หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: วัดป่าสุนันทวนารามแถลงพระอาจารย์มิตซูโอะลาสิขา  (อ่าน 2107 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 11 มิ.ย. 13, 09:29 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 

วัดป่าสุนันทวนารามแถลงพระอาจารย์มิตซูโอะลาสิขา


วัดป่าสุนันทวนาราม อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี ออกแถลงการณ์ ยืนยันเรื่องการลาสิขาของ "พระอาจารย์ มิตซูโอะ คเวสโก" เป็นความจริง ขณะนี้ ท่านเดินทางไปต่างประเทศแล้ว

ภายหลังมีกระแสข่าวว่า พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก เจ้าอาวาสวัดป่าสุนันทวนาราม อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี ได้ลาสิกขาแล้ว เมื่อวันที่ 8 มิ.ย.ที่ผ่านมา และได้เดินทางออกจากประเทศไทยแล้ว เมื่อช่วงค่ำวันนี้ (10 มิ.ย.) ทางวัดป่าสุนันทวนาราม ได้ออกแถลงการณ์ เรื่องการลาสิกขาของ พระอาจารย์ มิตซูโอะ คเวสโก โดยระบุว่า ตามที่ปรากฏเป็นข่าวในสื่อต่าง ๆ ว่า พระอาจารย์มิตซูโอ ลาสิกขานั้น วัดสุนันทวราราม ขอยืนยันว่าเป็นความจริง ขณะนี้ท่านเดินทางไปต่างประเทศแล้ว โดยมีจุดหมายปลายทางที่ประเทศญี่ปุ่น บ้านเกิดของท่าน โดยจะยังคงทำงานเผยแพร่พระพุทธศาสนา ในฐานะของฆราวาสต่อ

ทั้งนี้ ในส่วนของมูลนิธิ และโครงการต่าง ๆ ที่ท่านได้ริเริ่มไว้ คณะทำงานจะยังคงดำเนินงานไปตามปกติ เนื่องจากพระอาจารย์ได้วางรากฐานไว้แข็งแรงแล้ว ขอให้พวกเราทุกคนรักเมตตาต่อกัน และดำเนินงานประหนึ่งเป็นครอบครัวเดียวกัน ดังความประสงค์ของพระอาจารย์ไว้ให้จงดี

จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบโดยทั่วกัน

(พระอาจารย์หนูพรม สุชาโต) รองเจ้าอาวาสและรักษาการแทนเจ้าอาวาส

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า

กระทู้ฮอตในรอบ 7 วัน

add
เรทกระทู้
« ตอบ #1 เมื่อ: 11 มิ.ย. 13, 10:10 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ได้ข่าวว่าหลวงพ่อไม่สบายจึงไปรักษาตัวที่ญี่ปุ่น

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #2 เมื่อ: 11 มิ.ย. 13, 10:23 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

เพราะทุกข์คือปุ๋ยของชีวิต'ปฏิบัติบูชา หลวงพ่อชา สุภทฺโท : พึ่งตนพึ่งธรรม โดย มนสิกุล โอวาทเภ
๑๖ มกราคม ๒๕๕๕ เวียนบรรจบอีกครั้ง นอกจากวันนี้เป็นวันครูแล้ว ยังเป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งของชาวไทยและชาวโลก เนื่องด้วยเป็นวันที่ พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) ผู้ก่อตั้งวัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี ละสังขารผ่านมา ๒๐ ปี คุณูปการอันยิ่งใหญ่ที่ท่านได้มอบไว้แก่มนุษยชาติก็คือการเผยแผ่พระธรรมคำสอนจากองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ผ่านการปฏิบัติมาตลอดชีวิต และจากการพบ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ต้นสายพระป่าแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เพียงครั้งเดียวเท่านั้น ท่านก็นำธรรมะจากครูบาอาจารย์มาปฏิบัติขัดเกลาจนหมดสิ้นกิเลส หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารอย่างสิ้นเชิง

มากไปกว่านั้น ท่านยังเปิดของคว่ำให้หงาย ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย สอนชาวไทยและชาวต่างชาติจนได้บวชเรียนปฏิบัติอย่างเข้มข้นจนสุดทางทุกข์ไม่น้อย คำสอนและวิธีการสอนของท่าน กระตุกเตือนใจเราให้ไม่ประมาทในชีวิตอันสั้นอยู่ตลอดเวลา ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า "มรรคผลไม่พ้นสมัย คนโง่เท่านั้นที่ปฏิเสธว่า ในพื้นดินไม่มีน้ำ ...แล้วไม่ยอมขุดบ่อ"

ในกาลสมัยอันสมควรแห่งการบูชาครูเช่นนี้ เราจึงขอน้อมนำธรรมะจาก พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก ชาวญี่ปุ่น เจ้าอาวาสวัดสุนันทวนาราม หนึ่งในพระป่าก้นกุฏิชาวต่างชาติ ที่หลวงพ่อชาบวชให้ และเคยอุปัฏฐากหลวงพ่อชาอยู่ช่วงหนึ่งมาฝาก ในช่วงที่ทางเนชั่นได้นิมนต์ท่านมาบรรยายธรรมให้พนักงานเมื่อปีที่แล้ว เพื่อเป็นการน้อมระลึกถึงพระคุณของครูที่แท้ ซึ่งหายได้ยากยิ่งในสังคมไทย และควรที่เราจะช่วยกันนำคำสอนของท่านมาปฏิบัติเพื่อยังประโยชน์ให้เกิดสุขสงบในครอบครัว สังคม ประเทศชาติ และสันติภาพในโลกได้ไม่ยากนัก แม้ว่า วัตถุนิยมจะนำหน้า แต่ถ้าหากเรามีพระธรรมนำทาง เชื่อได้ว่า ไม่เหลือบ่ากว่าแรงที่เราจะก้าวข้าวสิ่งยั่วยุกิเลสเราไปได้

ดังที่ท่านกล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า คนเราทุกคน ตั้งแต่เกิดมาถึงวันนี้ ต้องต่อสู้สารพัดอย่าง ชีวิตเราทุกคนอยากจะมีความสุขกันทั้งนั้น ทุ่มเท ทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อความสุขส่วนตัว ครอบครัว สังคม ประเทศชาติ แต่ความจริงของชีวิต ก็มีอุปสรรคมากมาย ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ชีวิตนี้เป็นทุกข์ ชีวิตนี้มีปัญหา มีอุปสรรคกันทั้งนั้น เมื่อเราต้องการความสุขในท่ามกลางอุปสรรค เราก็ต้องตั้งใจดี ที่จะคิดดี คิดถูก

"ข้อดีของคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าว่า เราสามารถมีความสุขที่แท้จริงได้ ในท่ามกลางทุกข์ สำหรับพระพุทธเจ้าและอริยสาวก ก็บรรลุความเป็นพระอรหันต์ ทางจิตใจจนบริสุทธิ์ เป็นพุทธะ เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน สำหรับพวกเราชาวพุทธ ถือว่าจริงๆ แล้ว ก็เป็นมนุษย์ทุกคน คนไทย ๖๕ ล้านคน มนุษย์ทั่วโลก ๖,๗๐๐ ล้านคน สิ่งที่มนุษย์เราต้องทำ อย่างน้อยที่สุดก็คือ ทำจิตใจของตัวเองเป็นสุขภาพใจดี เพราะชีวิตของเรา ประกอบด้วย ร่างกายและจิตใจ ทางกายเราต้องดูแล เมื่อเกิดเจ็บไข้ได้ป่วยต้องรีบรักษา แต่มนุษย์หลายคนก็มองข้ามไป สิ่งที่สำคัญที่สุด คือใจ

"ใจเป็นประธาน ใจเป็นหัวหน้าของชีวิต เมื่อเราเป็นมนุษย์ อย่างน้อยที่สุด เป็นสุขภาพจิตใจดี ก็เป็นเรื่องสำคัญ ถ้าใจไม่ดี ถึงแม้ว่า ได้รับยกย่องสรรเสริญ ถึงแม้ว่าอยู่กับคนดีขนาดไหนก็ตาม ถ้าใจเรา เสียใจง่าย ใจเสีย น้อยใจ กลัว โกรธ เมื่อจิตใจไม่ดี ไม่มีกำลังใจ แล้วก็หาความสุขมิได้ เพราะฉะนั้น เมื่อเราพิจารณาซึ่งชีวิต ก็มาพัฒนาจิตใจของเรา เป็นเรื่องสำคัญที่สุด การบำเพ็ญบารมีของพระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ สังเกตดู เมื่อมีอุปสรรคก็ตั้งสติ พยายามเพิ่มความดีทางจิตใจ คือการเพิ่มบารมี บางครั้งก็อาศัยขันติ บางครั้งก็อาศัยวิริยะ บางครั้งก็เมตตา บางครั้งก็ใช้ปัญญา เมื่อเจอปัญหาก็ให้เพิ่มกำลังใจ เพิ่มบารมีเพื่อให้ผ่านอุปสรรคด้วยดี เราชาวพุทธ เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นก็ถือโอกาสนี้เป็นโอกาสทองที่จะสร้างบารมี ไม่ใช่ว่า น้อยใจ ท้อแท้ เสียใจว่าทำไมปัญหาจึงเกิดขึ้นกับเรา แต่ถ้าเรากลับมาที่การวางจิตอย่างถูกต้องแล้ว ตั้งใจเรียนหนังสือ ตั้งใจทำงาน ตั้งใจประพฤติตัวให้ดี ตั้งใจทำความดีแก่สังคม โดยไม่ยึดติดในความดีเหล่านี้ ก็สามารถทำให้เรามีความสุขได้



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #3 เมื่อ: 11 มิ.ย. 13, 10:24 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

"เพราะชีวิตของเราที่ไม่น่าปรารถนา มักเกิดขึ้นมากมาย เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ เมื่อเราสามารถทิ้งได้ แม้ว่าปัญหาเกิดขึ้น เราก็ถือว่านี้คือโอกาสที่ดี ที่เราสร้างบารมีว่าอะไรที่เกิดขึ้นแก่จิตใจของเรา ถ้าเราสามารถคิดได้อย่างนี้ คิดแล้วชีวิตของเราก็เป็นประโยชน์ เมื่อเราถูกใจ ยินดีอะไรตามที่เราได้สมปรารถนา ก็รับความสุขด้วยจิตใจที่ดี ได้ เวลามีปัญหาก็ให้กำลังใจตัวเอง นี่คือเราต้องสร้างกำลังใจ สร้างบารมี เพราะทุกข์คือปุ๋ยแห่งชีวิต เมื่อมีความทุกข์เกิดขึ้น คือปุ๋ยบำรุงชีวิต ความทุกข์เป็นการสร้างบารมี เพราะฉะนั้น อย่ากลัวความทุกข์ การที่เราฟังเทศน์ฟังธรรมแล้วก็พยายาม รู้จักคิดดี คิดถูก นี่คือกำไรของชีวิต นี่เป็นสิ่งสำคัญที่สุด "

ท่านยังให้สติกับสื่อมวลชนด้วยว่า การแบ่งปันวิธีการให้คนมีสุขภาพจิตใจดีได้ นี่ก็เป็นหน้าที่ของศาสนา เป็นหน้าที่ของสื่อมวลชนเหมือนกันว่ามีอะไรดีๆ ให้แก่ประชาชน อย่างน้อยที่สุด สุขภาพใจดี เป็นประเด็นสำคัญ ถ้าเรามีสุขภาพใจดี เราก็สามารถผ่านอุปสรรคต่างๆ ได้ท่ามกลางความทุกข์"

แล้วสุขภาพใจไม่ดี เป็นอย่างไร ท่านอธิบายว่า ธรรมชาติของจิตเราทุกคนเป็นประภัสสร ผ่องใสโดยธรรมชาติ แต่ว่าเราผสมกิเลส ความอิจฉา ความไม่รู้ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ความขี้เกียจ ขี้ฟุ้งซ่าน ขี้น้อยใจ ขี้โกรธ ขี้เหนียว อะไรขี้ๆ ก็สะสมไว้ก่อน ความรู้สึกนึกคิดเหล่านี้ไม่ดี เห็นได้ชัดว่า นี่คือสุขภาพใจไม่ดี มีรากฐานมาจากการไม่ยอมรับความจริง

ทำอย่างไรจึงจะยอมรับความจริงได้ ท่านแนะว่า เพราะทุกอย่างมีเหตุที่ทำให้ปัจจุบันเกิดปัญหามากมาย จริงๆ แล้ว ปัญหาเรื่องโลกธรรมแปดเป็นเรื่องธรรมชาติ เมื่อมีลาภ มียศ อันสูงสุดแล้ว การเสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์ก็จะตามมาสลับกัน ทั้งสองทาง น่าปรารถนาก็ดี ไม่น่าปรารถนาก็ดี เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ให้มองว่า ทุกสิ่งทุกเรื่องก็เป็นอดีต อย่าเอามาคิดให้ตัวเองทุกข์เพิ่มขึ้น

ท่านให้เราทบทวนศึกษาประวัติของพระโมคคัลลานะเป็นตัวอย่าง

พระโมคคัลลานะ เกิดในตระกูลที่ดี ไม่นานก็บวชพระ ปรารภความเพียร ในวันที่ ๘ ก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์ เป็นอัครสาวกผู้เป็นเลิศด้านอิทธิฤทธิปาฏิหาริย์ ช่วงสุดท้ายของชีวิต โจรห้าร้อยมาเอาชีวิต พระโมคคัลลานะก็พิจารณาดูว่า เอ อดีตชาติทำอะไร ก็เห็นว่า ประมาณ ๑๐๐ ชาติก่อน ประทุษร้ายพ่อแม่ หรือฆ่าพ่อแม่ มารับกรรมแล้วเศษกรรมที่เหลืออยู่ยังส่งผลในปัจจุบัน วันนี้ ใครเจอเหตุการณ์ไม่ดีเกิดขึ้น สาเหตุมาจากไหน อดีตร้อยชาติก่อน ยังออกผลในวันนี้

"เพราะเหตุนี้พระพุทธเจ้าบอกว่า เมื่ออะไรจะเกิดขึ้นก็ตาม เหตุการณ์ไม่น่าปรารถนาเกิดขึ้น เรามักจะคิดว่าเป็นกฎแห่งกรรม อย่างเช่น รถชนเสาไฟฟ้า แขนหักขาหัก เราก็คิดไปว่า เอเราทำอะไรไว้จึงเกิดเหตุการณ์อย่างนี้เกิดขึ้น แต่พระพุทธเจ้าว่า นี่เป็นเรื่องอจินไตย อย่าคิด คิดเท่าไรก็ไม่รู้ ไม่มีใครรู้ได้ มีพระพุทธเจ้าเท่านั้นที่รู้ได้ อะไรที่เกิดขึ้นในวันนี้ สิบชาติ ร้อยชาติก่อน ถ้ามาคิดเรื่องกฎแห่งกรรมแล้วสับสนมากมาย ทุกข์มากก็ไม่จำเป็น พระพุทธเจ้าสอนไว้ว่า อย่ายินดียินร้ายกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อเราตั้งใจสร้างความดี ทำดีที่สุดแล้วในชีวิต อะไรจะเกิดขึ้นมันก็เกิดแล้ว แต่ก็น่าเชื่อได้ว่า อดีตเป็นเหตุ ปัจจุบันเป็นผล และปัจจุบันเป็นเหตุ อนาคตเป็นผล

"อารมณ์ของเราก็เปรียบเทียบกับลมฟ้าอากาศ ร้อนจัด หนาวจัด มีฝนมากไป ไม่มีฝน พายุ บางครั้งก็เป็นเหมือนสึนามิ มันเป็นธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับชีวิตของเรา ก็อย่ายินดี ยินร้าย ทำใจเป็นปกติ หนักแน่น จุดนี้เป็นจุดสำคัญ เมื่อเราพิจารณาเปรียบเทียบกับธรรมชาติ แล้วก็ทำจิตใจของเรานี้ โอปนยิโก น้อมเข้ามาใส่ตัว ดูกายและดูจิตใจ ดูไปเรื่อยๆ เราจะเข้าใจว่า ชีวิตของเรานี้เป็นทุกข์ เพราะเราไม่เข้าใจตัวเอง ถ้าเราเข้าใจตัวเอง เราจะเห็นความทุกข์เป็นครู และขอบคุณความทุกข์ที่ทำให้เราไม่หลงไปยึดติดอีก"



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #4 เมื่อ: 11 มิ.ย. 13, 10:25 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
ผมก็อึ้งครับ...
ผม..หากสงสัยอะไร ก็มักจะเก็บงำใว้ แล้วค่อยๆพิจารณาในช่วงดึกๆ.. พระอาจารย์ มิตซูโอ๊ะ ลาสิกขา..
ท่านไฉนลาสิกขา..เป็นคำถามที่ถามใจตนเองของผม..

ผมมักจะเป็นคนครุ่นคิด
จากเรื่องการลาสิกขาบทของพระอาจารย์มิตซูโอะ
พระพุทธองค์..ทรงเป็นอรูป..ไร้รูป..มีเพียงธรรมของพระองค์เท่านั้นที่เป็นรูป แต่ไร้สะสาร
เครื่องแบบของนักบวช เป็นแค่ฉากกางกันไม่ให้สาวกทะลุกันเท่านั้น..ธรรมมะของพระพุทธองค์ ได้ตั้งมั่นคงอยู่ในจิตแล้ว..แม้นจะไร้อาภรณ์ห่อห่ม ธรรมมะของพระพุทธองค์ก็ยังคงแฝงอยู่ในจิตนั้นนั่นเอง

พระอาจารย์มิตซูโอะ ท่านได้บอกใว้ว่า ท่านเป็นคนญี่ปุ่น สุดท้ายของชีวิตของท่าน ท่านก็จะขอทำประโยชน์ให้แก่คนญี่ปุ่น...

สุดท้าย การดำเนินการถ่ายทอด เผยแผ่พุทธศาสนาก็จะยังดำเนินต่อไป..
ยินดีกับชาวญี่ปุ่น..อริยบุคคลได้เดินทางกลับยังถิ่นฐานมาตุภูมิแล้ว..และธรรมขององค์ศาสดา ก็จะแพร่ขยายที่นั่นอย่างแน่นอน..
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #5 เมื่อ: 11 มิ.ย. 13, 10:28 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ทุกข์เพราะเหงาและว้าเหว่
โดย พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก


ดิฉันเคยอยู่อุบลมีเพื่อนฝูงมาก เราไปวัดด้วยกัน ที่อุบลมีวัดให้เราไปหลายแห่ง เราเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อชา ขณะนี้เราย้ายมาอยู่โคราช ที่นี่เป็นบ้านเกิดของดิฉัน แต่ที่นี่ไม่มีวัดให้ไป ไม่มีเพื่อน สามีก็ไปทำงานต่างจังหวัด ลูกก็ไปเรียนหนังสือ ดิฉันเหงา ว้าเหว่ สับสนมาก คิดไม่ตก ยิ่งคิดยิ่งทุกข์ ดิฉันอยากซื้อรถเบนซ์สัก 1 คัน เพื่อจะขับไปวัด หรือไม่ก็คิดอยากย้ายไปอยู่กรุงเทพฯ เพราะที่นั่นดิฉันจะมีเพื่อน

ท่านอาจารย์สอนดังนี้

อาจารย์อ่านจดหมายของคุณโยมก็พอเข้าใจปัญหาแล้ว อาจารย์เห็นว่าคุณโยมควรเอาหลักธรรมะของพระพุทธเจ้ามาปรับปรุงชีวิตของตัวเอง ความจริงปัญหาสิ่งแวดล้อมของคุณโยมในปัจจุบันก็ไม่รุนแรง เป็นปัญหาธรรมดาที่เพื่อนร่วมโลกก็มีประสบการณ์อยู่ เมื่อเราระลึกถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าว่า “ปัญหาเกิดที่ไหน ก็อย่าหนี อย่าถอย ให้สู้ที่นั่น แก้ปัญหาที่นั่นก่อน โดยเอาหลักธรรมะมาต่อสู้ แก้ไขคลี่คลายปัญหา”

การย้ายบ้านหรือการซื้อรถเบนซ์ไปที่วัด อาจารย์ก็ไม่ปฏิเสธ แต่ไม่ใช่เดี๋ยวนี้ เดี๋ยวนี้ยังไม่ถึงเวลาที่จะเลือกทางนั้น สิ่งแวดล้อมปัจจุบันนี้เป็นปัจจัยที่ทำให้เราทุกข์ก็จริงอยู่ แต่ก็อย่ารีบร้อนแก้ไขปัจจัยภายนอก หมายถึงการย้ายบ้านหรือการซื้อรถ อันนั้นไม่ใช่การแก้ปัญหาตรงจุด ถ้าเราเลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งเดี๋ยวนี้ ปัญหาส่วนน้อยก็หมดไป แต่ปัญหามากๆ อาจจะตามมาอีก ปกติก็เป็นอย่างนั้น

อาจารย์แนะนำให้อยู่ที่โคราชที่อยู่ปัจจุบันนี้ไว้ก่อน ทุกข์ที่เกิดขึ้นก็มีเหตุปัจจัย คือทุกข์เพราะไม่มีเพื่อน ไม่มีวัดจะไป อันนี้เป็นปัจจัย เหตุก็อยู่ที่ใจเรา ใจเราไม่มีกำลัง ใจร้อน อันนี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์

พระพุทธเจ้าตรัสว่า ความดับทุกข์ก็มีอยู่ วิธีดับทุกข์ก็มีอยู่ เราต้องค่อยๆ ศึกษา เอาอริยสัจ 4เป็นที่พึ่งของเรา น้อมมาดูใจ ใจก็เป็นทุกข์ เหตุที่เกิดทุกข์ก็อยู่ที่ใจ ความดับทุกข์ก็อยู่ที่ใจนะ ไม่ได้อยู่ที่ปัจจัยภายนอก ไม่ได้อยู่ที่เพื่อน ไม่ได้อยู่ที่วัด ไม่ได้อยู่ที่บ้านใหม่ ไม่ได้อยู่ที่รถเบนซ์

ถ้าเราพิจารณาตามหลักทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ทั้งหมดก็อยู่ที่ใจ การที่เราเหงา ไม่มีเพื่อน เป็นปัจจัยทำให้เราทุกข์ การย้ายบ้าน การซื้อรถเป็นการเปลี่ยนปัจจัย ไม่ใช่การแก้ตรงจุด พระพุทธองค์เน้นให้แก้เหตุแล้วทุกข์ก็ดับได้ ฉะนั้นให้ตั้งสติพิจารณาอริยสัจ 4

อาจารย์รับรองและเชื่อมั่นว่า แม้ภายในสิ่งแวดล้อมทุกอย่างในปัจจุบันเดี๋ยวนี้ ถ้าจิตเราน้อมเข้าสู่ธรรมะ ปัญหาทุกสิ่งทุกอย่างก็หมดไปได้ เราก็จะหาความสุขและความสงบได้ เราต้องเชื่อมั่น ต้องใช้ปัญญาพิจารณา ภาวนาเปลี่ยนจิตใจของเรา พัฒนาทำใจของเราให้ดีขึ้น อันนี้จึงจะเป็นการแก้ปัญหาตรงจุด

อดีตที่ล่วงไปแล้วไม่ต้องคำนึงถึง อนาคตที่ยังไม่มาก็ไม่ต้องห่วง พยายามปล่อยวางอดีต อนาคต เอาปัจจุบันเป็นสำคัญ ทำปัจจุบันให้ดี พยายามทำปัจจุบันเดี๋ยวนี้ให้ดี อดีต อนาคต ปล่อยวาง คิดอดีต คิดอนาคตเท่าไรก็แก้ปัญหาไม่ได้ คิดเท่าไรก็ไม่ช่วยแม้แต่นิดเดียว ยิ่งคิดยิ่งทำให้ปัญหามากขึ้น เพราะฉะนั้น จึงพยายามคิดน้อยๆ อย่าคิดอดีต อนาคต พยายามตัดอดีต อนาคต ออกจากจิตใจ

สิ่งที่ทำอยู่ในปัจจุบัน ตั้งใจทำให้ดี ทำความรู้สึกตัวในอิริยาบท ยืน เดิน นั่ง นอน ทำอยู่กับบ้าน ทำคนเดียวนี่แหละ การไม่มีเพื่อนเป็นโอกาสที่เราจะได้ตั้งใจปฏิบัติกับตัวเอง อยู่ที่บ้านก็ปฏิบัติได้เหมือนกับไปปฏิบัติที่วัดนะ ไม่ต้องไปวัดก็ได้ การอยู่บ้านคนเดียวเราก็จะมีโอกาสปฏิบัติ ภาวนา ดูจิต ดูใจของเราได้เต็มที่

ต่อไปนี้เป็นข้อวัตรที่อาจารย์มอบให้โยมสำหรับปฏิบัติที่บ้านนะ

ข้อวัตรสำหรับคุณโยมเพื่อปฏิบัติที่บ้าน

(1) ให้สวดมนต์ทำวัตร วันละ 3 เวลา เช้า กลางวัน เย็น ครั้งละ 1-2 ชั่วโมง

เช้า

- ก่อนทำอาหาร ก่อนดูแลลูก ให้ทำวัตรเช้า ครึ่งชั่วโมง
- ทำวัตรเสร็จแล้ว เดินจงกรม ครึ่งชั่วโมง
- นั่งสมาธิ ครึ่งชั่วโมง
- เมื่อเคยชินแล้วก็ขยายเวลาไปตามสะดวก

บ่ายโมง

- ทำอีกครั้งหนึ่ง

ก่อนนอน

- ทำอีกครั้งหนึ่ง ทำวันละ 3 เวลา

(2) พยายามฟังเทปเทศนาของหลวงพ่อชาฯ สัก 1 ม้วน ทุกวันๆ ละ 1 ครั้ง
อาจจะใช้เวลาก่อนไปรับลูกก็ได้ เทปฟังม้วนเดียว (ที่ชอบ) ซ้ำๆ ก็ได้
ไม่ต้องเปลี่ยนมาก แต่ให้ฟังทุกวันเป็นกิจวัตร

(3) ให้อ่านหนังสือธรรมะ อาจารย์ส่ง “พลิกนิดเดียว” มาให้ พร้อมทั้งขีดเส้นใต้มาให้ด้วย อ่านซ้ำๆ ๆ ๆ ทุกวันๆ นะ อ่านออกเสียงดังๆ ก็ได้ เขียนด้วยก็ได้ เขียนซ้ำไปซ้ำมาอยู่อย่างนั้น อาจจะเปลี่ยนอารมณ์ได้ เป็นไปได้มาก แล้วคุณโยมจะมีความสุขใจมากก็ได้ ที่นี่ คนเดียวนี่แหละนะ

พยายามระวังความรู้สึกนึกคิด
เพ่งพิจารณาว่าความรู้สึก ความนึกคิดของเราไม่แน่นอน
อย่าเชื่อความคิด อย่าเชื่อความรู้สึก
มองเห็นความรู้สึกเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
เป็นเรื่องที่เราปรุงเอง คิดเอง ไม่มีอะไรหรอก

เมื่อเราเห็นความรู้สึกนึกคิดเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
จิตเป็นศีล เป็นสมาธิ เกิดมีเมตตาจิตแล้ว
อยู่คนเดียวก็เกิดปีติ เกิดสุขได้
พระท่านปฏิบัติอยู่ในป่าองค์เดียว
เมื่อจิตมีเมตตาแล้ว ก็มีความสุขตลอด
เมื่อใจเรามีเมตตา เราก็ไม่เหงา
ไม่เรียกร้องความสนใจ ความรัก จากผู้อื่น
เพราะใจเรามีเมตตาแล้ว ใจเราหนักแน่นแล้ว ใจเรามีกำลังแล้ว

คุณโยมเป็นคนที่โชคดีมากที่มีโอกาสได้อยู่คนเดียว ได้ปฏิบัติ
โยมคนอื่นที่มาหาอาจารย์หลายคนมีปัญหาปฏิบัติไม่ได้
เพราะไม่มีโอกาสอยู่คนเดียว
เจริญพร ขอให้คุณโยมสบายๆ นะ
ที่มา : http://www.dhammajak.net



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #6 เมื่อ: 11 มิ.ย. 13, 10:36 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

สวัสดีครับคุณเฮโลครับ

ได้ข่าวว่าท่านไม่สบายเป็นเบาหวานและกลับไปรักษาตัวที่ญี่ปุ่นครับ เมื่อเช้าดูบ๊อกไม่มีเมลของคุณเลยเข้ามาคุยในนี้ครับคุณเฮโลครับ

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #7 เมื่อ: 11 มิ.ย. 13, 10:37 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก
(Venerable Ajahn Mitsuo Gavesako)
วัดป่าสุนันทวนาราม ต.ไทรโยค อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี
เป็นที่ทราบกันดีว่า เจ้าประคุณพระโพธิญาณเถร(หลวงพ่อชา สุภัทโท)อดีตเจ้าอาวาสแห่งวัดหนองป่าพง ต.โนนผึ้ง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี ท่านคือเอกอุพระกรรมฐานสายมหานิกาย ที่ได้เผยแผ่พระพุทธศาสนาไปในหลายประเทศ ทั้งยุโรปและอเมริกา ปัจจุบันหลวงพ่อชามีทายาทธรรมถึง ๑๑๗ สาขาเป็นสักขีพยาน
จำเพาะวัดสาขาลำดับที่ ๑๑๗ ของวัดหนองป่าพง เพชรแท้แดนปลาดิบ “พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก” พระภิกษุชาวญี่ปุ่น เจ้าอาวาสวัดป่าสุนันทวนาราม บ้านท่าเตียน ต.ไทรโยค อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี ยังทำหน้าที่เผยแผ่ธรรมเป็นกิจวัตร ศิษย์ท่านไซร้มีทั้งคนไทยและคนต่างแดน
พระอาจารย์มิตซูโอะ มีนามเดิมว่า มิตซูโอะ ชิบาฮาชิ เกิดเมื่อวันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๔ ตรงกับวันจันทร์ แรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ ปีเถาะ ณ จังหวัดอีวาเต้ ประเทศญี่ปุ่น จบการศึกษาระดับไฮสคูล (ปวช. หรือ มศ. ๕) สาขาเคมี ณ จังหวัดโมริโอก้า ประเทศญี่ปุ่น เมื่อสำเร็จการศึกษา ท่านทำงานเก็บเงินได้จำนวนหนึ่งแล้ว จึงออกเดินทางสัญจรรอนแรมจากบ้านเกิดเมืองนอนเพื่อแสวงหาสัจธรรมของชีวิต ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๔ โดยได้ท่องเที่ยวเพื่อศึกษาชีวิต สังคม
ประเพณี และวัฒนธรรมของประเทศต่างๆ ในเอเชียใต้ ในตะวันออกกลาง เช่น อินเดีย, เนปาล, อิหร่าน และในยุโรป เป็นเวลา ๒ ปีเศษ แล้วเปลี่ยนความตั้งใจที่จะไปแอฟริกา วกกลับสู่อินเดีย
พ.ศ. ๒๕๑๗ เมื่อเดินทางถึงพุทธคยา ประเทศอินเดีย ท่านจ้องมองเห็นพระพุทธรูปที่ประดิษฐานอยู่ ก็ระลึกถึงพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ และประจักษ์ขึ้นมาในใจว่า “นี่คือสิ่งที่แสวงหา สัจจะความจริงอยู่ภายในกายกับใจของเรานี้เอง ความสุขที่แท้จริงอยู่ที่ใจ ทุกคนทุกชีวิตสามารถพ้นทุกข์ได้” ท่านจึงหยุดการแสวงหาจากภายนอก เข้าสู่การแสวงหาภายใน

จากนั้นท่านก็ได้ไปฝึกโยคะอยู่ที่สำนักโยคีแห่งหนึ่งในประเทศอินเดียนั่นเอง และก็เริ่มมีประสบการณ์โยคะบ้าง ท่านเกิดความพอใจ คิดว่าจะเป็นโยคีอยู่ที่อินเดียตลอดชีวิต แต่บังเอิญวีซ่าหมด มีคนแนะนำให้เดินทางมาประเทศไทย ต่อมาก็มีผู้แนะนำท่านให้ไปกราบหลวงพ่อชา สุภัทโท ที่จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งท่านก็ได้เป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อตั้งแต่บัดนั้น



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #8 เมื่อ: 11 มิ.ย. 13, 10:39 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

๏ การบรรพชาและอุปสมบท
ปี พ.ศ. ๒๕๑๗ ขณะอายุ ๒๓ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ต่อมาเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ หลังจากบรรพชาเป็นสามเณรได้ ๓ เดือนก็พยายามแสวงหาสถานที่ปฏิบัติธรรม ทีแรกเพื่อนก็พาไปดูวัดที่ภาคใต้ ๓-๔ วัด เป็นวัดที่มีชาวต่างชาติไปปฏิบัติกัน แต่ท่านดูแล้วก็ยังไม่รู้สึกตกลงใจ หลังจากนั้นก็มีคนแนะนำให้ไปจังหวัดอุบลราชธานี ให้ไปหาหลวงพ่อชา ตอนนั้นก็มีพระชาวอินเดียที่พูดภาษาไทยได้พาไป นั่งรถทัวร์จากกกรุงเทพมหานครไปถึงจังหวัดอุบลราชธานี แล้วท่านก็ยืนงงๆ อยู่ว่าจะไปวัดหนองป่าพงได้อย่างไร


ณ วัดหนองป่าพง ท่านได้พบกับพระฝรั่งชื่อ เขมธัมโม ซึ่งก็เข้ามาช่วยแนะนำ เมื่อฉันจังหันเสร็จแล้วท่านสุเมโธและพระฝรั่งอีก ๔-๕ รูป ก็พาไปหาหลวงพ่อชาที่กุฏิ เมื่อบอกความประสงค์ที่จะมาขอปฏิบัติที่วัดหนองป่าพง หลวงพ่อชาซักถามว่ามาจากไหน มายังไง แล้วก็ถามชื่อ พระอาจารย์มิตซูโอะ ตอบว่า ชื่อ “ชิบาฮาชิ” (ชื่อมิตซูโอะ แต่ธรรมเนียมญี่ปุ่นจะใช้นามสกุลเป็นชื่อแนะนำตัวเอง) หลวงพ่อชาท่านก็จำเทียบเคียงเป็นภาษาไทยว่า สี่บาทห้าสิบ นับจากวันนั้นหลวงพ่อชาก็เรียกพระอาจารย์มิตซูโอะสั้นๆ ว่า “สี่บาทห้า” มาตลอด

“คำสอนข้อแรกที่หลวงพ่อชาสอน คือ เราต้องอดทน”

ครั้นเมื่อได้พบกับหลวงพ่อชาแล้ว ท่านเกิดความรู้สึกซาบซึ้งในหลักธรรมและข้อวัตรปฏิบัติ จึงได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี เมื่อวันที่ ๑๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๘ ตรงกับวันเสาร์ ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๘ ปีเถาะ เวลา ๑๒.๐๐ นาฬิกา ขณะอายุได้ ๒๔ ปี โดยมีเจ้าประคุณพระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท) เป็นพระอุปัชฌาย์, พระราชภาวนาวิกรม (หลวงพ่อเลี่ยม ฐิตธมฺโม เจ้าอาวาสวัดหนองป่าพง รูปปัจจุบัน) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระวิฑูรย์ จิตฺตสัลโล เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า “คเวสโก” (อ่านว่า คะ-เว-สะ-โก ) ซึ่งแปลว่า “ผู้แสวงหาซึ่งฝั่ง” (seeker) ถือได้ว่าท่านเป็นพระภิกษุสงฆ์รุ่นแรกที่หลวงพ่อชาอุปสมบทให้ จึงเรียกว่าเป็นสัทธิวิหาริก

รุ่นแรกของหลวงพ่อชา



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #9 เมื่อ: 11 มิ.ย. 13, 10:40 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

๏ ลำดับการจำพรรษา
จากนั้นได้ศึกษาและปฏิบัติธรรมอยู่กับหลวงพ่อชาตลอดระยะเวลา ๕ ปี แต่ในช่วงเข้าพรรษา ได้จำพรรษาอยู่ตามวัดสาขาของหลวงพ่อชา ภายในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ดังนี้คือ


พรรษาที่ ๑ ได้จำพรรษาที่วัดหนองป่าพง ต.โนนผึ้ง อ.วารินชำราบ

พรรษาที่ ๒ ได้จำพรรษาที่วัดป่านานาชาติ ต.บุ่งหวาย อ.วารินชำราบ โดยมีพระอาจารย์สุเมโธ (ปัจจุบันคือพระราชสุเมธาจารย์) เป็นหัวหน้าคณะ
พรรษาที่ ๔ ได้จำพรรษาที่วัดถ้ำแสงเพชร (วัดศาลาพันห้อง) ต.หนองมะแซว อ.เมือง จ.อำนาจเจริญ

พรรษาที่ ๕ ได้จำพรรษาที่วัดก่อนอก ต.แสนสุข อ.วารินชำราบ


พ.ศ. ๒๕๒๓-๒๕๒๔ เข้าห้องกรรมฐานเก็บอารมณ์ที่วัดสังฆทาน (หลวงพ่อสนอง กตปุญโญ) ต.บางไผ่ อ.เมือง จ.นนทบุรี เป็นเวลา ๒ ปี


พ.ศ. ๒๕๒๕ ธุดงค์และปฏิบัติธรรมที่ประเทศอินเดีย

พ.ศ. ๒๕๒๖-๒๕๒๘ ปฏิบัติธรรมที่วัดหนองป่าพงและวัดป่านานาชาติ พร้อมทั้งอุปัฏฐากรับใช้หลวงพ่อชาขณะท่านอาพาธ ร่วมกับคณะศิษยานุศิษย์หลวงพ่อชา เป็นเวลา ๓ ปี
พ.ศ. ๒๕๒๙ เดินทางกลับประเทศญี่ปุ่นเป็นครั้งแรกในรอบ ๑๔ ปี หลังจากมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๔



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #10 เมื่อ: 11 มิ.ย. 13, 10:41 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

สัทธิวิหาริกรุ่นแรกของหลวงพ่อชา
ท่านเป็นสัทธิวิหาริกรุ่นแรกของหลวงพ่อชา ได้จำพรรษาที่วัดหนองป่าพง และได้อุปัฏฐากดูแลหลวงพ่ออย่างใกล้ชิดเป็นเวลานานด้วยความเคารพบูชาอย่างสูง รวมทั้ง ท่านอยู่ในคณะผู้บุกเบิกวัดป่านานาชาติ ซึ่งมีพระอาจารย์สุเมโธ (ปัจจุบันคือพระราชสุเมธาจารย์ (โรเบิร์ต สุเมโธ) หรือเจ้าคุณโรเบิร์ต เจ้าอาวาสวัดอมราวดี เมืองฮาร์ดฟอร์ด ประเทศอังกฤษ) เป็นหัวหน้าคณะ

ตลอดระยะเวลาที่ท่านได้ศึกษาและปฏิบัติธรรมอยู่ในประเทศไทยนั้น ท่านบำเพ็ญเพียรมาหลายรูปแบบ และธุดงค์มาแล้วหลายแห่ง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทั้งที่อุดมสมบูรณ์และที่ทุรกันดาร ในประเทศไทยท่านได้ใช้เวลาส่วนใหญ่ในการธุดงค์เพื่อหาความสงบวิเวกไปตามภาคต่างๆ ท่านได้รู้จักและเห็นความเป็นอยู่ของคนไทยทั่วทุกภาค ทั้งรู้สึกสำนึกในความศรัทธา ความเสียสละ และความเคารพของคนไทยที่มีต่อพระภิกษุสงฆ์ ซึ่งมีส่วนทำให้ท่านยิ่งเร่งทำความเพียรมากขึ้น
การที่พระอาจารย์มิตซูโอะ ได้มาประเทศไทย และได้บวชเป็นศิษย์ชาวต่างชาติท่านหนึ่งของเจ้าประคุณพระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท) นั้น เป็นเรื่องที่ “เป็นไปเอง” ตั้งแต่เด็กๆ ท่านคิดเสมอว่า “อะไรคือชีวิตที่น่าพอใจ...ชีวิตน่าจะมีอะไรที่มีคุณค่ามากกว่านี้...”
๏ การเดินธุดงค์ในประเทศญี่ปุ่น
ต่อมาในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๓๒ พระอาจารย์มิตซูโอะ พร้อมลูกศิษย์ที่เป็นพระภิกษุชาวญี่ปุ่นอีกองค์หนึ่งชื่อ พระญาณรโต ได้ออกเดินทางไปประเทศญี่ปุ่น เพื่อเดินธุดงค์จากสนามบินนาริตะ ถึง PEACE MEMORIAL PARK เมืองฮิโรชิมา การเดินธุดงค์ครั้งนี้ใช้เวลาทั้งหมด ๗๒ วัน เป็นการเดินทางด้วยเท้ากว่า ๑,๐๐๐ กิโลเมตร

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #11 เมื่อ: 11 มิ.ย. 13, 10:43 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ตลอดทางได้โปรดศรัทธาญาติโยมทั้งคนไทยและคนญี่ปุ่นไปด้วย โทรทัศน์ของญี่ปุ่นติดตามถ่ายภาพทำสารคดีออกอากาศ เป็นการเผยแผ่พุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทได้อย่างดี รวมการเดินทั้งหมดประมาณ ๒ ล้าน ๒ แสนก้าว หลังจากนั้นท่านจึงได้อยู่จำพรรษา ณ วัด SHINAGAWA-JI ในกรุงโตเกียว
การเดินธุดงค์ครั้งนี้ พระอาจารย์มิตซูโอะ และพระญาณรโต ตั้งใจเดินเพื่อเป็นการระลึกถึงสันติภาพของโลก และตลอดการเดินธุดงค์นั้นท่านยังคงเคร่งครัดต่อพระวินัยโดยไม่มีการยืดหยุ่น คือการไม่ถือเงิน และการฉันมื้อเดียวด้วยการอาศัยอาหารที่ได้จากการบิณฑบาตหรืออาหารที่มีผู้จัดถวาย นอกจากนั้นพระภิกษุทั้ง ๒ รูป ยังได้สมาทานการเดินธุดงค์โดยไม่มีการนั่งรถ นับตั้งแต่สนามบินนาริตะจนถึงเมืองฮิโรชิมา
ดังนั้นระหว่างการเดินทาง ท่านได้ประสบและพบเห็นกับสิ่งต่างๆ มากมาย ที่ทำให้ท่านหวนระลึกได้ว่าสันติภาพที่แท้จริงจะเกิดขึ้นในโลกได้ ก็ต่อเมื่อชาวโลกทั้งหลายละความเห็นแก่ตัว โดยการให้ทาน ๑๐ ประการเป็น “ทานจักร” แล้วสังคมของเรา โลกของเรา ก็จะมีแต่ความสงบสุขและความร่มเย็นโดยไม่ต้องสงสัย ในประเทศญี่ปุ่น เด็กๆ และเยาวชนได้รับการปฏิบัติราวกับเป็นสมบัติอันมีค่า เพราะชาวญี่ปุ่นถือว่าเด็กและเยาวชนคือทรัพยากรที่จะเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต และด้วยความปรารถนาที่จะเห็นเด็กไทยมีโอกาสเหมือนเด็กญี่ปุ่นบ้าง พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก จึงได้ปรารภปัญหาดังกล่าวรวมทั้งความประสงค์ในการสงเคราะห์เด็กๆ ของไทยแก่ญาติโยมชาวญี่ปุ่น ซึ่งท่านเหล่านั้นเมื่อได้ฟังแล้วก็ยินดีสนับสนุนในการจัดหาทุนเพื่อโครงการนี้กันอย่างเต็มที่ โดยเริ่มแรกได้ถวายทุนมาเป็นจำนวนเงิน ๑๖๐,๐๐๐ บาท



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #12 เมื่อ: 11 มิ.ย. 13, 10:44 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

๏ จัดตั้งมูลนิธิมายา โคตมี




ดังนั้น ในปลายปี พ.ศ. ๒๕๓๒ เมื่อพระอาจารย์มิตซูโอะ ได้เดินทางกลับถึงประเทศไทย ท่านจึงได้เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับความดำริของท่านและการสนับสนุนจากสาธุชนชาวญี่ปุ่นให้ศรัทธาญาติโยมชาวไทย อาทิเช่น คุณสิริลักษณ์ รัตนากร, คุณวิชา มหาคุณ, คุณสุขสันต์ จิรจริยาเวช และคุณดารณี บุญช่วย ฟัง ท่านทั้ง ๔ เห็นดีและสนับสนุนในกุศลเจตนาของพระอาจารย์ และมีความเห็นว่าน่าจะได้ดำเนินการในรูปของมูลนิธิ
ในที่สุดด้วยความร่วมมือจากทุกฝ่าย คุณสุขสันต์ จิรจริยาเวชและผู้ช่วยคือคุณสุกัญญา รัตนนาคินทร์ จึงได้เริ่มจัดตั้งและจดทะเบียนมูลนิธิจนแล้วเสร็จเป็นมูลนิธิมายา โคตมี ในวันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๓ โดยมีคุณมนูญ เตียนโพธิ์ทอง อนุเคราะห์สถานที่ให้เป็นที่ตั้งของมูลนิธิ
ชื่อของมูลนิธิ “มายา โคตมี” นั้น มาจากพระนามของพระนางสิริมหามายา พระพุทธมารดา และพระนางปชาบดีโคตมี พระน้านาง ซึ่งเป็นพระมารดาเลี้ยงของพระพุทธเจ้า เพื่อเป็นการระลึกถึงพระคุณของพระมารดาทั้ง ๒ พระองค์ ที่ได้ทรงทะนุถนอมเลี้ยงดูเจ้าชายสิทธัตถะจนเติบใหญ่ กระทั่งตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ผู้ทรงเปี่ยมไปด้วยพระเมตตาและคุณประโยชน์อันหาค่ามิได้แก่ชาวโลก ตราบเท่าทุกวันนี้

สำหรับตราสัญญลักษณ์ของมูลนิธินั้น เนื่องจากมูลนิธิมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ความช่วยเหลือสนับสนุนด้านการศึกษาและจริยธรรมแก่เด็กและเยาวชนที่ขาดแคลนในชนบท พระอาจารย์มิตซูโอะจึงเห็นควรที่จะอัญเชิญพระรูปของพระพุทธองค์ปางประสูติประทับยืนบนดอกบัว เบื้องหน้าของวงล้อแห่งทานจักร ๑๐ ประการ อันเป็นหัวใจของมูลนิธิ เป็นสัญญลักษณ์ของมูลนิธิ โดยล้อมรอบด้วยวงกลม ๒ ชั้น ซึ่งภายในวงกลมด้านบนมีชื่อภาษาไทยว่า “มูลนิธิมายา โคตมี” ด้านล่างเป็นชื่อภาษาอังกฤษว่า “MAYA GOTAMI FOUNDATION”

ทั้งนี้ เพื่อให้ตราสัญญลักษณ์เป็นนิมิตหมายว่า การที่เราทั้งหลายร่วมมือร่วมใจกันหมุนทานจักร ๑๐ ประการนี้ จะยังผลให้เด็กและเยาวชนในอุปการะของมูลนิธิฯ เติบโตขึ้นเป็นผู้ที่ได้รับการอบรมบ่มนิสัยให้มีความรู้ ความเฉลียวฉลาด มีกิริยามารยาทงดงาม มีจิตใจที่เปี่ยมด้วยคุณธรรมเช่นเดียวกับเจ้าชายสิทธัตถะ ฉะนั้น
ปัจจุบันที่ทำการมูลนิธิมายา โคตมี ตั้งอยู่ ณ เลขที่ ๓๗๘ อาคารสงเคราะห์ สาย ๒๐ ก. แขวงทุ่งวัดดอน เขตสาทร กรุงเทพมหานคร ๑๐๑๒๐ โทรศัพท์ ๐๒-๖๗๖-๓๔๕๓, ๐๒-๖๗๖-๔๓๒๓ โทรสาร ๐๒-๒๘๖-๘๖๙๐ E-mail address : mayakotami***, mayagotami@gmail.com



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #13 เมื่อ: 11 มิ.ย. 13, 10:45 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

๏ สร้างวัดป่าสุนันทวนาราม
ในปี พ.ศ. ๒๕๓๒ นางสุนันท์ บุษสาย คหบดีชาวจังหวัดกาญจนบุรี ผู้ประกอบธุรกิจเหมืองแร่และครอบครองกรรมสิทธิ์ที่ดินจำนวนมากภายในจังหวัดกาญจนบุรี มีความศรัทธาในปฏิปทาและข้อวัตรอันเคร่งครัดของพระธุดงค์สายวัดป่า (สายหลวงพ่อชา สุภัทโท) ผู้ซึ่งออกเดินธุดงค์รอนแรมอยู่ในป่าเขาบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี
จึงได้ถวายที่ดินประมาณ ๕๐๐ ไร่ ซึ่งหมดสภาพป่า และทำไร่อ้อยมาประมาณ ๒๐ ปี ณ บริเวณบ้านท่าเตียน ต.ไทรโยค อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี เพื่อจัดตั้งวัด ทั้งนี้ เพื่อพระสงฆ์จะได้มีเสนาสนะ และชาวบ้านจะได้มีโอกาสเข้าวัดปฏิบัติธรรมตามแนวทางของพระธุดงค์สายวัดป่า อีกทั้ง เมื่อมีพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเข้าไปพำนักจำพรรษาอยู่ จะสามารถยับยั้งการตัดไม้ทำลายป่าและการล่าสัตว์ในบริเวณดังกล่าวได้อีกด้วย
พระอาจารย์มิตซูโอะ ผู้ได้บวชบำเพ็ญเพียรมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๘ ออกเดินธุดงค์มาแล้วหลายแห่ง ทั้งที่อุดมสมบูรณ์และทุรกันดาร และเป็นผู้ซึ่งอยู่ในคณะผู้บุกเบิกวัดป่านานาชาติ ต.บุ่งหวาย อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี ได้รับมอบหมายให้มาเป็นผู้บุกเบิกก่อตั้งสำนักสงฆ์ ซึ่งรู้จักกันทั่วไปในชื่อ “วัดป่าสุนันทวนาราม” ในปี พ.ศ. ๒๕๓๓ ด้วยเจตนารมณ์ในการเผยแผ่การปฏิบัติธรรมแก่พุทธศาสนิกชนในละแวกนั้นและละแวกใกล้เคียง ตลอดจนเพื่อให้ราษฎรรู้จักหวงแหนและร่วมกันอนุรักษ์ป่าไม้ และสัตว์ป่า ตามแนวทางของพระพุทธศาสนาด้วยการสร้างวัดป่าให้เป็นวัดป่าอย่างแท้จริง
ด้วยข้อวัตรอันเคร่งครัดและเรียบง่ายของความเป็นพระป่าของพระอาจารย์มิตซูโอะ ทำให้ประชาชนเกิดความเลื่อมใสศรัทธา จึงเข้าวัดปฏิบัติธรรมเป็นจำนวนมาก



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #14 เมื่อ: 11 มิ.ย. 13, 10:46 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

การสถาปนาสำนักสงฆ์วัดป่าสุนันทวนารามบนพื้นที่ดังกล่าว เป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะสถาบันวัดได้เข้าไปเป็นอุปสรรคต่อการลักลอบตัดไม้ทำลายป่าและล่าสัตว์ ด้วยความเพียรไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคของคณะผู้บุกเบิกนำโดยพระอาจารย์มิตซูโอะ จึงสามารถพัฒนาพื้นดินซึ่งเป็นป่าเสื่อมโทรมด้วยการทำไร่อ้อย จนกระทั่งเป็นพื้นที่ซึ่งเขียวชอุ่มไปด้วยต้นไม้ยืนต้นน้อยใหญ่ มีเสนาสนะอันสมควรแก่สำนักสงฆ์ได้แก่ ศาลาปฏิบัติธรรม โรงฉัน และที่พักสำหรับพระภิกษุ สามเณร อุบาสก และอุบาสิกา ตามสมควร
พ.ศ. ๒๕๔๕ กองทัพบกได้มอบที่ดินราชพัสดุ กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ซึ่งติดต่อกับเขตวัดป่าสุนันทวนารามจำนวน ๑๒ ไร่ ให้ใช้เพื่อสร้างวัดได้ และได้ประกาศตั้งเป็นวัดในพระพุทธศาสนา ชื่อ “วัดสุนันทวนาราม” เมื่อวันที่ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๕ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ และแต่งตั้งพระมิตซูโอะ คเวสโก เป็นเจ้าอาวาสวัดสุนันทวนาราม ตั้งแต่วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ ในการนี้สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงพระกรุณาเสด็จฯ เป็นองค์ประธานประกอบพิธีตัดลูกนิมิต ผูกพัทธสีมาพระอุโบสถ ในวันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ และทรงปลูกต้นสาละเป็นที่ระลึก ณ สวนสาละ บริเวณทางเข้าวัด

วัดป่าสุนันทวนารามจึงได้สถาปนาเป็นวัดโดยสมบูรณ์ และดำรงสถานภาพเป็นวัดสาขาลำดับที่ ๑๑๗ ของวัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีพระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก เป็นเจ้าอาวาส นับแต่นั้นเป็นต้นมา



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #15 เมื่อ: 11 มิ.ย. 13, 10:49 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

งานเผยแผ่พระพุทธศาสนา

พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก ได้จัด อบรมสมาธิวิปัสสนากรรมฐานแบบ “อานาปานสติ” ที่วัดป่าสุนันทวนาราม เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ ๑๙-๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ รวม ๙ วัน และได้มีการจัดอบรมเป็นระยะๆ ตั้งแต่นั้นมาอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
เมื่อวัดป่าสุนันทวนารามจัดตั้งเป็นวัดสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว ท่านได้เผยแผ่พระพุทธศาสนาจนเป็นที่ศรัทธาของพุทธศาสนิกชนและประชาชนทั่วไป โดยจัดอบรมสมาธิวิปัสสนากรรมฐานแบบ “อานาปานสติ” แก่พุทธศาสนิกชน ปีละ ๖ ครั้งๆ ละ ๘-๙ วัน รวมไม่ต่ำกว่า ๓๗ ครั้ง อีกทั้ง ยังรับเป็นวิทยากรจัดฝึกอบรมตามคำขอของทางราชการ ทั้งข้าราชการตำรวจ ทหาร ข้าราชการฝ่ายปกครอง คณาจารย์ นักเรียน นิสิต นักศึกษา จากสถาบันการศึกษาต่างๆ ตลอดจน คณะศรัทธาญาติโยมและพุทธศาสนิกชนทั่วไป ตามโครงการธรรมศึกษาสัญจรวัดสุนันทวนาราม ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๒ จนถึงปัจจุบัน ปีละประมาณ ๕,๐๐๐ คน


ในส่วนของหนังสือธรรมะที่รวบรวมธรรมบรรยายของท่านนั้น มีจำนวนกว่า ๓๐ เล่ม อาทิเช่น หนังสือธรรมไหลไปสู่ธรรม, พลิกนิดเดียว, ทุกข์เพราะคิดผิด, ทุกขเวทนา, ผิดก่อน-ผิดมาก, ผิดก่อน-ผิดมาก, สอนคนขี้บ่น, ปัญหา ๑๐๘ (๑)-(๔), อานาปานสติ : วิถีแห่งความสุข ๑-๓, ชั่วโมงแห่งความคิดดี, เหตุสมควรโกรธ...ไม่มีในโลก, The Seven Practices for a Healthy Mind, สติเป็นธรรมเอก และ A Fragrance of Dhamma เป็นต้น

นอกจากนี้แล้ว ยังมีเทป-ซีดี-วีซีดี รวบรวมธรรมบรรยายและแนวทางการปฏิบัติธรรม จำนวนมากมายหลายชุด ทั้งภาคภาษาไทยและอังกฤษ ตลอดจน มีการเผยแผ่ธรรมทางอินเตอร์เน็ต ในเว็บไซต์วัดป่าสุนันทวนาราม http://www.watpahsunan.org/ อีกด้วย


๏ งานอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
งานอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก็เป็นหัวใจสำคัญ นับตั้งแต่เริ่มเข้าไปจัดตั้งวัดป่าสุนันทวนาราม ท่านได้มีบทบาทในการอนุรักษ์ป่าไม้ อาทิ ได้กำหนด “เขตอภัยทาน” ขึ้นภายในพื้นที่วัดและพื้นที่ต่อเนื่อง, เข้าร่วมโครงการของกรมป่าไม้ภายใต้ชื่อ “พระสงฆ์ช่วยงานด้านป่าไม้” ตั้งแต่วันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ เป็นต้นมา, ปลูกป่าและรักษาสภาพแวดล้อม พื้นที่กว่า ๕,๖๐๐ ไร่ มีต้นไม้เบญจพรรณ ๑๐๐,๐๐๐ ต้น และอื่นๆ อีกกว่า ๕๐,๐๐๐ ต้น ด้วยปฏิปทาข้อวัตรปฏิบัติอันงดงามและน่าศรัทธาเลื่อมใสของท่านและคณะสงฆ์ เป็นสาเหตุสำคัญของการหยุดยั้งการทำลายป่า ส่วนการล่าสัตว์ได้บรรเทาลงอย่างมาก





นอกจากเป็นพระนักอนุรักษ์แล้ว พระอาจารย์มิตซูโอะท่านยังให้ความรู้แก่ชาวบ้าน โดยร่วมมือกับกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ในโครงการชุมชนร่วมใจรักษาความหลากหลายทางชีวภาพและคุณภาพชีวิต รักษาระบบนิเวศ และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๔ ร่วมมือกับการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ครบ ๕๐ ปี จำนวนพื้นที่ ๒๐๐ ไร่
พ.ศ. ๒๕๔๕ ร่วมมือกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ปลูกป่าจำนวนพื้นที่ ๑๐๐ ไร่ แล้วนำพื้นที่ซึ่งปลูกป่านี้ขึ้นน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ปี พ.ศ. ๒๕๔๗ เข้าร่วมในโครงการปลูกป่า ๑ ในจำนวน ๙ ป่า ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) เจ้าอาวาสวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ ถวายสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุ ๘๐ พรรษา โดยปลูกป่าต้นสาละ (ต้นสาละอินเดีย, Sal of India) อันเป็นต้นไม้ในพุทธประวัติ จำนวนพื้นที่ ๔๐ ไร่
นอกจากเป็นพระนักอนุรักษ์แล้ว พระอาจารย์มิตซูโอะท่านยังให้ความรู้แก่ชาวบ้าน โดยร่วมมือกับกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ในโครงการชุมชนร่วมใจรักษาความหลากหลายทางชีวภาพและคุณภาพชีวิต รักษาระบบนิเวศ และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
๏ งานส่งเสริมการศึกษา
ด้วยเมตตาธรรมและเล็งเห็นความสำคัญของการศึกษาของเยาวชน ตลอดจนเพื่อตอบแทนบุญคุณชาวบ้านจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดกาญจนบุรี ที่อุปัฏฐาก จึงก่อตั้งมูลนิธิมายา โคตมี ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๓๓ จัดสรรทุนการศึกษาแก่เยาวชนด้อยโอกาสในชนบท เป็นทุนการศึกษาแบบต่อเนื่องตั้งแต่มัธยมจนจบอุดมศึกษา ซึ่งได้มาจากผู้มีจิตศรัทธาในปฏิปทาของท่านทั้งจากพุทธศาสนิกชนชาวไทยและชาวญี่ปุ่น นับถึงปีพ.ศ. ๒๕๔๖ ได้ดำเนินการต่อเนื่องมาเป็นเวลา ๑๓ ปีแล้ว ได้มอบทุนการศึกษาไปแล้วจำนวน ๓,๓๒๓ ทุน
กิจกรรมที่มูลนิธิมายา โคตมี ให้ความสำคัญ คือการอบรมจริยธรรม ตลอดจนอบรมความรู้เกี่ยวกับปัญหาร้ายแรงของสังคมปัจจุบัน คือปัญหายาเสพติด โรคเอดส์ และการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แก่นักเรียนรับทุนของมูลนิธิฯ ทุกปี ปีละประมาณ ๖-๗ วัน ถือเป็นภารกิจสำคัญของผู้รับทุน

อีกทั้งสนับสนุนจักรยานเพื่อเป็นยานพาหนะไปโรงเรียนแก่เยาวชนด้อยโอกาสในท้องถิ่นชนบทที่บ้านพักอาศัยอยู่ห่างไกลจากโรงเรียน ในจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดกาญจนบุรี รวม ๑,๕๙๔ คัน ให้เงินสมทบเพื่อผลิตวัตถุดิบ เช่น ทุนในการปลูกผัก เลี้ยงปลา เลี้ยงไก่ เพาะเห็ด เพื่อเป็นอาหารกลางวันแก่โรงเรียนในจังหวัดอุบลราชธานี ๔๖ โรงเรียน และจังหวัดกาญจนบุรี ๒ โรงเรียน


ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.dhammajak.net/




noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #16 เมื่อ: 11 มิ.ย. 13, 11:35 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
ธรรมมะ ของพระสัมมาฯได้แตกสาขาออกไปเป็นรายย่อยๆ..
คนกำแพงเพชรก็นับว่าโชคดีกว่าคนหลายๆจังหวัด ที่ได้มีวัดลูกศิษย์สายหลวงปู่มั่นครับ..
ศิษหลวงปู่มั่นสายหลวงตามหาบัว ที่พบแล้วมี2วัด และสายหลวงพ่อชา สุภัทโธ มี1วัด
ทั้งศิษย์สายหลวงตามหาบัว และสายหลวงพ่อชา ต่างก็ได้กระจายเสียงออกอากาศทางสถานีวิทยุในการเผยแผ่ธรรมแก่สาธุชน ในจังหวัดกำแพงเพชร และจังหวัดใกล้เคียง..
วัดสายหลวงพ่อชา ทำวัตร สวดมนต์แปลด้วยครับ..ผมก็รับธรรมจากคลื่นวิทยุ และปฏิบัติทำวัตรไปพร้อมๆกับพระที่ถ่ายทอดจากวิทยุครับ..
อยากแนะนำให้ค้นหาสถานีวิทยุที่ถ่านทอดการทำวัตร สวดมนต์แปลกันครับ ลองน้อมนำจิตเข้าไป แล้วจิตเราจะสงบ และมีพลังขึ้น..
ธรรมมะ ไม่ได้สังกัดในตัวตน บุคลเลยครับ..
มันอยู่ที่เราจะเบนใจเพื่อรับคลื่นธรรมหรือไม่..ธรรมมะของพระพุทธองค์ แม้นได้ฟัจากปากของมหาโจรร้าย ก็ยังเป็นธรรมมะของพระพุทธองค์อยู่นั่นเอง..
แม้นธรรมมะ อันมิใช่ของพระพุทธองค์ เราก็จะเชื่อไม่ได้ แม้นเปล่งจากโอษของพระราชา..
ผมพร่ามพรรณามานี้ เพียงเพื่อให้เพื่อนๆแฟนๆได้พิจารณาแสวงหาธรรมมะของพระพุทธองค์ โดยไม่ต้องยึดติดกับตัว กับตน กับบุคคลเราเขาครับ..
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #17 เมื่อ: 11 มิ.ย. 13, 16:53 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

หลังจากกระแสข่าวการลาสิกขาบทของ พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก เจ้าอาวาสวัดสุนันทวนาราม อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี หรือวัดป่านานาชาติ ได้นำเสนอออกไป ล่าสุด เมื่อค่ำวานนี้(10 มิ.ย.) ทางวัดได้ออกแถลงการณ์ยืนยันการลาสิกขาบทของพระอาจารย์มิตซูโอะ โดยมีข้อความดังต่อไปนี้


ตามที่ปรากฏเป็นข่าวในสื่อต่าง ๆ ว่า พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก ลาสิกขานั้น วัดสุนันทวราราม ขอยืนยันว่า เป็นความจริง ขณะนี้ ท่านเดินทางไปต่างประเทศแล้ว โดยมีจุดหมายปลายทางที่ประเทศญี่ปุ่น บ้านเกิดของท่าน โดยจะยังคงทำงานเผยแพร่พระพุทธศาสนา ในฐานะของฆราวาสต่อ

ทั้งนี้ ในส่วนของมูลนิธิ และโครงการต่าง ๆ ที่ท่านได้ริเริ่มไว้ คณะทำงานจะยังคงดำเนินงานไปตามปกติ เนื่องจาก พระอาจารย์ ได้วางรากฐานไว้แข็งแรงแล้ว ขอให้พวกเราทุกคนรักเมตตาต่อกัน และดำเนินงานประหนึ่งเป็นครอบครัวเดียวกัน ดังความประสงค์ของพระอาจารย์ไว้ให้จงดี

จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบโดยทั่วกัน

(พระอาจารย์หนูพรม สุชาโต) รองเจ้าอาวาสและรักษาการแทนเจ้าอาวาส



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #18 เมื่อ: 12 มิ.ย. 13, 16:37 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

"นิมิตที่ได้พบเห็นของทื่านสมาชิกมาเล่าสู่กันฟัง"





ท่านใดมีนิมิตที่พบเห็นมาเชิญมาเล่าสู่กันฟังครับ เพื่อจะได้มาปฏิบัติธรรมร่วมกันเพื่อมีสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจและมาทำความดีร่วมกันครับ บางท่านชอบทำหนังสือสวดมนต์ไปวางไว้ตามวัดต่างๆเป็นธรรมทานให้ผู้มาไหว้พระที่วัดนำหนังสือกลับไปสวดมนต์ที่บ้านก็จะได้บุญกุศลสูงสุดครับ นี่คือธรรมทานขั้นสูงสุดตามที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ครับ...



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #19 เมื่อ: 13 มิ.ย. 13, 15:31 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ลือ! พระอาจารย์มิตซูโอะ ลาสิกขา เหตุไม่พอใจพุทธพานิชย์ในไทย

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #20 เมื่อ: 14 มิ.ย. 13, 08:09 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

อ่านแล้วเกิดปิติ สาธุ สาธุ สาธุ ขอให้บุญกุศลร่วมกันครับ

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #21 เมื่อ: 15 มิ.ย. 13, 07:18 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

มีผู้อ่านหลายท่านได้กล่าวอนุโมสาธุ และได้อานิสงค์ร่วมกันทั้งหมดครับ

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #22 เมื่อ: 18 มิ.ย. 13, 12:24 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาให้กำลังใจครับ



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Guest
Isabel
เรทกระทู้
« ตอบ #23 เมื่อ: 19 มิ.ย. 13, 14:10 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

This piece was cogent, well-wrtietn, and pithy.

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #24 เมื่อ: 19 มิ.ย. 13, 16:12 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

Isabel

This piece was cogent, well-wrtietn, and pithy.

แปลไทย งานชิ้นนี้เป็นประเด็นดี wrtietn และแหลมคม



ตอบ ขขอบคุณมากครับที่ชมมาครับ ไม่ทราบว่าเป็นคนไทยหรือต่างชาติหากมีเวลาเข้ามาสนทนาธรรมร่วมกันอีกครับคุณ Isabel



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #25 เมื่อ: 19 มิ.ย. 13, 16:16 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

Junaid


Lerainng a ton from these neat articles.

แปลไทย Lerainng ตันจากบทความเหล่านี้เรียบร้อย


ตอบ ขอคุณที่เข้ามาแสดงความคิดเห็นครับคุณJunaid



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #26 เมื่อ: 27 มิ.ย. 13, 10:10 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ผู้ที่บวชเป็นพระสงฆ์แล้วควรต้องปล่อยวางทุกสิ่งไว้เบื้องหลังทรัพย์สินเงินทอง สิ่งอำนวยความสะดวกทั้งหลายไม่ให้ไปยึดติด การที่มีลูกศิษย์มามอบทรัพย์สินให้เพื่อให้เข้าไปอยู่ในอุบายมีลาภ ยศและกิเลส แล้วจะไปสำเร็จไปนิพพานได้อย่างไรครับ

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:  ราม มิตซู พระอาจารย์ วัดป่า 

หน้า: 1

 
ตอบ

ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:  
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม