หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: "เรดาร์การบิน" คืออะไร ทำหน้าที่อย่างไร  (อ่าน 3693 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 23 มี.ค. 14, 08:54 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 

"เรดาร์การบิน" คืออะไร ทำหน้าที่อย่างไร



ไขข้อสงสัย "เรดาร์" ไทยตรวจจับความเคลื่อนไหว "บินมาเลย์"

คำแถลงของพล.อ.อ. ประจิน จั่นตอง ผู้บัญชาการทหารอากาศ (ผบ.ทอ.) อ้างถึงเรดาร์กองทัพอากาศพบสัญญาณเครื่องบินปริศนาที่คาดว่าอาจเป็นเครื่องบินมาเลเซียแอร์ไลน์ เที่ยวบิน MH 370 หายสาบสูญไปเมื่อวันที่ 8 มีนาคม

โดยเรดาร์กองทัพอากาศตรวจจับได้ที่สถานีเรดาร์ จ.สุราษฎร์ธานี และรวบรวมข้อมูลจาก จ.ภูเก็ต และอ.หาดใหญ่ จ.สงขลา (จากสถานีเรดาห์ทั้งหมด 12 แห่งท่วประเทศ) พบสัญญาณเรดาร์ของวัตถุบางอย่างเลี้ยวย้อนกลับเส้นทางเดิม ก่อนบินเฉียดด้านเหนือของกรุงกัวลาลัมเปอร์ จากนั้นสัญญาณขาดหายไป

คำแถลงของผบ.ทอ.ทำให้บรรดาสื่อต่างชาติพากันให้ความสนใจกับข้อมูลเรดาร์ของฝ่ายไทยที่สามารถจับสัญญาณ "เที่ยวบินปริศนา 370"

บางสื่อได้ตั้งข้อสงสัยทำไมฝ่ายไทยจึงไม่ได้ให้ข้อมูลกับมาเลเซียตั้งแต่วันแรก ที่เครื่องบินหายไปทำไมจึงแจ้งกับฝ่ายมาเลย์หลังจากเกิดเหตุปริศนาถึง 10 วัน






ต่อไปนี้เป็นข้อมูลพื้นฐานการตรวจจับความเคลื่อนไหวของเครื่องบิน ผ่านเรดาร์

เรดาร์ (Radar) ย่อจาก Radio Detection and Rangingคือ การใช้คลื่นวิทยุในการค้นหาตำแหน่ง ทั้งทิศทางและระยะทางของสิ่งที่ต้องการค้นหา

การทำงานของเรดาร์เริ่มจากการส่งคลื่นออกไปในอากาศผ่านทางจานสายอากาศ โดยส่งเป็นช่วงๆ ส่งและหยุดสลับกันไป เพื่อเว้นช่วงให้มีโอกาสรับสัญญาณกลับด้วยจานสายอากาศอันเดียวกันซึ่งสามารถหมุนได้ 360 องศา ทำหน้าที่ส่งคลื่นไปรอบๆ เมื่อคลื่นไปกระทบกับเป้า (Target) จะสะท้อนกลับมาที่จานและเครื่องรับสัญญาณ แล้วจึงส่งต่อเครื่องประมวลผลแล้วส่งผลขึ้นแสดงบนหน้าจอภาพ

ตามข่าวผบ.ทอ.เปิดเผยว่าจะใช้ Primary radar ทั่วไปตรวจจับไม่ได้ แต่ต้องใช้ Skin paint ที่จับสัญญาณสะท้อนผิวของเครื่องบินตรวจจับ ซึ่งเมื่อตัวจับสัญญาณของวัตถุใดก็ตามแม้จะไม่มีรหัสเฉพาะ (เครื่องบินทุกลำจะมีรหัสเฉพาะ) ก็สามารถแสดงผลบนหน้าจอสี และต้องใช้เจ้าหน้าที่เทคนิคอ่านผลและตรวจสอบให้แน่ชัดว่าเป็นวัตถุประเภทใด


หอบังคับการบิน กับ การควบคุมเครื่องบินโดยสาร

เป็นที่สงสัยกันในวงกว้างว่าทำไมหอบังคับการบินที่ทำงานตลอด 24 ชั่วโมงถึงปล่อยให้สัญญาณเรดาร์หายไปได้หรือขาดการติดต่อ


ลองมาตรวจสอบการทำงานของหอบังคับการบินว่ามีวิธีการทำงานอย่างไร

หอบังคับการบิน มีหน้าที่ควบคุมการจราจรทางอากาศให้เป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็วและปลอดภัย พูดง่ายๆ ว่า หอบังคับการบินทำหน้าที่เป็นสัญญาณไฟแดงเขียวและจราจรบนถนนนั่นเอง โดยที่เครื่องบินลำหนึ่งๆ จะออกบินไปไหนมาไหนได้นั้น





จะต้องติดต่อกับศูนย์ควบคุมการจราจรทางอากาศ 3 ขั้นตอนหลักดังนี้

• การควบคุมจราจรทางอากาศ บริเวณท่าอากาศยาน (Aerodrome Control Service)

เริ่มตั้งแต่การขออนุญาตการบินของนักบินจนกระทั่งล้อเครื่องบินแตะรันเวย์ โดยเริ่มต้นจากนักบินทำแผนการบิน (Flight Plan) ส่งให้เจ้าหน้าที่ ATC (Air Traffic Controller) ตรวจสอบแผนการบินและสภาพอากาศแล้วพิมพ์ความคืบหน้าของเที่ยวบิน (Flight Progress Strip) จะใช้แถบกระดาษนี้จะใช้ติดตามการเดินทางของเครื่องบินตลอดเส้นทาง เจ้าหน้าที่ ATC จะส่งให้เจ้าหน้าที่ควบคุมภาคพื้นดิน (Ground Controller)

เมื่อเจ้าหน้าที่ให้สัญญาณทำการบินได้ นักบินนำเครื่องไปที่รันเวย์ จากนั้นเจ้าหน้าที่ภาคพื้นดินจะส่งต่อการสื่อสารให้หอบังคับการบิน (Tower) หอบังคับมีลักษณะสูงมีเจ้าหน้าที่นั่งคอยควบคุมการขึ้น-ลงของเครื่องบินทั้งหมด และติดตามการบินจนสิ้นสุดอาณาเขตของประเทศแล้วจึงส่งต่อให้หอบังคับการบินประเทศอื่นติดตาม

จากการเปิดเครื่องรับสัญญาณ (Transponder) โดยอัตโนมัติบนเครื่องบิน เครื่องนี้เองเป็นเครื่องส่งสัญญาณสะท้อนกลับให้เรดาร์ภาคพื้นดินติดตามตลอดเส้นทางการบิน


• การควบคุมจราจรทางอากาศเขตประชิดท่า

อากาศยาน (Approach Control Service) เริ่มตั้งแต่ล้อเครื่องบินวิ่งอยู่บนรันเวย์ถึงระยะที่เครื่องบินเข้าสู่ เส้นทางการบินที่ต้องการแล้วหรือมีความปลิดภัยแล้วในบริเวณที่สูงขึ้นไปไม่ เกิน11,000 ฟุต รัศมีโดยรอบ 30-50 ไมล์


• ศูนย์การควบคุมจราจรทางอากาศ ตามเส้นทางบิน (Area Control Center)

เมื่อระยะความสูงที่ 45,000 ฟุต ไปแล้ว Area Control Center จะรับหน้าที่ดูแลเครื่องบินต่อจนกระทั่งเครื่องบินถึงที่หมายในประเทศหรือพ้นเขตประเทศไปแล้ว โดยจะแบ่งเขตการดูแลอย่างชัดเจน และศูนย์การควบคุมนี้จะทำหน้าที่ติดต่อกับนักบินตลอดระยะเวลาการบินจนถึงจุดหมายปลายทาง ขณะเดียวกันนักบินจะต้องติดต่อแจ้งข้อมูลให้ศูนย์ฯ ทราบเป็นระยะๆ

ช่วงที่เที่ยวบิน MH 370 เดินทางมาถึงบริเวณทิศตะวันออกฉียงเหนือของประเทศเวียดนาม สัญญาณตรวจจับเรดาร์ก็หายไป โดยเครื่องบินปิดการทำงานของระบบสื่อสารและติดตาม (ACARS) จากนั้นคนในเครื่องบินโบอิ้ง 777-200ER เที่ยวบิน 370 ปิดเครื่องรับสัญญาณเรดาร์ (Transponder) ทำให้การส่งสัญญาณแจ้งพิกัดของเที่ยวบินนี้ไปยังหน่วยควบคุมของเอกชนสิ้นสุด ลงจะมีเพียงเรดาร์ของทหารเท่านั้นที่ยังจับสัญญาณได้แต่กระนั้นเครื่องบินลำนี้ก็หายไปอย่างลึกลับ




ที่มา: http://www.soccersuck.com/boards/topic/1021975
ที่มา : http://variety.teenee.com/foodforbrain/60497.html


เครดิต โพสจัง

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า

กระทู้ฮอตในรอบ 7 วัน

Tags:  ทำหน้าที่ อย่างไร อะไร คือ 

หน้า: 1

 
ตอบ

ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:  
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม