ซิดนีย์--27 ม.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์-เฟิร์สคอลล์/อินโฟเควสท์
การวิเคราะห์กลุ่มย่อยโดยใช้ข้อมูลจากการวิจัย MORE ที่มีผู้ป่วยเข้าร่วม 606 คน ได้เผยให้เห็นถึงผลลัพธ์ในการรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักระยะแพร่กระจาย (mCRC) ไปยังตับ ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไป และกลุ่มที่มีอายุ 75 ปีขึ้นไป
Sirtex รายงานว่า ผลการวิเคราะห์ครั้งใหม่โดยใช้ข้อมูลจากการวิจัย MORE ในกลุ่มผู้ป่วยโรค mCRC จำนวน 606 รายที่ได้รับการรักษาด้วย SIR-Spheres Y-90 resin microspheres ในศูนย์การแพทย์ 11 แห่งทั่วสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้รับการเผยแพร่เมื่อปลายปีที่ผ่านมาทางวารสาร Clinical Colorectal Cancer สามารถพิสูจน์ได้ว่า อายุของผู้ป่วยไม่ได้เป็นอุปสรรคสำหรับการรักษาด้วย SIR-Spheres(R) Y-90 resin microspheres
(โลโก้: http://photos.prnewswire.com/prnh/20150119/724485 )
"ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการวิจัย MORE พิสูจน์ได้ว่า อายุเพียงอย่างเดียวไม่สมควรนำมาเป็นปัจจัยกีดกันผู้ป่วยออกจากการพิจารณาหรือการรักษาด้วย SIR-Spheres(R) Y-90 resin microspheres" นพ.แอนดรูว์ เอส เคนเนดี หัวหน้าคณะวิจัย และผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยด้านรังสีรักษาและมะเร็งวิทยาแห่งสถาบัน Sarah Cannon Research Institute กล่าว "เนื่องจากผู้ป่วยโรค mCRC สูงวัยมักได้รับการรักษาด้วยยาที่ออกฤทธิ์น้อยกว่า ดังนั้น การควบคุมเนื้องอกภายในตับด้วยเทคนิครังสีบำบัดภายในเฉพาะจุด หรือเรียกอีกอย่างว่าการอุดเส้นเลือดด้วยสารกัมมันตรังสี (radioembolisation) อาจเป็นผลดีต่อผู้ป่วยกลุ่มนี้ เราจะเดินหน้าทำการวิจัยในด้านนี้ต่อไป เพื่อเสาะหาวิธีการรักษาที่ได้ผลมากที่สุดสำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้ พร้อมยกระดับผลลัพธ์ในการรักษาด้วยเช่นกัน"
การวิเคราะห์ข้อมูลจากการวิจัย MORE ได้แบ่งผู้ป่วย 606 รายออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกประกอบด้วยผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า 70 ปี ณ เวลาที่รักษาจำนวน 446 ราย ส่วนอีกกลุ่มคือผู้ป่วยที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไปจำนวน 160 ราย นอกจากนี้ คณะนักวิจัยยังได้มีการวิเคราะห์ข้อมูลแยกเป็นพิเศษสำหรับผู้ป่วยอายุ 75 ปีขึ้นไปจำนวน 90 ราย โดยอายุเฉลี่ยสำหรับกลุ่มแรก กลุ่มที่สอง และกลุ่มพิเศษนี้อยู่ที่ 55.9 +/- 9.4 ปี, 77.2 +/- 4.8 ปี และ 80.2 +/- 3.8 ปีตามลำดับ ซึ่งทางคณะนักวิจัยพบว่า แม้ว่าผู้ป่วยจะมีอายุต่างกัน แต่ผลลัพธ์ที่ได้นั้นมีความคล้ายคลึงกัน
อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยกลุ่มที่สอง (อายุ 70 ปีขึ้นไป) มีแนวโน้มมากกว่า (P
สำหรับสถิติการอยู่รอดโดยรวมนั้นไม่ต่างกันมากนัก (P = 0.335) ระหว่างกลุ่มที่มีอายุมากกว่า (9.3 เดือน) กับกลุ่มที่มีอายุน้อยกว่า (9.7 เดือน) และยังไม่พบความแตกต่างที่มีความเกี่ยวข้องกับอายุในแง่ของการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ (P = 0.433) ซึ่งรวมถึงอาการไม่พึงประสงค์ที่มีความรุนแรงกว่า หรือระดับ 3+ (P = 0.482) ภายในระยะเวลา 90 วันของการรักษา และเป็นที่น่าสังเกตว่า ผู้ป่วยกลุ่มที่มีอายุมากกว่ามีอาการข้างเคียงในทางเดินอาหารน้อยครั้งกว่าผู้ป่วยกลุ่มที่มีอายุน้อยกว่า
นอกจากนั้นยังพบข้อมูลที่มีความคล้ายคลึงกันจากการเปรียบเทียบระหว่างผู้ป่วยกลุ่มพิเศษที่มีอายุ 75 ปีขึ้นไป กับกลุ่มที่มีอายุน้อยกว่า 75 ปี โดยอัตราการอยู่รอดโดยรวมเฉลี่ยอยู่ที่ 9.3 เดือน เทียบกับ 9.6 เดือน (P = 0.987) ตามลำดับ และไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญไม่ว่าจะเป็นอาการไม่พึงประสงค์ระดับ 3+ (P = 0.398) หรืออาการไม่พึงประสงค์ระดับอื่นๆ (P = 0.158) ภายในระยะเวลา 90 วันของการรักษา
ที่มา: Sirtex Medical Limited