เนื่องจากวันก่อนกำลังหาข้อมูลเพื่อเขียนเรื่องตัวบันทึกของกล้องวงจรปิดอยู่และไปเห็นหน้า WIKI เกี่ยวกับกล้องไอพีและยังไม่เห็นมีใครทำมาแปล เห็นว่าน่าสนใจส่วนตัวเห็นว่าน่าสนใจและยังไม่มีใครแปลออกมาเลยเอาความรู้มาฝากกันคะ
กล้องวงจรปิด IP Camera คืออะไร? มันคือกล้องวีดีโอดิจิตอลชนิดนึง “Internet Protocol Camera” หรือที่เราเรียกกันว่า “IP Camera” ที่สามารถ รับ-ส่ง ข้อมูลภาพโดยใช้เครือข่ายเน็ตเวริค์เป็นสื่อกลางในการรับ-ส่งข้อมูล โดยส่วนมากจะใช้สำหรับ การดูแลรักษาความปลอดภัย
ซึ่งต่างกับกล้องวงจรปิดแบบอนาล๊อคตรงที่ IP camera บางรุ่นไม่จำเป็นต้องมีตัวบันทึกขอแค่มีระบบเน็ตเวริค์ให้มันก็เพียงพอแล้ว ถ้าเรายึดตามหลักนิยามการทำงานของมันจริงๆแล้วมันคือ “เว็บแคม” นะคะใครเกิดทัน MSN Messager น่าจะรู้
แต่ในนิยามที่คนทั่วไปเข้าใจจะถือว่า IP Camera หรือ เน็ตแคม จัดอยู่ในหมวดกล้องรักษาความปลอดภัย
การจำแนก IP Camera
ตามหลักก่อนปี 1996 กล้อง IP Camera นั้นจะแบ่งจำแนกออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆคือ
แบบ Centralized (ต้องมีตัวกลางช่วยบันทึก) และ Decentralized (ไม่ต้องมีตัวกลางช่วยบันทึก) จวบจนหกระทั้งถึงปี 1996 Centralized IP camera ตัวแรกของโลกก็ได้กำเนิดขึ้นจากบริษัท Axis Communications ชื่อรุ่นว่า Axis neteye 200

กล้องวงจรปิด IP Camera ประวัติความเป็นมา
กล้องวงจรปิด IP Camera Centerlized เครื่องแรกของโลกถูกผลิตในปี 1996 โดยบริษัท Axis Communications ชื่อรุ่น Axis Neteye 200 นั้นถูกคิดค้นโดย นักประดิษฐ์ Martin Gren และ Carl-Axel Alm

ซึ่งกล้องรุ่น Axis Net eye 200 ไม่สามารถบันทึกภาพแบบเคลื่อนไหวได้นะคะ ทำได้แค่เพียงเมื่อมีผู้ใช้ร้องขอภาพจากในกล้องตัวกล้อง พอรู้ว่ายูซเซอร์ล๊อคอินเข้ามาจากนั้นกล้องจะกด Shutter ทีนึงแล้วส่งภาพณ ตอนนั้นส่งให้ยูซเซอร์ เป็นการถ่ายภาพนิ่งแล้วค่อยๆส่งไป หากยังงงลองดูโฆษณาด้านล่างจะเห็นภาพมากขึ้นคะ
แล้ว ณ เวลานั้นใครๆก็คิดว่ามันเป็นไปไม่ได้ ที่จะบันทึกภาพแล้วส่งแสดงภาพแบบภาพเคลื่อนไหว เพราะข้อมูลที่คนสมัยนั้นมอง คิดว่าต้องใช้ Data เยอะเกินไป ประกอบกับจุดประสงค์ดั้งเดิมมันไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อเป็นกล้องวงจรปิด แต่ออกแบบมาเพื่อสำหรับตลาดนักท่องเที่ยวที่ชอบถ่ายภาพ เนื่องจากเทคโนโลยีสมัยนั้นการส่งภาพแค่ CIF มันยังทำได้แค่ 1 เฟรมเรทต่อ 1 วินาที และ 1 เฟรมต่อ 17 วินาทีสำหรับ 4CIF
จนกระทั่งถึงในปี 1998 Axis ได้ปล่อยพิมพ์เขียวของ webserver ในนาม OSYS และยัด Linux เข้าไปในตัวกล้องได้สำเร็จ
Axis ยังได้ ปล่อยเอกสาร Application programming interface หรือที่เราเรียกกันว่า API โดยมีชื่อว่า Vapix โดยสร้างบนมาตรฐานของ http และ Real time streaming Protocal หรือ RTSP การปล่อยพิมพ์เขียวชุดนี้ออกมาจุดประสงค์คือต้องการสร้างแรงจูงใจให้พวก Third party software เข้ามาช่วยพัฒนาซอฟต์แวร์ที่จะช่วยทำให้มันสามารถบันทึกบนตัวมันเองได้
จนกระทั่งในปี 1999 บริษัท Mobotix ได้ปล่อยกล้องที่ไม่ต้องพึ่งพาตัวบันทึกตัวแรกของโลกสำเร็จ กล้องรุ่นนี้สามารถบันทึกภาพเคลื่อนไหวและ มีระบบแจ้งเตือน
และถัดมาในปี 2005 บริษัท Intellio ได้ผลิตกล้องไอพีแบบ On-Board Video content Analytic หรือ VCA เครื่องแรกของโลกได้สำเร็จ ซึ่งระบบกล้องรุ่นนี้สามารถวิเคราะห์ภาพวีดีโอที่แสดงอยู่ขณะนั้นได้ จึงทำให้สามารถตรวจจับ เมื่อมีของที่หายไป แจ้งเตือนเมื่อมีการเคลื่อนไหวในจุดที่เรามาร์คไว้ หรือตรวจจับรถที่ขับย้อนศร และบันทึกในตัวมันเองผ่านเมมโมรี่ SD
กล้องวงจรปิด IP Camera เริ่มสร้างมาตรฐาน
[/size]
กล้องอนาล๊อคยุคก่อนปี 2000เริ่มวางมาตรฐานตัวเอง พัฒนาความคมชัดของภาพโดยใช้มาตรฐานเดียวกันกับสถานีโทรทัศน์ เช่น CIF, NTSC, PAL และ Secam แต่หลังจากปี 2000 เป็นต้นมา พฤติกรรมผู้บริโภคเริ่มเปลี่ยนไปใช้ กล้องอนาล๊อคมากขึ้นเพราะสามารถพัฒนาไปถึงขั้น HD (High-Definition) 1080 (Full-HD) 4K (Ultra-Definition) 16:9 (Wide-Screen format)
ในขณะที่ IP Camera นั้นหากกล้องคนละบริษัทจะทำให้ระบบ API, ซอฟแวร์ที่ใช้ควบคุมกล้อง, ฟังค์ชั่นการบีบอัดภาพที่ทำให้ IP Camera (บางรุ่นสามารถแสดงผลได้ที่ 0.3 Megapixel ไปจนถึง 29 Megapixel หากเทียบก็คือ 6575*4384) จะทำให้กล้องที่ต่างบริษัทกันใช้ร่วมกันไม่ได้
บริษัทผู้ผลิตต่างๆจึงรวมตัวกันแก้ปัญหานี้ด้วยการแบ่งกลุ่มเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆแล้วรวมกันพัฒนาโปรโตคอล จนกระทั่งในปี 2008 จึงปล่อย ฟีเจอร์ออกมา 2 ตัวคือ ONVIF (open network video interface forum) และ PSIA ( physical security interoperability alliance) โดย ONVIF นั้นเกิดจากกลุ่ม Axis, Bosch และ Sony ส่วน PSIA เกิดจากการรวมตัวของ 20 กว่าบริษัทอาทิ Honeywell, GE security และ CISCO ซึ่งจริงๆแล้วทั้งสองฟีเจอร์นั้นเหมือนกันเพราะ จุดมุ่งหมายคือไม่ว่าจะเป็นกล้องหรือเครื่องบันทึกของบริษัทไหนหากสร้างมาตรฐานเดียวกันแล้วจะใช้ร่วมกันได้หมด จึงเกิดมาเป็น IP camera ให้เราใช้กันจนถึงทุกวันนี้คะ
เครดิต จากเว็บ PC&C