โรงพยาบาลค่ายจิรประวัติ
เป็นโรงพยาบาล ที่ขึ้นตรงต่อ มณฑลทหารบกที่ 31ในสายการบังคับบัญชา ,เป็นหน่วยสายแพทย์ขึ้นตรงต่อ กรมแพทย์ทหารบก ในสายเหล่าสายวิทยาการ ปัจจุบัน พันเอกอนุรัฐ ตันติจารุกร เป็นผู้อำนวยการ
ตั้งอยู่ที่
161 หมู่ 1 ถนนพหลโยธิน ตำบลนครสวรรค์ออก อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัด นครสวรรค์ 60000
โทรศัพท์: 0-5632-5120-1
ประวัติโรงพยาบาลค่ายจิรประวัติ
ไม่มีหลักฐานแน่นอนสำหรับการก่อตั้ง
โรงพยาบาลค่ายจิรประวัติ แต่พอประมาณได้ว่าราว ร.ศ. 120 โรงพยาบาลค่ายจิรประวัติได้ตั้งอยู่ที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา หมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 9 ตำบลนครสวรรค์ตก อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ในขณะนั้น เรียกว่ากองพยาบาลที่ 6 เมื่อ พ.ศ. 2476 และได้ย้ายจากบริเวณอาคารกองพันทหารช่างที่ 4 มาตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่ปัจจุบันในเขตตำบลนครสวรรค์ออก อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
ในที่ดินประมาณ 50 ไร่ อาคาร 6 หลัง ชั้นเดียวใต้ถุนสูง อาคารดังกล่าวทางราชการได้สั่งรื้อไปแล้ว 3 หลัง เพราะชำรุดมาก อีก 3 หลัง ภาพพจน์ที่เห็นในปัจจุบัน กรมธนารักษ์ได้อนุมัติให้รื้อถอนแล้วตามหนังสือที่ กค. 0405/01602 ลง 5 เม.ย
จากการที่เป็น โรงพยาบาลที่ ขึ้นตรงต่อหน่วยงานทหาร ทำให้มีประวัติการ เข้าร่วมรบ ดังนี้
การเข้ารวมรบ พ.ศ. 2483 จัดกำลังพลสนับสนุนออกปฏิบัติราชการสนามในสงครามอินโดจีน ที่กองพลพายัพ จังหวัดอุตรดิตถ์
พ.ศ. 2485-พ.ศ. 2487 จัดกำลังพลสนับสนุนออกปฏิบัติราชการสนามในสงครามเอเชียบูรพาร่วมกับกองพลที่ 4 จังหวัดเชียงราย
พ.ศ. 2522 - พ.ศ. 2524 จัดกำลังพลสนับสนุนออกปฏิบัติราชการสนามในพื้นที่กองทัพภาคที่ 1 อำเภอตาพระยา จังหวัดปราจีนบุรี
พ.ศ. 2549 จัดนายแพทย์และศัลยแพทย์ สนับสนุนภารกิจ ฉก.ผบ.สน.ใน 3 จังหวัดภาคใต้
ภารกิจ 1. ให้ทหารบริการแพทย์ในการตรวจและรักษาพยาบาลแก่กำลังพล และครอบครัวของหน่วยทหารในพื้นที่ มทบ.31 และหน่วยใกล้เคียง
2. ให้การบริการแพทย์ในการตรวจ และรักษาพยาบาลแก่บุคคลทั่วไปในจังหวัดนครสวรรค์ และพื้นที่ใกล้เคียง
3. ทำการส่งกำลังให้กำลังพลของหน่วยทหารในพื้นที่ มทบ.31 และหน่วยใกล้เคียง
4. สนับสนุนทางการส่งกำลังสายแพทย์ให้แก่หน่วยในพื้นที่ มทบ.31 และหน่วยใกล้เคียง
5. ให้การศึกษาฝึกและอบรมวิชาเฉพาะเหล่าแพทย์ แก่พลเสนารักษ์ของหน่วยในพื้นที่ มทบ.31 และหน่วยใกล้เคียง
ขีดความสามารถ 1. ดำเนินการตรวจวินิจฉัยโรคทุกสาขา และให้การรักษาพยาบาลด้วยวิธีต่าง ๆ ให้แก่ทหาร ข้าราชการ ลูกจ้าง ตลอดจนครอบครัว และบุคคลพลเรือนทั่วไปตามความจำเป็น
2. ดำเนินการทางเวชกรรมป้องกันให้กับหน่วยทหารในพื้นที่รับผิดชอบ
3. ดำเนินการฝึกอบรมวิทยาการทางการแพทย์ให้กับกำลังพลตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ดำเนินการสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ให้กับผู้ป่วยเจ็บ
5. ดำเนินการฝึกอบรมให้กับทหารกองประจำการ เหล่าทหารแพทย์ตามที่ได้รับมอบหมาย
6. สามารถสนับสนุน ส.ป.สายแพทย์ หรือจัดตั้งคลัง สป.สายแพทย์ สนับสนุนหน่วยปฏิบัติการในพื้นที่ตามที่ได้รับมอบหมาย
7. ในอัตราเต็มสามารถจัดเจ้าหน้าที่ชุดศัลยกรรมสนาม สนับสนุนหน่วยเสนารักษ์ ซึ่งมาปฏิบัติการในพื้นที่ได้ 1-2 ชุด ในห้วงเวลาจำกัด
8. ปฏิบัติงานเป็น รพ. ขนาด 180 เตียง ในอัตราระดับ 1 และ 150 เตียง ในอัตราระดับ 2 ได้ ปัจจุบันลดลงเหลือเพียง 90 เตียง
9. ทำการซ่อมบำรุงยุทโธปกรณ์ในอัตราขึ้นหน่วยได้
10. ทำการระวังป้องกันตนเองได้อย่างจำกัด
ปัจจุบัน โรงพยาบาลค่ายจิรประวัติ เป็นโรงพยาบาลกองทัพบก ขนาด 150 เตียง สามารถขยายได้เป็น 200 - 250 เตียง ในภาวะสงครามหรือสถานการณ์จำเป็น
เป็นสาขาบริการโลหิตแห่งชาติของสภากาชาดไทย สาขาที่ 364
เป็นโรงพยาบาลเสริมทักษะของแพทย์จบใหม่