เมื่อพูดถึงเรื่อง เด็กขาดสารอาหาร คุณแม่หลายๆท่านอาจสงสัยว่า ลูกของเราจะขาดสารอาหารได้อย่างไร ในเมื่อลูกกินอาหารครบมื้อ น้ำหนักตัวก็ดี มีพัฒนาการเหมาะสมตามวัย แท้จริงแล้วนั้น การรับประทานสารอาหารครบ 5 หมู่อาจไม่เพียงพอ หากไม่ครบถ้วน และหลากหลาย วันนี้เราได้นำข้อมูลที่น่าสนใจจากผลการวิจัยของ โครงการ SEANUTS หรือ South East Asian Nutrition Survey เป็นโครงการสำรวจด้านโภชนาการของเด็กในภูมิภาคเอเชียที่ใหญ่ที่สุด และเรามีสถิติที่น่าตกใจเกี่ยวกับเรื่องนี้มาบอกเล่าให้ฟังกันค่ะ
การสำรวจวิจัยโครงการ SEANUTS (Southeast Asia Nutrition Survey)
“เด็กขาดสารอาหาร” อาจฟังเป็นเรื่องไกลตัวของคุณพ่อคุณแม่ และครอบครัวสมัยใหม่ แต่รู้ไหมว่า เด็กไทยมีภาวะขาดสารอาหารและมีไอคิวต่ำที่สุด เมื่อเทียบกับประเทศในภูมิภาคนี้ อย่าง อินโดนีเซีย มาเลเซีย และเวียดนาม
การสำรวจและวิจัยโครงการ SEANUTS หรือ South East Asia Nutrition Survey โครงการสำรวจด้านโภชนาการของเด็กในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยความร่วมมือระหว่าง Royal Friesland Campina และศูนย์วิจัยชั้นนำด้านโภชนาการของประเทศ ได้จัดทำขึ้นในปี 2556 โดยทำการสำรวจเด็กทั่วประเทศไทย อายุ 6 เดือน ถึง 12 ปี ในอัตราสุ่ม จำนวน 3,119 คน พบว่า เด็กไทยจำนวนมากอยู่ในภาวะขาดสารอาหาร ได้รับแคลเซียม ธาตุเหล็ก วิตามินเอ และวิตามินซี ต่ำกว่ามาตรฐานที่องค์การอนามัยโลกกำหนด โดยผลการวิจัยนี้ ได้รับการตีพิมพ์ใน British Journal of Nutrition วารสารทางวิชาการด้านโภชนาการชั้นนำของประเทศอังกฤษ
ระดับเชาว์ปัญญาหรือ IQ ของเด็กไทยเป็นอย่างไร?
เด็กไทยมีระดับเชาว์ปัญญา หรือ IQ น้อยที่สุดในแถบภูมิภาคเดียวกันโดยเฉพาะเมื่อเทียบกับ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และเวียดนาม
เด็กไทยได้รับสารอาหารเพียงพอหรือไม่?
60% ของเด็กไทยได้รับแคลเซียม, ธาตุเหล็ก, วิตามินเอ และวิตามินซี ต่ำกว่ามาตรฐานที่องค์การอนามัยโลกกำหนด
ภาวะวิตามินดีของเด็กในภูมิภาคนี้เป็นอย่างไร?
เด็กในภูมิภาคนี้มีปัญหาภาวะวิตามินดีไม่เพียงพอ โดยเฉพาะเด็กในเขตเมืองทั้งที่อยู่ในประเทศเขตร้อนที่มีแสงแดดซึ่งเป็นแหล่งของการสร้างวิตามินดี สาเหตุหลักเพราะรูปแบบการใช้ชีวิตของเด็กในปัจจุบันเปลี่ยนไป ซึ่งอาจส่งผลต่อความแข็งแรงของกระดูกเด็กและอาจส่งผลต่อการมีภาวะกระดูกพรุนในวัยสูงอายุ
ขอบคุณที่มาจาก
https://www.foremostomega.com/seanuts