บางคนอาจจะเคยสงสัยบ้าง เวลาที่เราโดยสารรถไฟฟ้า บางทีรถก็จอดไม่ตรงกับประตูที่ติดตั้งไว้ที่ชานชาลา บางทีก็ออกตัวกระชาก หรือบางทีก็เบรกแรงคนทรงตัวแทบไม่อยู่ จนเกิดความคิดว่ามีคนขับรถไฟฟ้าหรือเปล่า? หรือ ขับเคลื่อนรถไฟกันยังไง?
ความเข้าใจของหลายๆ อาจจะรู้ว่า พนัก
งานขับรถไฟฟ้าต้องขับขบวนรถเอง แต่หลังๆ มีคนบอกว่า ความจริงคนที่นั่งอยู่ที่หน้ารถ ทำหน้าที่แค่กดเปิด-ปิดประตูเท่านั้น ส่วนรถขับเพราะคำสั่งจากส่วนกลาง ซึ่งจริงๆ แล้ว พนักงานขับฯ ก็มีหน้าที่ขับ แต่ไม่ได้ขับตลอดเวลา รถไฟที่วิ่งได้ต้องอาศัยระบบคำสั่งจากศูนย์ส่วนกลาง ระบบจำมีคำสั่งและประมวลผลมาจากรถไฟ พนักงานขับฯ จึงทำหน้าที่ตามและคอยควบคุมการทำงานบนรถไฟฟ้า
คล้ายๆ กับระบบ auto-pilot ของเครื่องบิน เมื่อพนักงานขับฯ ปิดประตูสนิทแล้ว จึงจะสามารถใช้ระบบ auto กดปุ่มและขับเคลื่อนรถไฟออกไปได้ หรือบางครั้งก็ต้องจับคันบังคับ ขับรถไฟออกไป แต่ต้องอยู่ในความควบคุมของศูนย์ส่วนกลางเสมอ
ทั้งนี้ รถไฟที่ทำงานในระบบ auto พนักงานขับฯ สามารถแทรกแซงการทำงานได้ทันที หรือ เปลี่ยนเป็นขับเองได้ แต่จะต้องอยู่ในระบบคำสั่งที่ศูนย์ส่งมาเท่านั้น เพราะชุดคำสั่ง จะเปรียบเสมือนเข็มทิศ ชี้นำให้พนักงานทำตามทั้งหมด ดังนั้น ใครบอกว่า คนขับรถไฟฟ้า แค่มานั่งกดปุ่มปิดประตูเฉยๆ ศูนย์ส่วนกลางฯ เป็นคนขับ ไม่ใช่นะครับ
ส่วนเรื่องจอดไม่ตรงประตู เบรกแรง ขึ้นอยู่กับความชำนาญและประสบการณ์ของพนักงานขับฯ รถไฟฟ้าบีทีเอสบางครั้งต้องขับเอง เนื่องจากระบบประตูชานชาลาบางสถานียังทำงานไม่เต็มที่ หากพนักงานขับที่ชำนาญก็จะเข้าจอดได้แบบเซียนๆ
คนขับรถไฟฟ้าทุกระบบ ที่เห็นนั่งเฉยๆ คือ กำลังขับอยู่นะครับ แล้วหน้าที่ก็ไม่ใช่แค่ปิดประตูอย่างเดียว แต่ต้องดูแลความปลอดภัยก็ผู้โดยสาร การให้รถวิ่งตรงเวลาที่กำหนด ดูการสัญจร ระบบสัญญาณบนราง และตัวรถต่างๆ ให้ความช่วยเหลือผู้โดยสาร เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน และอื่นๆ
ขอบคุณข้อมูลจาก คุณ
spindoctor จากกระทู้เว็บพันทิป