
สำหรับเทคนิคเพิ่มพูนความแข็งแกร่งของการรัฐประหารประการแรก คือการห่อหุ้มรัฐประหารด้วยคำว่า
“คณะปฏิรูป” ตัวอย่างเช่น รัฐประหาร 6 ตุลาคม 2519 และ 20 ตุลาคม 2520 เกิดขึ้นโดย
“คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน” รัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534 เกิดขึ้นโดย
“คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ” ส่วนรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เกิดขึ้นโดย
“คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข” โดยไม่มีอะไรพาดพิงถึงคำว่า
“ปฏิวัติ” หรือ
“รัฐประหาร” แม้แต่นิดเดียว
น่าสังเกตว่า 14 ตุลาคม 2516 มีส่วนสำคัญต่อการห่อหุ้มการรัฐประหารด้วยวิธีนี้ เพราะรัฐประหารช่วงก่อน 14 ตุลาคม เรียกตัวเองว่า
“คณะปฏิวัติ” อย่างเปิดเผย
ตัวอย่างเช่นรัฐประหาร 20 ตุลาคม 2501 ของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ หรือ รัฐประหาร 17 พฤศจิกายน 2514 ของจอมพลถนอม กิตติขจร ส่วนรัฐประหารของจอมพลผิน ชุณหะวัน เมื่อ 8 พฤศจิกายน 2490 ก็ใช้ชื่อว่า
“คณะทหารของชาติ” ซึ่งแสดงความเป็นปฏิบัติการของทหารอย่างตรงไปตรงมา

