7. หากแฝดเสียชีวิตในท้องไป 1 คน จะทำอย่างไรดี
การเสียชีวิตของแฝดหนึ่งคนหลังอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ พบได้ร้อยละ 5 ของครรภ์แฝดทั้งหมด ส่วนใหญ่ไม่ทราบสาเหตุ ในครรภ์แฝดไข่ใบเดียวกัน เนื่องจากอยู่ในถุงน้ำเดียวกัน การตายของแฝดหนึ่งคนทำให้แฝดที่ยังมีชีวิตเสียเลือด ซีด ความดันโลหิตต่ำ และมีโอกาสเสียชีวิตร้อยละ 15 ตรงกันข้ามกับครรภ์แฝดจากไข่สองใบ ซึ่งครรภ์แฝดอยู่คนละถุงน้ำ แม้คนที่รอดชีวิตอาจเกิดอันตรายเสียชีวิตได้จากการเสียเลือด หรือการติดเชื้อ แต่มีโอกาสเสียชีวิตน้อยกว่าคือร้อยละ 3
ครรภ์แฝดที่มีแฝดคนหนึ่งเสียชีวิต คุณ
แม่ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด สังเกตลูกที่ยังรอดชีวิตว่ามีการเคลื่อนไหวตามปกติหรือไม่ ถ้าดิ้นน้อยหรือดิ้นผิดปกติต้องมาพบแพทย์ ในคุณ
แม่บางรายต้องนอนโรงพยาบาลเพื่อเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนเมื่อมีทารกเสียชีวิต เช่น ดูแลแฝดคนที่เหลือว่าจะติดเชื้อหรือเสียเลือดหรือไม่ คุณแม่มีไข้ ติดเชื้อ มีภาวะเลือดไหลไม่หยุดหรือไม่ หากจะเกิดอันตรายกับแม่และลูก แพทย์มักจะป้องกันโดยยุติการตั้งครรภ์
8. ทำคลอดครรภ์แฝดแบบไหนดี
ครรภ์แฝดไข่ใบเดียวกัน โอกาสรอดชีวิตของทารกมีประมาณร้อยละ 50-60 เท่านั้น จากการขาดอาหาร เด็กทารกแย่งอาหารกัน มีปัญหาสายสะดือพันกัน หรือมีการถ่ายเลือดให้กัน ฯลฯ ส่วนใหญ่แพทย์มักจะดูแลอย่างใกล้ชิด ให้ยาเร่งการทำ
งานของปอดทารก และผ่าตัดคลอดเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม ซึ่งส่วนใหญ่มักจะผ่าคลอดก่อนกำหนดเพราะหากรอให้ครบกำหนดเกรงทารกจะเสียชีวิตไปก่อน
ครรภ์แฝดจากไข่สองใบ แพทย์บางคนอาจจะผ่าตัดคลอดทุกราย ด้วยเหตุผลที่ว่า แฝดคนที่สองอาจขาดออกซิเจนถ้ารอคลอดเอง
แต่งานวิจัยไม่สนับสนุน เพราะพบว่าหากทารกทั้งสองคนเป็นท่าศีรษะซึ่งพบได้ร้อยละ 42 ของแฝดทั้งหมด สามารถคลอดเองทางช่องคลอดได้ การผ่าตัดคลอดกับการคลอดทางช่องคลอด พบเด็กทารกแข็งแรงไม่แตกต่างกัน
หากทารกคนแรกเป็นท่าอื่นๆที่ไม่ใช่ท่าศีรษะ เช่น เป็นท่าก้น ท่าขวางฯลฯ ซึ่งพบได้ร้อยละ 20 ของแฝดทั้งหมด ควรพิจารณาผ่าตัด และหากทารกคนแรกเป็นท่าศีรษะ ทารกคนที่สองเป็นท่าอื่นๆ เช่น เป็นท่าก้น ท่าขวาง ฯลฯ ซึ่งพบได้ร้อยละ 38 ของแฝดทั้งหมด หากลองคลอดทางช่องคลอดในแฝดคนแรก ต้องทำหัตถการช่วยคลอดทางช่องคลอดในทารกแฝดคนที่สอง เช่น ทำคลอดท่าก้น หรือหมุนจากท่าขวางให้เป็นท่าก้นแล้วจึงทำคลอด ฯลฯ อาศัยแพทย์ผู้มีประสบการณ์จึงทำคลอดได้ ควรปรึกษาคนคลอดและญาติ ว่าจะเลือกวิธีลองคลอดทางช่องคลอด ให้แพทย์ใช้หัตถการช่วยคลอดแฝดคนที่สอง หรือผ่าตัดคลอดไปเลย ส่วนหากมารดาและทารกเกิดภาวะแทรกซ้อนอาจเกิดอันตรายถึงชีวิต เช่น ครรภ์เป็นพิษ เด็กทารกขาดอาหาร น้ำคร่ำแห้ง ฯลฯ อาจพิจารณาผ่าตัดคลอด