เอาชนะกัน แต่เป็นเหตุสำคัญที่จะช่วยให้เกิดความกระจ่างแจ้ง ทั้งในวิถีทางและวิธีการปฏิบัติงาน”

๗. “เป็นความจริงอยู่โดยธรรมดา      ที่บุคคลในสังคมนั้นย่อมมีอัชฌาสัยจิตใจแตกต่างเหลื่อมล้ำกันเป็นหลายระดับ ขึ้นอยู่กับพื้นฐานภูมิธรรมของตน บางคนก็มีความคิดจิตใจสูง มีความประพฤติปฏิบัติดีงาม เป็นคุณเป็นประโยชน์อยู่แล้วเป็นปกติ   แต่บางคนก็ไม่สามารถจะทำเช่นนั้นได้   เพราะยังไม่เห็นคุณค่าของการปฏิบัติดี   จึงมักก่อปัญหาให้เกิดแก่สังคมคนเรานั้น   สำคัญอยู่ที่ควรจะได้ปรารภปรารถนาที่จะพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นเป็นลำดับ เพื่อให้ชีวิตเป็นสุข และเจริญรุ่งเรือง”

๘. “ปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับสภาวะแวดล้อม อันเนื่องมาจากมลพิษ หรือความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นในที่หนึ่งที่ใดก็ตาม ย่อมส่งผลกระทบต่อเนื่องไปถึงที่อื่นๆ ด้วยเหตุนี้ทุกคนทุกประเทศในโลกจึงย่อมมีส่วนรับผิดชอบอยู่ด้วยกัน   ทั้งในการแก้ไข ลดปัญหา    และปรับปรุงสร้างเสริมสภาวะแวดล้อมให้กลับคืนมาสู่สภาพอันจะเอื้อต่อการมี ชีวิตอยู่อย่างเป็นสุขของตนเองและเพื่อนมนุษย์”

add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตร์
        ความคิดเห็นที่ #72: 10 ส.ค. 12, 09:16 น

๒.๓.๑ “ชาติบ้านเมืองประกอบด้วยนานาสถาบัน   อันเปรียบได้กับอวัยวะทั้งปวง   ที่ประกอบ
กันขึ้นเป็นชีวิตร่างกาย   ชีวิตร่างกายดำรงอยู่ได้   เพราะอวัยวะใหญ่น้อยทำงานเป็นปรกติพร้อมกันอย่างไร ชาติบ้านเมืองก็ดำรงอยู่ได้  เพราะสถาบันต่างๆ  ตั้งมั่นและปฏิบัติหน้าที่ของตนโดยพร้อมมูลอย่างนั้น”
                         ๒.๓.๒ “คุณธรรมข้อหนึ่งที่ยังอยู่อย่างบริบูรณ์ในจิตใจของคนไทยก็คือ การให้ การให้นี้ไม่ว่าจะให้สิ่งใด แก่ผู้ใด โดยสถานใดก็ตาม เป็นสิ่งที่พึ่งประสงค์อย่างยิ่ง เพราะเป็นเครื่องประสานไมตรีอย่างสำคัญระหว่างบุคคล และให้สังคมมีความมั่นคงเป็นปึกแผ่นด้วยสามัคคีธรรม” 
          ๒.๓.๓ “สังคมใดก็ตาม ถ้ามีความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน   ด้วยความมุ่งดีมุ่งเจริญต่อกัน   สังคมนั้นย่อมเต็มไปด้วยไมตรีจิต มิตรภาพ  มีความร่มเย็นเป็นสุข  น่าอยู่”
          ๒.๓.๔ “การงานทุกอย่างทุกอาชีพ    ย่อมจะมีจรรยาบรรณของตนเอง    จรรยาบรรณนั้นจะบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ตาม  แต่เป็นสิ่งที่ยึดถือกันว่าเป็นความดีงาม  ที่คนอาชีพนั้นพึงประพฤติปฏิบัติหากผู้ใดล่วงละเมิด  ก็อาจก่อให้เกิดความเสียหาย  ทั้งแก่บุคคลหมู่คณะและส่วนรวมได้”
          ๒.๓.๕ “บ้านเมืองของเรากำลังต้องการการปรับปรุงและการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพ  ทางที่เราจะช่วยกันได้ก็คือ การที่ทำความคิดให้ถูกและแน่วแน่ในอันที่จะยึดถือประโยชน์ของบ้านเมืองเป็นที่หมายต้องเพลาการคิดนึกถึงประโยชน์เฉพาะตัวและความขัดแย้งกันในสิ่งที่มิใช่สาระลง”

Guest
กองบัญชาการช่วยรบที่ 4
 

ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตร์
        ความคิดเห็นที่ #73: 14 ส.ค. 12, 13:45 น

๑. “ถ้าทุกคนสนใจในความรักประเทศชาติ รักษาความดีเอาไว้ ไม่ต้องไปตามอย่างในสิ่งที่เราเห็น ว่าไม่น่าที่จะเจริญไม่น่าจะพัฒนา เราต้องรักษาแนวทางความคิดตามที่เรามีอยู่ แม้จะเป็นสิ่งที่ตกทอดมาแต่โบราณกาลจากปู่ย่าตายายของเรา แต่เป็นระเบียบการหรือเป็นวิธีการที่ดี จะไม่ล้าสมัย”

๒. “ขอให้ทุกคนระลึกว่าปัญหาทุกอย่างมีทางที่จะแก้ไข   ถ้าแก้คนเดียวไม่ได้ก็ช่วยกันคิดช่วยกันแก้ หลาย ๆ คน หลาย ๆ  ทางด้วยความร่วมมือปรองดองกัน  ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นจักได้ไม่กลายเป็นอุปสรรคขัดขวาง  และบั่นทอนทำลายความเจริญและความสำเร็จของการงาน”

๓. “ความเจริญของประเทศชาติ เป็นความเจริญส่วนรวม ซึ่งเกิดจากผลงานหรือผลของการกระทำของคนทั้งชาติ ถือได้ว่าทุกคนแบ่งหน้าที่กันทำประโยชน์ให้แก่ชาติ ตามความถนัดและความสามารถ และเกื้อกูลกันและกัน ไม่มีผู้ใดจะอยู่ได้และทำงานให้แก่ประเทศชาติได้โดยลำพังตนเอง”

๔. “คุณธรรม ๔ ประการ คือ   ๑. ทุกคนคิด พูด ทำ ด้วยความเมตตา มุ่งดี มุ่งเจริญต่อกัน  ๒. ประการที่สอง แต่ละคนต่างช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ประสานประโยชน์กัน ให้งานที่ทำสำเร็จผล ทั้งแก่ตน แก่ผู้อื่น และแก่ประเทศชาติ  ๓. ประการที่สาม ทุกคนประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในความสุจริต ในกฎ และในระเบียบแบบแผนโดยเท่าเทียมเสมอกัน  ๔. ประการที่สี่ ต่างคนต่างพยายามทำความคิดของตนเองให้ถูกต้องเที่ยงตรง และมั่นคงอยู่ในเหตุในผล”

๕. “ผู้ที่จะรักษาความเป็นไทยได้มั่นคงที่สุด ดีและเหมาะสมที่สุด ไม่มีใครอื่นนอกจากคนไทย เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะอยู่ ณ แห่งใด คนไทยมีหน้าที่ต้องรักษาความเป็นไทย ได้เสมอ”

add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตร์
        ความคิดเห็นที่ #74: 14 ส.ค. 12, 13:50 น

๑. “ถ้าทุกคนสนใจในความรักประเทศชาติ รักษาความดีเอาไว้ ไม่ต้องไปตามอย่างในสิ่งที่เราเห็น ว่าไม่น่าที่จะเจริญไม่น่าจะพัฒนา เราต้องรักษาแนวทางความคิดตามที่เรามีอยู่ แม้จะเป็นสิ่งที่ตกทอดมาแต่โบราณกาลจากปู่ย่าตายายของเรา แต่เป็นระเบียบการหรือเป็นวิธีการที่ดี จะไม่ล้าสมัย”


๒. “ขอให้ทุกคนระลึกว่าปัญหาทุกอย่างมีทางที่จะแก้ไข ถ้าแก้คนเดียวไม่ได้ก็ช่วยกันคิดช่วยกันแก้ หลาย ๆ คน หลาย ๆ ทางด้วยความร่วมมือปรองดองกัน ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นจักได้ไม่กลายเป็นอุปสรรคขัดขวาง และบั่นทอนทำลายความเจริญและความสำเร็จของการงาน”


๓. “ความเจริญของประเทศชาติ เป็นความเจริญส่วนรวม ซึ่งเกิดจากผลงานหรือผลของการกระทำของคนทั้งชาติ ถือได้ว่าทุกคนแบ่งหน้าที่กันทำประโยชน์ให้แก่ชาติ ตามความถนัดและความสามารถ และเกื้อกูลกันและกัน ไม่มีผู้ใดจะอยู่ได้และทำงานให้แก่ประเทศชาติได้โดยลำพังตนเอง”


๔. “คุณธรรม ๔ ประการ คือ ๑. ทุกคนคิด พูด ทำ ด้วยความเมตตา มุ่งดี มุ่งเจริญต่อกัน ๒. ประการที่สอง แต่ละคนต่างช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ประสานประโยชน์กัน ให้งานที่ทำสำเร็จผล ทั้งแก่ตน แก่ผู้อื่น และแก่ประเทศชาติ ๓. ประการที่สาม ทุกคนประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในความสุจริต ในกฎ และในระเบียบแบบแผนโดยเท่าเทียมเสมอกัน ๔. ประการที่สี่ ต่างคนต่างพยายามทำความคิดของตนเองให้ถูกต้องเที่ยงตรง และมั่นคงอยู่ในเหตุในผล”


๕. “ผู้ที่จะรักษาความเป็นไทยได้มั่นคงที่สุด ดีและเหมาะสมที่สุด ไม่มีใครอื่นนอกจากคนไทย เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะอยู่ ณ แห่งใด คนไทยมีหน้าที่ต้องรักษาความเป็นไทย ได้เสมอ”

add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตร์
        ความคิดเห็นที่ #75: 15 ส.ค. 12, 08:45 น

๑. “ความสามัคคี  เป็นคุณธรรมสําคัญประการหนึ่งซึ่งหมูชนอยูรวมกันจําเป็นต้องมีต้องถนอมรักษาและต้องนํามาใชอยูสม่ำเสมอ     ถ้าแต่ละฝ่ายเข้ามาร่วมกันทํางานด้วยความตั้งใจดีด้วยความสามัคคีความรู้ความสามารถ  และด้วยความคิดที่สร้างสรรค์งานก็สําเร็จสมบูรณงดงามตามประสงคทุกอย่าง”

๒. “สามัคคีหรือการปองดองกัน  ไม่ได้หมายความว่าคนหนึ่งพูดอย่างหนึ่ง  คนอื่นต้องพูดเหมือนกันหมด  ลงท้ายชีวิตก็ไม่มีความหมาย  ต้องมีความแตกต่างกัน  แต่ต้องทำงานให้สอดคล้องกัน”

๓. “บ้านเมืองของเรากำลังต้องการการปรับปรุงและการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพ   ทางที่เราจะช่วยกันได้ก็คือ   การที่ทำความคิดให้ถูกและแน่วแน่   ในอันที่จะยึดถือประโยชน์ของบ้านเมืองเป็นที่หมาย  ต้องเพลาการคิดถึงประโยชน์เฉพาะตัว  และความขัดแย้งกันในสิ่งที่มิใช่สาระลง”

๔. “การมีเสรีภาพนั้น เป็นของที่ดีอย่างยิ่ง แต่เมื่อจะใช้ จำเป็นต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง และความรับผิดชอบ มิให้ล่วงละเมิดเสรีภาพของผู้อื่นที่เขามีอยู่เท่าเทียมกัน ทั้งมิให้กระทบกระเทือนถึงสวัสดิภาพและความเป็นปกติสุขของส่วนรวมด้วย”

๕. “ในการปฏิบัติราชการนั้น ขอให้ทำหน้าที่เพื่อหน้าที่ อย่านึกถึงบำเหน็จรางวัลหรือผลประโยชน์ให้มาก ขอให้ถือว่าการทำหน้าที่ได้สมบูรณ์ เป็นทั้งรางวัลและประโยชน์อย่างประเสริฐ จะทำให้บ้านเมืองไทยของเราอยู่เย็นเป็นสุขและมั่นคง”

๖. “ความคิดนั้นเป็นแม่บทใหญ่ของการพูดและการกระทำ เพราะกิจที่จะทำคำที่จะพูดทุกอย่างล้วนสำเร็จมาจากความคิด การคิดก่อนพูดและก่อนทำจึงช่วยให้บุคคลสามารถยับยั้งคำพูดที่ไม่สมควร หยุดยั้งการกระทำที่ไม่ถูกต้อง”

๗. “คนไม่มีความสุจริต   คนไม่มีความมั่นคง   ชอบแต่มักง่าย   ไม่มีวันจะสร้างสรรค์ประโยชน์ส่วนรวมที่สำคัญอันใดได้    ผู้ที่มีความสุจริตและความมุ่งมั่นเท่านั้น    จึงจะทำงานสำคัญยิ่งใหญ่ที่เป็นคุณประโยชน์แท้จริงได้สำเร็จ”

๘. “การดำรงชีวิตที่ดีจะต้องปรับปรุงตัวตลอดเวลา การปรับปรุงตัวจะต้องมีความเพียรและความอดทนเป็นที่ตั้ง  ถ้าคนเราไม่หมั่นเพียรไม่มีความอดทนก็อาจจะท้อใจไปโดยง่าย เมื่อท้อใจไปแล้ว ไม่มีทางที่จะมีชีวิตเจริญรุ่งเรืองแน่ๆ”

๙. “สัจจะวาจา  นั้นเป็นรากฐานของการทำงาน   หรือการดำรงชีวิตที่ดีที่งามที่มีความ ก้าวหน้า มีความสำเร็จ  “สัจ”  เป็นการตั้งใจ ตั้งจิตใจ  “วาจา”  เป็นคำพูดออกมา  แสดงถึงคำพูดนั้นต้องออกมาจากใจ คือเป็นการตั้งใจที่จะทำอะไรเพื่อความสำเร็จในงานนั้น”

๑๐. “การดำเนินชีวิตโดยใช้วิชาการอย่างเดียวยังไม่เพียงพอ จะต้องอาศัยความรู้รอบตัวและหลักศีลธรรมประกอบด้วย ผู้ที่มีความรู้ดีแต่ขาดความยั้งคิด นำความรู้ไปใช้ในทางมิชอบ ก็เท่ากับเป็นบุคคลที่เป็นภัยแก่สังคมของมนุษย์”

add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตร์
        ความคิดเห็นที่ #76: 16 ส.ค. 12, 10:49 น

1.ปวงชนชาวไทย ศรัทธาในความห่วงใยของพระองค์ ขอจงทรงพระเจริญ

2. หนทางจะกันดารลำบากยากแค้นแดนไกลสักปานใดก็ตาม พระองค์ไม่ทรงเคยย่อท้อเพื่อชาวไทย

3. การกระทำความดีเสมอ พึงละเว้นการทำชั่วเพื่อพ่อของเรา

4. สานใจให้ชาติรุ่ง  สานใจให้ชาติเจริญ  แล้วรวมใจเป็นหนึ่งเพื่อพ่อของเราเอง

5. ในหลวงพระองค์ทรงไม่ละทิ้งประชาชนของพระองค์ แม้พระองค์จะทรงงานหนักและเหนื่อยมานาน

6. ยามวิกฤติพ่อช่วยไว้ ยามทุกข์ใจพ่อปลอบขวัญ นิจนิรันดร์

7. ชาติไทยเรืองนาม ด้วยพระปรีชาสามารถของกษัตริย์ไทย

8. พระบิดาผู้มีแต่ให้โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน

9. ผองข้าฯขออภิวาท แทบเบื้องบาทพระองค์ท่าน  ขอพระองค์ทรงพระเกษมสำราญยิ่งยืนนาน

10. น้ำพระทัย มอบให้ปวงประชา ชุ่มฉ่ำทั่วผืนฟ้าและแผ่นดิน

11. " สยามยังอยู่ คู่มิ่งขวัญปวงชน เพราะมีในหลวงเสียสละเพื่อประชา "

12. สร้างคนให้เป็นปึกแผ่น..เหมือนใจของพระองค์ท่านที่แข็งแกร่งที่คอยรวมใจปวงชนชาวไทย

add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตร์
        ความคิดเห็นที่ #77: 17 ส.ค. 12, 09:20 น

๑. แหลมทองจะเป็นไฟหากชาติไทยไร้ราชัน จะมีแต่ฆ่าฟันเพื่อห้ำหั่นแย่งชิงดี

๒. ราชันราชินีบารมีคู่แผ่นดิน หากแม้นไทยเราสิ้นจะสูญสิ้นแผ่นดินธรรม

๓. สถาบันหลักของชาติไทยเป็นมรดกมาจากบรรพบุรุษของเรา

๔. ธงชาติไทยมี ๓ สี แต่ละสีมีความหมาย ช่วยไทยรักสามัคคี

๕. แม้แต่โจรยังรักในหลวง แล้วเราเป็นใครล่ะจะไม่รักหรือ

๖. เราคงสิ้นแผ่นดินถิ่นอาศัย หากสิ้นชาติ สิ้นศาสน์ สิ้นกษัตริย์

๗. ชาติไทยผ่านพ้นวิกฤตมาหลายคราด้วยพระบารมีของล้นเกล้า

๘. ความจงรักภักดีต่อสถาบันอันสูงสุด ถือว่าเป็นหน้าที่หนึ่งของคนไทยทุกคน

๙. ผู้ใดกระทำให้สถาบันหลักของชาติสั่นคลอน เสียหาย ผู้นั้นไม่สมควรมีชีวิตยืนอยู่บนผืนดินไทย

๑๐. พระองค์ทรงเป็นผู้นำตามแนวพระราชดำริ ให้เจริญรอยตามเบื้องพระยุคคลบาทด้วยเศรษฐกิจพอเพียง

๑๑. พระองค์ทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทยทั้งชาติ

๑๒. พระองค์ทรงเป็นมหาราชปกครองแผ่นดินโดยธรรม

๑๓. ความจงรักภักดีต่อสถาบันอันสูงสุด ถือว่าเป็นหน้าที่หนึ่งของคนไทยทุกคน

๑๔. พระบารมีอันแผ่ไพศาล ย่อมบริบาลผู้ที่มีความจงรักภักดีตลอดไป

๑๕. ผู้ใดคิดร้ายทำลายชาติจะพินาศจนสิ้นดี ผู้ใดจงรักภักดีจะสวัสดีศรีมงคล

๑๖. บรรพบุรุษท่านต่อสู้กอบกู้ชาติ ศาสน์ ราชัน แล้วเราเป็นใครกันไม่รักษาให้จงดี

๑๗. ผู้ใดกระทำให้สถาบันหลักของชาติสั่นคลอน เสียหายผู้นั้นไม่สมควรมีชีวิตยืนอยู่บนผืนดินไทย

add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตร์
        ความคิดเห็นที่ #78: 22 ส.ค. 12, 09:13 น

๑ “ผู้หนักแน่นในสัจจะ พูดอย่างไรทำอย่างนั้น จึงจะได้รับความสำเร็จ พร้อมทั้งความศรัทธา เชื่อถือ และความยกย่องสรรเสริญจากคนทุกฝ่าย การพูดแล้วทำ คือพูดจริงทำจริง จึงเป็นปัจจัยสำคัญ ในการส่งเสริมเกียรติคุณของบุคคลให้เด่นชัด”

๒ “การปิดทองหลังพระนั้น   เมื่อถึงคราวจำเป็นก็ต้องปิด   ว่าที่จริงแล้วคนโดยมาก  ไม่ค่อยชอบปิดทองหลังพระกันนัก   เพราะนึกว่าไม่มีใครเห็น   แต่ถ้าทุกคนพากันปิดทองแต่ข้างหน้า   ไม่มีใครปิดทองหลังพระเลย  พระจะเป็นพระที่งามบริบูรณ์ไม่ได้”

๓ “ประเพณีทั้งหลายย่อมมีประโยชน์ในการดำเนินชีวิตของแต่ละคน   เรามีประเพณีของชาติไทยเป็นสมบัติ  เราควรจะยินดีอย่างยิ่งและช่วยกันส่งเสริมรักษาไว้  เพื่อความเจริญก้าวหน้าของประเทศ”

๔ “โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ  และโบราณสถานทั้งหลายเป็นของมีคุณค่า  และจำเป็นแก่การศึกษาค้นคว้าในทางประวัติศาสตร์ศิลปะโบราณคดี  เป็นการแสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองของชาติไทย ที่มีมาแต่อดีต  ควรสงวนรักษาไว้ให้คงทนถาวร  เป็นสมบัติส่วนรวมของชาติไว้ตลอดกาล”

๕ “การสร้างงานศิลปะทุกอย่างทุกประเภท     นอกจากจะต้องใช้ความฝึกหัดชัดเจนในทางปฏิบัติ   ประกอบกับวิธีการที่ดีอย่างเหมาะสมแล้ว ศิลปินจำต้องมีความจริงใจและความบริสุทธิ์ใจในงานที่ทำด้วย  จึงจะได้ผลงานที่มีค่าควรแก่การยอมรับนับถือ”

add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตร์
        ความคิดเห็นที่ #79: 23 ส.ค. 12, 08:48 น

๑. “งานด้านการศึกษาศิลปะและวัฒนธรรมนั้น คืองานสร้างสรรค์ความเจริญทางปัญญาและทางจิตใจ ซึ่งเป็นทั้งต้นเหตุทั้งองค์ประกอบที่ขาดไม่ได้ของความเจริญด้านอื่นๆทั้งหมด และเป็นปัจจัยที่จะช่วยให้เรารักษาและดำรงความเป็นไทยไว้ได้สืบไป”
๒. “ภาษาไทยนั้นเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งของชาติ ภาษทั้งหลายเป็นเครื่องมือของมนุษย์ชนิดหนึ่ง คือเป็นทางสำหรับแสดงความคิดเห็นอย่างหนึ่ง เป็นสิ่งสวยงามอย่างหนึ่ง เช่น ในทางวรรณคดีเป็นต้น ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องรักษาเอาไว้ให้ดี” 
๓. “สามัคคี คือการเป็นแก่บ้านเมือง และช่วยกันทุกวิธีทาง เพื่อที่จะสร้างบ้านเมืองให้เข้มแข็ง   ด้วยการเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน   ทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตแย่งตรงไปตรงมา   นึกถึงประโยชน์ส่วนรวมนั้นคือความมั่นคงของบ้านเมือง”
๔. “การที่คนสมัยใหม่บอกว่าคนสมัยเก่ามีความรู้น้อยก็อาจเป็นจริง   แล้วคนสมัยใหม่ดูถูกหรือเหยียดหยามคนสมัยเก่าก็มีสิทธิ์   แต่ถ้าพูดตามความจริงแล้ว    สิทธิ์ที่จะเหยียดหยามคนรุ่นเก่าไม่ควรจะมี ด้วยเหตุว่าคนรุ่นเก่านี้เองทำให้คนรุ่นใหม่เกิดขึ้นมาได้”
๕. “สามัคคีหรือการปรองดองกัน   ไม่ได้หมายความว่าคนหนึ่งพูดอย่างหนึ่ง  คนอื่นต้องพูดเหมือนกันหมด ลงท้ายชีวิตก็ไม่มีความหมาย ต้องมีความแตกต่างกัน แต่ต้องทำงานให้สอดคล้องกัน แม้จะขัดกันบ้างก็ต้องสอดคล้องกัน”

add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตร์
        ความคิดเห็นที่ #80: 24 ส.ค. 12, 10:06 น

๑. “การทำงานใหญ่ๆ ทุกอย่างต้องการเวลามากกว่าจะทำสำเร็จ ผู้ที่เริ่มโครงการอาจไม่ทันทำให้สำเร็จโดยตลอดด้วยตนเองก็ได้ ต้องมีผู้อื่นรับทำต่อไป ดังนั้นไม่ควรยกเอาเรื่องใครเป็นผู้ริเริ่มงาน ใครเป็นผู้รับช่วงงาน ขึ้นเป็นข้อสำคัญนัก จะต้องถือผลสำเร็จที่จะเกิดจากงานเป็นใหญ่”
๒. “ในการปฏิบัติงานนั้น  ย่อมมีปัญหาต่างๆเกิดขึ้นได้เสมอ  เมื่อปัญหาเกิดขึ้นต้องแก้ไข  อย่าทิ้งไว้พอกพูนลุกลามจนแก้ยาก  ขอให้ทุกคนระลึกว่าปัญหาทุกอย่างมีทางแก้ไขได้  ถ้าแก้คนเดียวไม่ได้ก็ช่วยกันคิดช่วยกันแก้หลายๆคนหลายๆทาง  ด้วยความร่วมมือปรองดองกัน” 
๓. “การจะทำงานให้มีประสิทธิผลและให้ดำเนินไปได้โดยราบรื่น     จำเป็นอย่างยิ่งที่จะ ต้องทำด้วยความรับผิดชอบอย่างสูง  ไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง  ไม่บิดเบือนจุดประสงค์ที่แท้จริงของงานสำคัญที่สุดต้องเข้าใจความหมายของคำว่า  ความรับผิดชอบ  ให้ถูกต้อง”
๔. “ต่างคนต่างมีหน้าที่ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทำเฉพาะหน้าที่นั้น เพราะว่าถ้าคนใดทำหน้าที่เฉพาะของตัวโดยไม่มองไม่แลคนอื่น  งานก็ดำเนินไปไม่ได้   เพราะเหตุว่างานทุกงานจะต้องพาดพิงกันจะต้องเกี่ยวโยงกัน ฉะนั้นแต่ละคนจะต้องมีความรู้ถึงงานของผู้อื่นแล้วช่วยกันทำ”
๕. “การที่จะให้งานประสานกันนั้นมีหลักสำคัญอยู่ว่า  ทุกฝ่ายจะต้องไม่แบ่งแยกกัน  ไม่แย่งประโยชน์    ไม่แย่งความชอบกัน   แต่ละฝ่ายแต่ละคนต้องทำงานด้วยความบริสุทธิ์ใจ   มุ่งหวังผลสำเร็จในการทำงานเป็นใหญ่ยิ่งกว่าสิ่งอื่น”
๖. “เมื่อมีโอกาสและมีงานให้ทำ  ควรเต็มใจทำโดยไม่จำเป็นต้องตั้งข้อแม้หรือเงื่อนไขอันใดไว้ให้เป็นเครื่องกีดขวาง   คนที่ทำงานได้จริงๆ  นั้น   ไม่ว่าจะจับงานสิ่งใดย่อมทำได้เสมอ   ถ้ายิ่งมีความเอาใจใส่ มีความขยันซื่อสัตย์สุจริต ก็ยิ่งจะช่วยให้ประสบผลสำเร็จในงานที่ทำสูงขึ้น” 
๗. “ขอให้ทุกคนระลึกว่าปัญหาทุกอย่างมีทางที่จะแก้ไขได้  ถ้าแก้คนเดียวไม่ได้ก็ช่วยกันคิดช่วยกันแก้หลายๆ คน  หลายๆ  ทางด้วยความร่วมมือปรองดองกัน    ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นจักได้ไม่กลายเป็นอุปสรรคขัดขวาง  และบั่นทอนทำลายความเจริญและความสำเร็จของการงาน”
๘. “ถ้าทำงานด้วยความตั้งใจที่จะให้เกิดผลอันยิ่งใหญ่  คือความเป็นปึกแผ่นของประเทศชาติ ด้วยความสุจริตและด้วยความรู้ความสามารถด้วยจริงใจ  ไม่นึกถึงเงินทองหรือนึกถึงผลประโยชน์ใดๆ ก็เป็นการทำหน้าที่โดยตรงและได้ทำหน้าที่โดยเต็มที่”

add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตร์
        ความคิดเห็นที่ #81: 27 ส.ค. 12, 08:46 น

๑. “ความจงรักภักดีต่อชาตินั้น คือความสำนึกตระหนักในคุณของแผ่นดิน อันเป็นที่เกิดที่อาศัย ซึ่งทำให้บุคคลเกิดความภูมิใจในชาติกำเนิด และมุ่งมั่นที่จะธำรงรักษา ประเทศชาติไว้ ให้เป็นอิสระมั่นคงตลอดไป”
๒. “บรรพชนไทย เป็นนักต่อสู้ ผู้มีชีวิตจิตใจผูกพันปรองดอง เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน สามัคคีพร้อมเพรียงกันทุกเมื่อ ไม่ว่าจะทำการสิ่งใด บ้านเมืองไทยจึงมีเอกราชอธิปไตย และมีความสุขความสมบูรณ์ทุกอย่างมาจนกระทั่งทุกวันนี้” 
๓. “ความสามัคคีปรองดองเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  กับความรักใคร่เผื่อแผ่ช่วยเหลือกันฉันญาติพี่น้อง  สองประการนี้ คือคุณลักษณะสำคัญของไทย  ที่ช่วยให้ชาติบ้าน  เมืองอยู่รอดเป็นอิสระ  และเจริญมั่นคง  มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน”
๔. “ความสามัคคี เป็นคุณสมบัติประจำตัวของคนไทย ที่ได้อบรมสืบทอดกันมาแต่บรรพบุรุษโดยไม่ขาดสาย ทั้งนี้ เพราะคนไทย ทราบตระหนักว่า หมู่คณะที่มีความ สามัคคีแน่นแฟ้นสมบูรณ์  ย่อมมีกำลังกล้าแข็งทั้งในการคิดและการปฏิบัติ”
๕. “บ้านเมืองไทย สามารถฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆได้โดยดี เพราะว่าจิตใจสามัคคีและแสดงออกซึ่งสามัคคี   ถ้าตราบใดเรารักษาความสามัคคี    ความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน ไว้ได้    เราก็จะอยู่ได้อย่างมีความสุขตราบนั้น”
๖.“คนไทย  รักษาชาติ  รักษาแผ่นดิน  เป็นปึกแผ่นมั่นคงมาได้   ด้วยสติปัญญาความสามารถ  และด้วยคุณความดี  อิสรภาพ  เสรีภาพ  ความร่มเย็นเป็นสุข  ตลอดจนความเจริญ ทุกอย่างที่มีอยู่บัดนี้ เราทั้งหลายในปัจจุบัน   จึงต้องถือเป็นหน้าที่รับผิดชอบอย่างสำคัญ   ในอันที่จะรักษาคุณความดี พร้อมทั้งจิตใจที่เป็นไทยไว้ให้มั่นคงตลอดไป”
๗. “ชาติบ้านเมือง คือ ชีวิต เลือดเนื้อ และสมบัติของเราทุกคน และการดำรงรักษาชาติประเทศนั้น  มิใช่หน้าที่ของบุคคลผู้ใดหมู่ใด  โดยเฉพาะหากแต่เป็นหน้าที่ของทุกๆ  ฝ่ายทุกๆ คน  ที่จะต้องร่วมมือกระทำ  พร้อมกันไปโดยสอดคล้องเกื้อกูลกัน”

add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตร์
        ความคิดเห็นที่ #82: 28 ส.ค. 12, 10:09 น

๑. “คุณธรรมข้อหนึ่งที่ยังมีอยู่อย่างบริบูรณ์ในจิตใจของคนไทยก็คือ การให้ การให้นี้ไม่ว่าจะให้สิ่งใด แก่ผู้ใด โดยสถานใดก็ตาม เป็นสิ่งที่พึงประสงค์อย่างยิ่ง เพราะเป็นเครื่องประสานไมตรีอย่างสำคัญระหว่างบุคคลกับบุคคล และให้สังคมมีความมั่นคงเป็นปึกแผ่นด้วยสามัคคีธรรม”
๒. “การใช้จ่ายอย่างประหยัดนั้น จะเป็นหลักประกันความสมบูรณ์พูนสุขของผู้ประหยัดเอง และครอบครัว ช่วยป้องกันความขาดแคลนในวันข้างหน้า การประหยัดดังกล่าวนี้จะมีผลดีไม่เฉพาะแก่ผู้ที่ประหยัดเท่านั้น ยังเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติด้วย” 
๓. “วิถีทางดำเนินของบ้านเมืองและประชาชนโดยทั่วไป   มีความเปลี่ยนแปลงมาตลอดเนื่องจากความวิปริตผันแปรของวิถีแห่งเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และอื่นๆ ของโลก ยากยิ่งที่เราจะหลีกเลี่ยงให้พ้นได้ จึงต้องระมัดระวัง  ประคับประคองตัวเรามากขึ้น  โดยเฉพาะในเรื่องการเป็นอยู่  โดยประหยัดเพื่อที่จะอยู่ให้รอดและก้าวหน้าต่อไปได้โดยสวัสดี”
๔. “ความสุขความเจริญอันแท้จริงนั้น หมายถึง ความสุขความเจริญที่บุคคลแสวงหามาได้ด้วยความเป็นธรรม ทั้งในเจตนาและการกระทำ ไม่ใช่ได้มาด้วยความบังเอิญหรือด้วยการแก่งแย่งเบียดบังมาจากผู้อื่น”
๕. “การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น  ต้องสร้างพื้นฐาน  คือ   ความพอมีพอกินพอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและใช้อุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชา เมื่อได้พื้นฐานมั่นคงพร้อมพอควรปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญและฐานะเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป”
๖. “เศรษฐกิจพอเพียง เป็นเสมือนรากฐานของชีวิต รากฐานความมั่นคงของแผ่นดิน เปรียบเสมือนเสาเข็มที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือนตัวอาคารไว้นั่นเอง สิ่งก่อสร้างจะมั่นคงได้ก็อยู่ที่เสาเข็ม แต่คนส่วนมากมองไม่เห็นเสาเข็ม และลืมเสาเข็มซะด้วยซ้ำไป”
๗. “สังคมใดก็ตาม ถ้ามีความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน ด้วยความมุ่งดีมุ่งเจริญต่อกัน สังคมนั้นย่อมเต็มไปด้วยไมตรีจิต มิตรภาพ มีความร่มเย็นเป็นสุข น่าอยู่” 
๘. “การงานทุกอย่างทุกอาชีพ   ย่อมจะมีจรรยาบรรณของตนเอง   จรรยาบรรณนั้นจะบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ตาม แต่เป็นสิ่งที่ยึดถือกันว่าเป็นความดีงาม ที่คนอาชีพนั้นพึงประพฤติปฏิบัติหากผู้ใดล่วงละเมิด ก็อาจก่อให้เกิดความเสียหาย ทั้งแก่บุคคล หมู่คณะ และส่วนรวมได้”

add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตร์
        ความคิดเห็นที่ #83: 29 ส.ค. 12, 09:27 น

๑. “การศึกษาเป็นเรื่องใหญ่และสำคัญยิ่งของมนุษย์ คนเราเมื่อเกิดมาก็ได้รับการสั่งสอนจากบิดามารดา   อันเป็นความรู้เบื้องต้น   เมื่อเจริญเติบโตขึ้น    ก็เป็นหน้าที่ของครูและอาจารย์สั่งสอนให้ได้รับวิชาความรู้สูงและอบรมจิตใจ ให้ถึงพร้อมด้วยคุณธรรม เพื่อจะได้เป็นพลเมืองดีของชาติสืบต่อไป”

๒. “ความสงบหนักแน่นเป็นเครื่องผ่อนปรนระงับความรุนแรง ความขัดแย้ง ความไม่เข้าใจในกันและกันได้ทุกกรณี โดยเฉพาะความสงบหนักแน่นในจิตใจนั้น ทำให้เกิดความยั้งคิดพิจารณาตามเหตุตามผล จึงช่วยให้สามารถขบคิดวินิจฉัยเรื่องราวปัญหาและกระทำได้ถูกต้องพอเหมาะพอดี มีประสิทธิผล”

๓. “จิตใจและความประพฤติที่สะอาดและมีระเบียบ เป็นรากฐานสำคัญของชีวิตทั้งจิตใจทั้งความประพฤติดังนั้นใช่จะเกิดมีขึ้นเอง ได้     หากแต่จำต้องฝึกหัดอบรม     และสนับสนุนส่งเสริมกันอย่างจริงจังสม่ำเสมอ นับตั้งแต่บุคคลเกิด ดังที่มนุษย์ไม่ว่าชาติใดภาษาใด ได้เฝ้าพยายามกระทำสืบต่อกันมาทุกยุคทุกสมัย ทั้งนี้เพื่อให้สามารถรักษาตัวและมีความสุข ความสำเร็จในการครองชีวิต ทั้งให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ ด้วยความผาสุกสงบ”

๔. “สังคมและบ้านเมืองใด ให้การศึกษาที่ดีแก่เยาวชนได้อย่างครบถ้วน ล้วนพอเหมาะกันทุกๆ ด้าน    สังคมและบ้านเมืองนั้น   ก็จะมีพลเมืองที่มีคุณภาพ    ซึ่งสามารถธำรงรักษาความเจริญมั่นคงของประเทศชาติไว้  และพัฒนาให้ก้าวหน้าต่อไปได้โดยตลอด  ผู้มีหน้าที่จัดการศึกษาทุกๆคนจึงต้องถือว่า  ตัวของท่านมีความรับผิดชอบต่อชาติบ้านเมืองอยู่อย่างเต็มที่ในอันที่จะต้อง  ปฏิบัติหน้าที่ให้เที่ยงตรง ถูกต้อง สมบูรณ์โดยเต็มกำลัง จะประมาทหรือละเลยมิได้”

๕. “หลักของคุณธรรม คือการคิดด้วยจิตใจที่เป็นกลาง ก่อนจะพูดจะทำสิ่งไร จำเป็นต้องหยุดคิดเสียก่อน เพื่อรวบรวมสติให้ตั้งมั่น และให้จิตสว่างแจ่มใส ซึ่งเมื่อฝึกหัดจนคุ้นเคยชำนาญแล้ว จะกระทำได้คล่องแคล่ว ช่วยให้สามารถแสดงความรู้ ความคิด ในเรื่องต่างๆ ให้ผู้ฟังเข้าใจได้ง่าย ได้ชัด ไม่ผิดทั้งหลักวิชาทั้งหลักคุณธรรม”

๖. “ถ้าถูกแดดถูกฝน อนามัยแข็งแรงก็ไม่เป็นอะไร ทำให้แข็งแกร่งจิตใจก็เหมือนกัน เมื่อประสบอุปสรรคและสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา เราก็ขุ่นหมองแต่ถ้าจิตใจเราแข็งแรง แข็งแกร่งดี อุปสรรคนั้นจะทำให้สามารถที่จะทำให้มีอำนาจจิตดีขึ้นมีกำลังใจมากขึ้น สิ่งที่เป็นอุปสรรค สิ่งที่ทำให้เราขุ่นเคืองใจ ไม่เป็นผลร้ายต่อตัวเรากลับทำให้ใจเราแข็งแกร่งแข็งแรง”

๗. “การศึกษาด้านศิลปะวัฒนธรรม เป็นการศึกษาที่สำคัญ และควรจะดำเนินควบคู่กันไปกับการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์   เพราะความเจริญของบุคคล  ตลอดจนถึงความเจริญของประเทศและของโลกโดยส่วนรวมด้วยนั้น มีทั้งทางวัตถุและจิตใจ ความเจริญทั้งสองทางนี้ จะต้องมีประกอบกัน เกื้อกูลและส่งเสริมกันพร้อมมูล จึงจะเกิดความเจริญที่แท้จริงได้ประเทศทั้งหลายจึงต่างพยายามส่งเสริมการ ศึกษาด้านศิลปะวัฒนธรรมนี้ พร้อมกันไปกับการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์”

๘. “การทำความดีนั้น     โดยมากเป็นการเดินทวนกระแสความพอใจและความต้องการของมนุษย์ จึงทำได้ยาก และเห็นผลช้า แต่ก็จำเป็นต้องทำ  เพราะหาไม่ ความชั่ว ซึ่งทำได้ง่ายจะเข้ามาแทนที่  แล้วจะพอกพูนขึ้นอย่างรวดเร็วโดยไม่ทันรู้สึกตัว”

add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตร์
        ความคิดเห็นที่ #84: 30 ส.ค. 12, 08:51 น

๑. “ความจริงใจต่อผู้อื่นเป็นคุณธรรมสำคัญมากสำหรับผู้ที่ต้องการความสำเร็จและ ความเจริญ เพราะช่วยให้สามารถขจัดปัดเป่าปัญหาได้มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัญหาอันเกิดจากความกินแหนงแคลงใจและเอารัดเอาเปรียบกัน นอกจากนั้น ยังทำให้ได้รับความเชื่อถือไว้วางใจ และความร่วมมือสนับสนุนจากทุกคนทุกฝ่าย ที่ถือมั่นในเหตุผลและความดี ผู้มีความจริงใจจะทำการสิ่งใดก็มักสำเร็จได้โดยราบรื่น”

๒. “การมีวินัย มีความสามัคคี และรู้จักหน้าที่ ถือกันว่าเป็นคุณสมบัติสำคัญประจำตัวของคนทุกคน แต่ในการสร้างเสริมคุณสมบัติ ๓ ข้อนี้ จะต้องไม่ลืมว่า วินัย สามัคคี และหน้าที่นั้น เป็นได้ทั้งในทางบวกและทางลบ ซึ่งย่อมให้คุณหรือให้โทษได้มากเท่าๆ กัน ทั้ง ๒ ทาง เพราะฉะนั้น เมื่อจะอบรม จำเป็นต้องพิจารณาให้ถ่องแท้แน่ชัดก่อนว่า เป็นวินัยสามัคคีและหน้าที่ดีคือ ปราศจากโทษ เป็นประโยชน์ เป็นธรรม”

๓. “ความคิดนั้นสำคัญมาก      ถือได้ว่าเป็นแม่บทใหญ่ของคำพูดและการกระทำทั้งปวง กล่าวคือ  ถ้าคนเราคิดดี  คิดถูกต้อง  ทั้งตามหลักวิชาและคุณธรรม  คำพูดและการกระทำก็เป็นไปในทางที่ดีที่เจริญ แต่ถ้าคิดไม่ดีไม่ถูกต้อง  คำพูดและการกระทำก็อาจก่อให้เกิดความเสียหาย  ทั้งแก่ตัวเองและส่วนรวมได้  ด้วยเหตุนี้ ก่อนที่บุคคลจะพูดจะทำสิ่งใด จำเป็นต้องหยุดคิดเสียก่อนว่า กิจที่จะทำ คำที่จะพูดนั้น ผิดหรือถูก เป็นคุณประโยชน์หรือเป็นโทษเสียหาย  เป็นสิ่งที่ควรพูด   ควรกระทำ   หรือควรงดเว้น    เมื่อคิดพิจารณาได้ดังนี้ ก็จะสามารถยับยั้งคำพูดที่ไม่สมควร  หยุดยั้งการกระทำที่ไม่ถูกต้อง  พูดและทำแต่สิ่งที่จะสัมฤทธิ์ผลเป็นคุณ   เป็นประโยชน์ และเป็นความเจริญ”

๔. “ความรู้ในวิชาการ เป็นสิ่งหนึ่งที่จะทำให้สามารถฟันฝ่าอุปสรรคได้ และทำให้เป็นคนที่มีเกียรติ  เป็นคนที่สามารถ  เป็นคนที่จะมีความพอใจได้ในตัวว่า  ทำประโยชน์แก่ตนเองและแก่ส่วนรวม นอกจากวิชาความรู้     ก็จะต้องฝึกฝนในสิ่งที่ตัวจะต้องปฏิบัติให้สอดคล้องกับสังคม     สอดคล้องกับสมัยและสอดคล้องกับศีลธรรมที่ดีงาม ถ้าได้ทั้งวิชาการ ทั้งความรู้รอบตัว และความรู้ในชีวิต ก็จะทำให้เป็นคนที่ครบคน ที่จะภูมิใจได้”

๕. “ในการดำเนินชีวิตและการประกอบกิจการงาน   ย่อมจะต้องมีปัญหาต่าง ๆ   เป็นอุปสรรค ขัดขวางความสำเร็จอยู่เสมอ ยากที่ผู้ใดหรือสิ่งหนึ่งสิ่งใดจะหลีกเลี่ยงพ้นได้ คนก็มีปัญหาของคน สังคมก็มีปัญหาของสังคม ประเทศก็มีปัญหาของประเทศ แม้กระทั่งโลกก็มีปัญหาของโลก ปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตและกิจการงานจึงเป็นเรื่องธรรมดา  ข้อสำคัญเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น  จะต้องแก้ไขให้ลุล่วงไปโดยไม่ชักช้า  ผู้ใดมีสติปัญญาคิดได้ดี ปฏิบัติได้ถูก   ผู้นั้นก็มีหวังบรรลุถึงเป้าหมาย   มีความสำเร็จสูง   ถ้าเป็นตรงกันข้าม  ก็ยากที่จะประสบความสำเร็จสมหวังได้”

๖. “การรู้จักประมาณตน  ได้แก่   การรู้จักและยอมรับว่าตนเองมีภูมิปัญญาและความสามารถด้านไหน เพียงใด และควรจะทำงานด้านไหน อย่างไร การรู้จักประมาณตนนี้ จะทำให้คนเรารู้จักใช้ความรู้ความสามารถที่มีอยู่ได้ถูกต้อง   เหมาะสมกับงาน   และได้ประโยชน์สูงสุดเต็มตามประสิทธิภาพ    ทั้งยังทำให้รู้จักขวนขวายศึกษาหาความรู้   และเพิ่มพูนประสบการณ์อยู่เสมอ  เพื่อปรับปรุงส่งเสริมศักยภาพที่มีอยู่ในตนเองให้ยิ่งสูงขึ้น”

add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตร์
        ความคิดเห็นที่ #85: 1 ก.ย. 12, 09:12 น

๑. “บรรพชนไทย  เป็นนักต่อสู้  ผู้มีชีวิตจิตใจผูกพันปรองดอง เ ป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน สามัคคีพร้อมเพรียงกันทุกเมื่อ ไม่ว่าจะทำการสิ่งใด บ้านเมืองไทยจึงมีเอกราชอธิปไตย และมีความสุขความสมบูรณ์ทุกอย่างมาจนกระทั่งทุกวันนี้”

๒. “คนไทยมีสายเลือดของช่างฝีมืออยู่ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นชาวไร่ชาวนา หรือมีอาชีพใด อยู่สารทิศใด คนไทยมีความละเอียดอ่อนและฉับไวต่อการรับศิลปะทุกชนิด ขอเพียงแต่ให้มีโอกาสได้เรียนรู้และฝึกฝน ก็จะแสดงความสามารถออกมาให้เห็นได้”

๓. “เกษตรกรไทยเป็นผู้ผลิตอาหารเลี้ยงประเทศมาตั้งแต่อดีตอันยาวนานจนถึงปัจจุบัน แม้พลเมืองของชาติจะทวีขึ้นมากเพียงใด  เกษตรกรก็ผลิตอาหารได้เพียงพอเสมอ  ซ้ำยังสามารถส่งออกไปเลี้ยงพลโลกได้อีกเป็นจำนวนมาก  การที่ชาติของเราเลี้ยงตนเองได้นี้  เป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่   เพราะไม่ว่าเกิดภาวการณ์เช่นไรเราจะอยู่รอดได้เสมอ  เนื่องจากคนไทยเป็นผู้ผลิต  ไม่ใช่จะเป็นเพียงผู้บริโภคเท่านั้น”

๔. “สุขภาพอนามัยนี้เป็นสิ่งสำคัญ  เพราะเป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตทั้งมวล ดังคำกล่าวที่ว่า “จิตใจที่แจ่มใส ย่อมอยู่ในร่างกายที่แข็งแรง” หากประชาชนมีสุขภาพอนามัยสมบูรณ์ ไม่เจ็บไข้ได้ป่วย ก็จะมีสติปัญญาเล่าเรียน   ประกอบสัมมาอาชีพ  สร้างสรรค์ความเจริญต่าง ๆ   ให้แก่ชาติบ้านเมือง ดังนั้นถ้าจะกล่าวว่า “พลเมืองที่แข็งแรง ย่อมสามารถสร้างชาติที่มั่นคง” ก็คงจะไม่ผิด”

add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตร์
        ความคิดเห็นที่ #86: 2 ก.ย. 12, 06:20 น

๑ “ที่พูดกันว่า    ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาลนั้น    ความจริงเป็นฝีมือมนุษย์นั่นเอง เพราะฉะนั้น ถ้าเราให้สภาพธรรมชาติกลับคืนมาเหมือนเดิม มีแม่น้ำลำธาร  มีน้ำจืด ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุดต่อชีวิตมนุษย์  และการพัฒนาประเทศชาติ  พวกเราต้องเข้าใจและช่วยกันรักษาป่า   เพื่อที่เราจะได้มีอนาคตและความหวังร่วมกัน”

๒. “ธรรมชาติแวดล้อมของเรา ไม่ว่าจะเป็นแผ่นดิน ป่าไม้ แม่น้ำ ทะเล และอากาศมิได้เป็นเพียงสิ่งสวยๆ  งามๆ  เท่านั้น  หากแต่เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตของเรา และการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมของเราไว้ให้ดีนี้ ก็เท่ากับเป็นการปกปักรักษาอนาคตไว้ให้ลูกหลานของเราด้วย”

๓. “ความสามัคคีปรองดองเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน กับความรักใคร่เผื่อแผ่ช่วยเหลือกันฉันญาติพี่น้อง สองประการนี้  คือคุณลักษณะสำคัญของไท ย ที่ช่วยให้ชาติบ้าน  เมืองอยู่รอดเป็นอิสระ  และเจริญมั่นคง มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน”

๔. “ความสามัคคี เป็นคุณสมบัติประจำตัวของคนไทย ที่ได้อบรมสืบทอดกันมาแต่บรรพบุรุษโดยไม่ขาดสาย ทั้งนี้ เพราะคนไทย ทราบตระหนักว่า หมู่คณะที่มีความ สามัคคีแน่นแฟ้นสมบูรณ์  ย่อมมีกำลังกล้าแข็งทั้งในการคิดและการปฏิบัติ”

๕. “บ้านเมืองไทย   สามารถฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆได้โดยดี    เพราะว่าจิตใจสามัคคีและแสดงออกซึ่งสามัคคี  ถ้าตราบใดเรารักษาความสามัคคี  ความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน ไว้ได้  เราก็จะอยู่ได้อย่างมีความสุขตราบนั้น”

add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตร์
        ความคิดเห็นที่ #87: 3 ก.ย. 12, 08:49 น

๑. “ผู้ที่จะรักษาความเป็นไทยได้มั่นคงที่สุด ดี และเหมาะสมที่สุด ไม่มีใครอื่นนอกจากคนไทย เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจะอยู่ ณ แห่งใด คนไทยมีหน้าที่ต้องรักษาความเป็นไทย เสมอ”

๒. “ชาติบ้านเมืองประกอบด้วยนานาสถาบัน อันเปรียบได้กับอวัยวะทั้งปวง ที่ประกอบกันขึ้นเป็นชีวิตร่างกาย  ชีวิตร่างกายดำรงอยู่ได้   เพราะอวัยวะใหญ่น้อยทำงานเป็นปรกติพร้อมกันอย่างไร  ชาติบ้านเมืองก็ดำรงอยู่ได้  เพราะสถาบันต่างๆตั้งมั่นและปฏิบัติหน้าที่ของตนโดยพร้อมมูลอย่างนั้น”

๓. “การจะพัฒนาทุกสิ่งทุกอย่างให้เจริญนั้นจะต้องสร้างและเสริมขึ้นจากพื้นฐานเดิมที่มีอยู่ก่อนทั้งสิ้น  ถ้าพื้นฐานไม่ดีหรือคลอนแคลนบกพร่องแล้ว  ที่จะเพิ่มเติมเสริมต่อให้เจริญขึ้นไปอีกนั้น  ยากนักที่จะทำได้  จึงควรจะเข้าใจให้แจ้งชัดว่า  นอกจากจะมุ่งสร้างความเจริญแล้ว  ยังต้องพยายามรักษาพื้นฐานให้มั่นคง   ไม่บกพร่อง พร้อมๆ กันไปด้วย”

๔. “ความสามัคคีและความถือตัวว่าเป็นไทยนี้  เป็นสิ่งที่มีค่าสูงสุด   เพราะเป็นมรดกที่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษของเรา  และเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เรารวมกันอยู่ได้ ให้เราดำรงชาติประเทศและเอกราชสืบมาได้ ทุกคนควรจะได้พยายามรักษาความเป็นไทย และความสามัคคีนี้ไว้ให้มั่นคงในที่ทุกแห่ง อย่ายอมให้สิ่งหนึ่งสิ่งใดมาทำลายได้”

๕. “การดำเนินชีวิตโดยใช้วิชาการอย่างเดียวยังไม่เพียงพอ จะต้องอาศัยความรู้รอบตัวและหลักศีลธรรมประกอบด้วย ผู้ที่มีความรู้ดี แต่ขาดความยั้งคิด นำความรู้ไปใช้ในทางมิชอบก็เท่ากับเป็นบุคคลที่เป็นภัยแก่สังคมของมนุษย์”

add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตร์
        ความคิดเห็นที่ #88: 4 ก.ย. 12, 11:10 น

๑. “คุณธรรมข้อหนึ่งที่ยังมีอยู่อย่างบริบูรณ์ในจิตใจของคนไทยก็คือ การให้ การให้นี้ไม่ว่าจะให้สิ่งใด แก่ผู้ใด  โดยสถานใดก็ตาม  เป็นสิ่งที่พึงประสงค์อย่างยิ่ง  เพราะเป็นเครื่องประสานไมตรีอย่างสำคัญระหว่างบุคคลกับบุคคล และให้สังคมมีความมั่นคงเป็นปึกแผ่นด้วยสามัคคีธรรม”

๒. “การใช้จ่ายอย่างประหยัดนั้น จะเป็นหลักประกันความสมบูรณ์พูนสุขของผู้ประหยัดเอง และครอบครัว ช่วยป้องกันความขาดแคลนในวันข้างหน้า การประหยัดดังกล่าวนี้จะมีผลดีไม่เฉพาะแก่ผู้ที่ประหยัดเท่านั้น ยังเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติด้วย”

๓. “ความสุขความเจริญอันแท้จริงนั้น หมายถึง ความสุขความเจริญที่บุคคลแสวงหามาได้ด้วยความเป็นธรรม ทั้งในเจตนาและการกระทำ ไม่ใช่ได้มาด้วยความบังเอิญหรือด้วยการแก่งแย่งเบียดบังมาจากผู้อื่น”

๔. “การใช้จ่ายอย่างประหยัดนั้น  จะเป็นหลักประกันความสมบูรณ์พูนสุขของผู้ประหยัดเอง   และครอบครัว    ช่วยป้องกันความขาดแคลนในวันข้างหน้า    การประหยัดดังกล่าวนี้จะมีผลดีไม่เฉพาะแก่ผู้ที่ประหยัดเท่านั้น  ยังเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติด้วย”

๕. “การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น    ต้องสร้างพื้นฐาน    คือ   ความพอมีพอกินพอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน  โดยใช้วิธีการและใช้อุปกรณ์ที่ประหยัด  แต่ถูกต้องตามหลักวิชา  เมื่อได้พื้นฐานมั่นคงพร้อมพอควรปฏิบัติได้แล้ว  จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญและฐานะเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป”

add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตร์
        ความคิดเห็นที่ #89: 5 ก.ย. 12, 13:13 น

๑. “สังคมใดก็ตาม ถ้ามีความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน ด้วยความมุ่งดีมุ่งเจริญต่อกัน สังคมนั้นย่อมเต็มไปด้วยไมตรีจิต มิตรภาพ มีความร่มเย็นเป็นสุข น่าอยู่”


๒. “ความสุขความเจริญอันแท้จริงนั้น หมายถึง ความสุขความเจริญที่บุคคลแสวงหามาได้ด้วยความเป็นธรรม ทั้งในเจตนาและการกระทำ ไม่ใช่ได้มาด้วยความบังเอิญหรือด้วยการแก่งแย่งเบียดบังมาจากผู้อื่น”


๓. “เศรษฐกิจพอเพียง เป็นเสมือนรากฐานของชีวิต รากฐานความมั่นคงของแผ่นดิน เปรียบเสมือนเสาเข็มที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือนตัวอาคารไว้นั่นเอง สิ่งก่อสร้างจะมั่นคงได้ก็อยู่ที่เสาเข็ม แต่คนส่วนมากมองไม่เห็นเสาเข็ม และลืมเสาเข็มซะด้วยซ้ำไป”


๔. “การงานทุกอย่างทุกอาชีพ ย่อมจะมีจรรยาบรรณของตนเอง จรรยาบรรณนั้นจะบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ตาม แต่เป็นสิ่งที่ยึดถือกันว่าเป็นความดีงาม ที่คนอาชีพนั้นพึงประพฤติปฏิบัติหากผู้ใดล่วงละเมิด ก็อาจก่อให้เกิดความเสียหาย ทั้งแก่บุคคล หมู่คณะ และส่วนรวมได้”


๕. “ความเจริญของคนทั้งหลาย ย่อมเกิดมาจากประพฤติชอบและการหาเลี้ยงชีพชอบ เป็นหลักสำคัญ ผู้ที่จะสามารถประพฤติชอบและหาเลี้ยงชีพชอบได้ด้วยนั้น ย่อมจะมีทั้งวิชาความรู้ ทั้งหลักธรรมทางศาสนา เพราะสิ่งแรกเป็นปัจจัยสำหรับใช้กระทำการทำงาน สิ่งหลังเป็นปัจจัยสำหรับส่งเสริมความประพฤติ และการปฏิบัติงานให้ชอบ คือให้ถูกต้องและเป็นธรรม”


หน้า: 1 2 3 4 5 6 7 8 9 ... 31
ตอบ
ชื่อ:
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา


[เพิ่มเติม]
ขอความร่วมมือท่านสมาชิก และผู้ใช้บริการเว็บบอร์ด
ห้ามมิให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ทั้งเนื้อหาและภาพของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ: พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
:  
ทางสนุก! จะทำการตรวจสอบ
และขออนุญาตไม่แสดงข้อความ
ที่ไม่เหมาะสม ข้อความที่
ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่
สถาบันชาติ ศาสนา
พระมหากษัตริย์ รวมถึงข้อความที่
เข้าข่ายหลอกลวง การเผยแพร่
ภาพลามกอนาจาร หรือข้อความ
ใดๆ ที่ทำให้ผู้อื่นได้รับความ
เสียหาย บนกระทู้นี้