หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: ม.เชียงใหม่คว้าผลวิจัยฝุ่นมาพัฒนาเป็นยุทธศาาสตร์ป้องกันฝุ่นแบบครบวงจร !!!!  (อ่าน 9 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 11 พ.ค. 19, 19:14 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 

ฝุ่นควัน PM2.5 เคยเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่สร้างความเดือดร้อนต่อสภาพแวดล้อมและสุขภาพประชาชนคนไทยในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา แม้ตอนนี้กระแสข่าวจะเบาบางลงไปบ้าง แต่เรื่องของปัญฝุ่นควันก็เป็นเรื่องที่มองข้ามไม่ได้จริง ๆ ครับ นั้นจึงเป็นที่มาของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และจังหวัดใกล้เคียงนำปัญหาดังกล่าวมาวิจัยเพื่อแก้ไขอย่างจริงจัง
>
>
>
โดยเชียงใหม่นิงส์ได้เผยถึงมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่ได้ รวบรวมข้อมูลสถานการณ์มลพิษทางอากาศของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตอนบน โดยฐานข้อมูลที่ได้จากภาพถ่ายดาวเทียมระบบ ระบบ Visible Infrared Imaging Radiometer Suite (VIIRS) พบจุดความร้อน (hotspots) จำนวนมาก
>
>
>
โดยครั้งนี้ไม่ใช่แค่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่แต่ยังได้ร่วมมือกับจังหวัดในภาคเหนืออันได้แก่ เชียงใหม่ ลำปาง แม่ฮ่องสอน ลำพูน และน่าน
>
>
>
ซึ่งเป้าหมายสำคัญที่มหาลัยเชียงใหม่ต้องการคือการแปรผลวิจัยเหล่านี้เป็นสิ่งประดิษฐ์รวมถึงกระบวนการแก้ไขป้องกันเรื่องหมอกควันหรือไฟป่าในอนาคตซึ่งตอนนี้เกิดเป็นโครงการอย่างน้อย 50 โครงการ เช่น โครงการวิจัยเครือข่ายประเทศไร้หมอกควันสำหรับกลุ่มประเทศอาเซียนตอนบน (Haze Free Country Network in Upper ASEAN) ที่ร่วมมือกับอีก 4 ประเทศคือ กัมพูชา เวียดนาม พม่า และลาว สร้างเครือข่ายการแก้ไขปัญหาหมอกควันข้ามแดน
>
>
>
ด้านนวัตกรรมก็ได้ทางทางคณะของทางมหาวิทยาลัยฯ พัฒนาสิ่งประดิษฐ์มามากมาย อาทิ คณะวิศวกรรมศาสตร์กับการสร้างห้องหลบฝุ่นชุมชนให้ทางจังหวัดเชียงใหม่ รวมถึงให้เครื่องกรองอากาศให้แก่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตลอดจนแนะนำการประดิษฐ์เครื่องกรองอากาศอย่างง่าย ด้านสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพแนะเครื่องประดิษฐ์ระบบกรองอากาศทำมือที่บ้านทั้งพัดลม DIY เครื่องแอร์ DIY ทำได้เองที่บ้านโดยใช้วัสดุที่หาได้ง่ายและราคาถูก
>
>
>
ขณะที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพได้ร่วมมือภาครัฐติดตั้งเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศที่ใช้เซนเซอร์ขนาดเล็ก ซึ่งพัฒนาโดยนักวิจัยของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สามารถตรวจวัดปริมาณฝุ่น PM10, PM2.5 และ PM1.0 แบบ real time รวม 205 ตำบลในเชียงใหม่
>
>
>
นอกจากสิ่งประดิษฐ์กับกระบวนการในการรับมือหมอกควันแล้วนักวิจัยของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ยังได้พัฒนาเว็บไซต์และแอปพลิเคชันเพื่อตรวจสอบคุณภาพอากาศแบบ real timeได้แก่

www.shiru-cmu.org โดยหน่วยวิจัยบูรณาการด้านหมอกควัน ศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์,

www.cmuccdc.org โดย ศูนย์ข้อมูลด้านการเปลี่ยนแปลงอากาศ

www.cmaqhi.org โดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ

http://gist.soc.cmu.ac.th/ และ Facebook : GISTNORTH โดยศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (ภาคเหนือ) คณะสังคมศาสตร์ ด้วยข้อมูลภาคดาวเทียมแบบ Near Real Time
>
>
>
นี้ถือเป็นการมองปัญหาและศึกษามันอย่างจริงจังจนกลายเป็นผลวิจัยและนำมาพัฒนาต่อยอดเป็นสิ่งประดิษฐ์หรือเป็นวิธีการป้องกันภัยอันตรายจากฝุ่นอย่างแท้จริง
>
>
>
ก็หวังเพียงว่าความมุ่งมั่นพยายามแก้ไขปัญหาของทางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่จะได้รับความร่วมมือทุกภาคส่วนซึ่งจะทำให้ปัญหาฝุ่นควันหมดไปได้เร็วยิ่งขึ้นนั้นเอง #เชียงใหม่ #วิจัย #นักวิจัย #นักเรียน #นักศึกษา #มาวิทยาลัยเชียงใหม่ #ฝุ่นควัน


ให้กำลังใจเราหรืออยากตามอ่านงานวิจัยเจ๋ง ๆ เพิ่มเติมได้ที่ q*073q*073

https://bansornmagazine.blogspot.com/2017/10/secret-column-expense-of-research-is-0.html

https://twitter.com/tonygooogking/status/969579360171696128

https://www.facebook.com/barnsorn/
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
Tags:  

หน้า: 1

 
ตอบ
ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:   Go
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม