เมื่อพูดถึงรถอีโค่คาร์ ในช่วงปีที่ผ่านมารถกลุ่มนี้กลายเป็นสงครามที่มีความดุดเดือดเลือดพล่านด้วยสวนหนึ่งมาจากปัจจัยของรถคันแรกที่ ออกมาจากภาครัฐบาลทำให้ประชาชนสนใจ อีกดานก็เป็นราคาน้ำในที่แพงมากยิ่งขึ้นตามลำดับ ที่ล่าสุดเราก็มาพบกับเจ้าน้องเล็ก Honda Brio Amaze ที่เปิดตัวออกมาเมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมา
Honda Brio Amaze นับเป็นรถยนต์อีโค่คาร์รุ่นที่ สองของตลาดที่ตามออกมาสู้ศึกรถกลุ่มนี้ในรุ่น 4 ประตู ที่ก่อนหน้านี้ค่ายเจ้าตลาดรถเล็ก Nissan กินรวบอยู่เจ้าเดียว ทำให้การส่งรถลุ่มนี้ออกมาเป็นแนวไอเดียที่มีความน่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว ยิ่งกับ Honda Brio ที่โดนคำติชมมากมาย ทำให้การแก้เกมนี้เป็นเรื่องสำคัญ
ชื่อของ Honda Brio Amaze ผลุบมาครั้งแรกในฐานะรถอีโค่คาร์ซีดาน 4 ประตูที่ยังนิรนามก่อนที่จะได้ชื่อจริงพร้อมชื่อ Honda Brio Amaze ที่เปิดตัวออกมาอย่างเป็นทางการพร้อมนายบี้ สุกฤษฏ์ ที่สร้างกระแสตอบรับได้อย่างรวดเร็วจนบูทฮอนด้าแทบแตก เพราทุกคนอยากเห็นและ สาวกหลายคนก็ค่อนข้างคาดหวังรถรุ่นนี้อยู่มากพอสมควร
เรือนร่างเริ่มต้นด้วยการขยายมิติตัวถังออกมาไปเพื่อให้สอดคล้องความเป็นรถซีดานมากขึ้น ซึ่งสิ่งหนึ่งที่ต้องพิจารณาคงไม่พ้นคุณภาพการนั่งที่ สมควรจะต้องกว้างขวางสบาย ยิ่งคู่แข่งชูจุเด่นรุ่นนี้ จนสามารถปีเกลียวเทียบชี่นคอมแพ็คคาร์บางรุ่น ทำให้การแข่งขันนี้เป็นเรื่องของคุณภาพในการขับขี่ รวมถึงเรื่องของการนั่งด้วย
ตั้งแต่ได้รถ Honda Brio Amaze มาทดสอบครั้งนี้ก็ยอมรับว่าส่วนตัวรู้สึกตื่นเต้นไม่น้อย ต่อการทดสอบ ด้วยครั้งนี้จะเป็นโอกาสอันดีในการทดสอบชนิดจัดเต็ม เนื่องด้วยในการทดสอบกลุ่มที่จัดไปก่อนหน้านี้ เมื่อช่วงเดือนพฤศจิกายน นั้น ยังไม่ค่อนจุใจ เราอาจจะได้รู้หลายอย่าง ทราบข้อดีและเสียพอประมาณ แต่ กับการใช้งานจริงนั้น เป็นคนละเรื่องกัน
เส้นทางงวดนี้เราเอาหนักๆจัดเต็มเฉพาะกิจ และทางโหดของเราคือสถานที่ท่องเที่ยวชั้นนำ ที่หลายคนเมืองอยากไปสัมผัส กับ เขาค้อและภูทับเบิก ซึ่งก่อนเบิกฤกษ์ เราก็เริ่มบททดสอบในเมืองกันมาก่อน ซึ่งในเมืองนี้เป็นที่ซึ่ง Honda Brio Amaze ออกแบบมาให้ใช้ประโยชน์สูงสุด เรือนร่างขนาดเล็กและเครื่องยนต์ 1.2 ลิตร ของมันให้ความประหยัดมาในการขับขี่ เราแหวกไปในเมืองพร้อมการจราจรที่ติดขัดบ้าง และพวงมาลัยที่เบากับ เรือนร่างเล็กๆ ก็ทำให้มันมีความคล่องตัว ซึ่งแน่นอน เมื่อเทียบกับรถยนต์ซิตี้คาร์ Honda City เจ้า Honda Brio Amaze แต่กระนั้นใบหน้าที่สวยก็มาตกม้าตายที่เสาซี ของตัวรถที่ออกแบบมาได้แค่โอเค เท่านั้น เสาที่โค้งแบบหักมุม เพื่อให้การนั่งที่ดีที่สุดในการนั่งหลังยังทำได้ไม่ดีนัก และเมื่อลงไปเจอฝากระโปรงหลัง มันก็ทำให้เรารู้สึกว่า รถนั้นยังไม่ลงตัวเท่าใดนัก ซึ่งที่จริงน่าจะทำได้ดี ถ้ายืดตัวถังออกไปอีก แต่นั่นก็อาจะทำให้มันปีเกลียวฮอนด้า ซิตี้ได้
การขับขี่ในเมืองของเราจบลงก่อนที่วันต่อมาจะเตรียมตัวไป อเมซ กันถึง ทับเบิก โดยอัตราประหยัดที่ได้คือ 16.8 กิโลเมตร/ลิตร ซึ่งถือว่าทำได้ดีพอควร
เราเดินทางออกจากเมืองกทม. บนถนนหลวงสายหลักมุ่งหน้าสู่เป้าหมายการทดสอบที่เพชรบูรณ์ ด้วยความเร็วเดินทางที่ใช้กันปกติ 110-120 ก.ม./ช.ม. ลองขับด้วยความเร็วสูงบ้าง ซึงก็ไม่น่าแปลกใจที่มันขับได้เพียง 145 ก.ม./ช.ม. ซึ่งก็เหมือนเดิมว่า ฮอนด้าเกรงว่ามันอาจจะไม่ปลอดภัยและจะไม่ใช่รถประหยัดตามที่พวกเขาตั้งใจหมายมั่นปั้นมือ
ระหว่างเดินทาง เรื่องหนึ่งที่พบ เป็นสิ่งที่เรียกว่า ฮอนด้าควรต้องพิจารณาโดยด่วนขอฝากตรงถึงทีมวิศวกรเลย คือ รถจะโคลงได้ง่ายเมื่อคนในรถ โดยเฉพาะด้านหลังมีการขยับตัวแรงๆ จะสามารถรู้สึกได้อย่างชัดเจน ซึ่งจากที่ลองรุ่นอื่นๆในกลุ่มเดียวกันมายังไม่เคยเจอเหตุการณ์ นี้ ซึ่งนี่อาจจะส่งผลถึงความปลอดภัยในการขับขี่ ยิ่งเมื่อนับว่า Honda Brio Amaze จะเป็นรถคันแรก สำรับมือใหม่หลายคนด้วย
เราพยายามวิเคราะห์ สิ่งที่เกิดขึ้นนี้อย่างต่อเนื่อง และท้ายสุดก็ได้ข้อสรุปว่า น่าจะเกี่ยวกับโครงสร้างตัวถังทีเบา อาจจะต้องพิจารณาในการปรับปรุงข้อบกพร่าองนี้เป็นกรณีเร่งด่วนพอสมควร แต่ในทางกลับกันเรื่องการนั่งถือว่าทำได้ดีมากๆ คนตัวใหญ่สามารถนั่งได้สบาย และไม่เป็นปัญหากับคนตัวสูงอย่างเราด้วยเช่นกัน มีพื้นที่วางขาที่เหลือเฟือ แถมท่านั่งที่คล้าย โซฟา ก็ทำให้ตัวรถนั้นนั่งสบาย เกินคาด เรียกว่าดี จนต้องยกนิ้วให้ ถ้าไม่นับเรื่องการโคลงจากการขยับตัว มันอาจจะเป็นรถนั่งที่ดีที่สุดในกลุ่มรถเล็กก็ว่าได้
ภารกิจขึ้นทับเบิกของเรานั้น หลายคนอาจจะมองว่าเป็นการทารุณรถ แต่เพื่อการวัดอัตราประหยัดที่มันใจได้ เราเติมน้ำมันอีครั้งเพื่อวัดอัตราประหยัดบนทางหลวงได้ 16.3 กิโลเมตร/ลิตร อาจจะปรับตัวลดลงเล็กน้อยแต่ก็ยังประหยัดอยู่พอตัว
เราเริ่มภารกิจขึ้นทับเบิกในเวลาดีช่วงบ่ายปราณสามโมงเย็น ใครที่เคยมาย่อมทราบความโหดของเส้นทางที่ขึ้นจากเพชรบูรณ์ดีว่า มันทั้งสูงชัน และคดเคี้ยว ซึ่งกับเครื่องบล็อกเล็ก 1.2 ลิตร ให้กำลัง 90 แรงม้า และแรงบิดสูงสุด110 นิวตันเมตร ย่อมถือว่าไม่น่ามีความเป็นไปได้เลยยิ่งทริปนี้จัดหนักด้วยผู้โดยสาร 4 คนและสัมภาระ ย่อมเป็นภารกิจที่ยากจะเป็นไปได้ด้วยซ้ำ
การไต่เขาของเราเริ่มขึ้น โดย ในระหว่างทางการเข้าโค้งและขึ้นเราเราต้องปรับมาใช้เกียร์ S เพื่อเรียกแรงบิดจากช่วงรอบเครื่องกลางๆ และ เราก็ใช้ความเร็วในการไต่ประมาณ 50 ก.ม./ช.ม. และ ก็วิ่งขึ้นไปเรื่อยๆ แม้จะเป็นเครื่องยนต์แบบ 4 สูบ แถวเรียง แต่ก็ต้องยอมรับว่ากำลังที่มีฟังดูเหมือนมากที่สุดในกลุ่มอีโค่คาร์ ก็ไม่ได้ช่วยได้มากในการขึ้นเขา เพราะ เมือมองอัตรากระบอกสูบและช่วงชักของเครื่อง 73X71.6 มม. ถือว่าลูกสูบมีขนาดที่ค่อนข้างเล็กเมื่อเทียบกับคู่แข่ง ซึ่งบางรุ่นเป็นเครื่องยนต์ 3 สูบ ก็จริง แต่ออกแบบให้มีความยาวช่วงชักถึง 90 ม.ม. เช่นเดียวกับ ขนาดลูกสูบที่สามารถโตได้กว่า อีก 2 ม.ม. (75 ม.ม.) แถมกำลังอัดที่น้อยกว่า ก็ย่อมทำให้เป็นปัญหาในเรื่องกำลัง ในยามที่ใช้งานจริงพอสมควร โดยเฉพาะช่วงทางเขาจะเห็นเรื่องนี้ชัดเจน ยิ่งเจอเนินชัน ที่คุณไม่มีโอกาสส่งขึ้นมา เครื่องจะอืดลงไปทันตา ส่วนหนึ่งเพราะเกียร์ไม่ยอมปรับอัตราทดรอ และหลายครั้งที่แม้จะขยี้คันเร่งแล้ว ก็ยังไม่สามารถช่วยอะไรได้มากมายนัก
ยิ่งระบบส่งกำลัง CVT ของ Honda Brio Amaze อาจจะเรียกว่าไม่ฉลาดเท่าที่ควรนัก เมื่อ ทำให้การขึ้นเนินชัน ต้องเค้นกำลังกันบ้าง แต่เมื่อขึ้นลงบ่อยๆ ระบบที่เรียกรู้การขับขี่จะช่วยได้พอสมควรในปรับอัตราทดแต่นั่นก็จนถึงเข้าค้อแล้ว ถึงจะเห็นความฉลาดนี้
จบทริปเราได้อัตราประหยัดมาที่ 9.7 กิโลเมตร/ลิตร จากการขับขึ้นๆลง เขาๆ และแน่นอนว่า Honda Brio Amaze ยังมีหลายเรื่องที่เราจะนำมาเล่าให้ฟัง คอยติดตามได้ในเร็วๆนี้