หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: รักษาปอดให้แข็งแรงห่างไกล “เชื้อนิวโมคอกคัส” สาเหตุสำคัญของโรคที่เกี่ยวกับปอด  (อ่าน 7 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 9 เม.ย. 20, 14:21 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 

โรคปอดอักเสบ ภัยเงียบที่ป้องกันได้” ปัจจุบันโรคระบบทางเดินหายใจและโรคปอดเป็นโรคที่พบบ่อย และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตและอยู่ในอันดับต้นๆ ของประชากรโลก ทั้งนี้โรคปอดอักเสบเกิดได้กับคนทุกวัย แต่โรคปอดอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อนั้นมีความอันตรายต่อเด็ก, ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ เนื่องจากบางครั้งหากติดเชื้อรุนแรงอาจส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ แต่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน



โรคจากเชื้อ Streptococcus pneumoniae

เป็นโรคจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ Streptococcus pneumoniae ซึ่งติดต่อโดยทางเดินหายใจ ทำให้เกิดโรคในมนุษย์ตั้งแต่ คออักเสบ ปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และการติดเชื้อ ในกระแสเลือด

ปัจจุบันโรคติดเชื้อ Streptococcus pneumoniae เช่น ปอดอักเสบ เป็นโรคที่ ป้องกันได้ โดยองค์การวัคซีนของ USA (ACIP) ได้แนะนำให้วัคซีนในทุกช่วงอายุ เพื่อป้องกันโรคติดเชื้อ IPD (Invasive Pneumococcal Disease)

IPD เป็นเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคติดเชื้อในทุกอายุ โดยเฉพาะในเด็กเล็กทำให้ปอดบวม หูชั้นกลางอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
และสำหรับในผู้ใหญ่ เชื้อนี้มีหลายสายพันธุ์ ทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด อันเป็นเหตุให้มีอันตรายถึงแก่ชีวิต

ปัจจุบันมีการใช้วัคซีน

1.แบบ 13 สายพันธุ์ สำหรับทุกอายุตั้งแต่เด็กจนถึงผู้สูงอายุ
2.แบบ 23 สายพันธุ์ สำหรับผู้ใหญ่อายุ 65 ปี และบุคคลที่มี
ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ IPD เช่น
2.1ผู้ป่วยมีภูมิต้านทานต่ำทุกสาเหตุ
2.2ผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคตับ
2.3ผู้ป่วยเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ
2.4ผู้ป่วยมะเร็ง
2.5ผู้ป่วยโรคไตที่ต้องล้างไต
2.6ผู้ป่วยเคมีบำบัด หรือรับการฉายแสงเพื่อรักษาโรค
2.7ผู้ที่สูบบุหรี่

การรับวัคซีนวัคซีนมี 2 ชนิด คือ

1.13-valent pneumococcal conjugate vaccine(PCV13; Prevnar13)
2.23-valent pneumococcal vaccine(PPSV23; Pneumovax23)

วัคซีนชนิดแรกได้รับอนุญาตให้ใช้เพื่อป้องกันภาวะ invasive pneumococcal disease (IPD) และหูชั้นกลางอักเสบในเด็กทารกและเด็กเล็ก เนื่องจากครอบคลุมสายพันธุ์ที่ก่อโรค 13 ชนิด และองค์การอาหารและยาของสหรัฐ ได้อนุมัติเพิ่มเติมให้ใช้ในการป้องกันภาวะปอดบวมและ IPD ในผู้ใหญ่อายุมากกว่า 50 ปี ในปี 2011 ส่วน PPSV23 จะใช้ป้องกัน IPD ในผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี หรือผู้ที่มีความเสี่ยง

โดยการฉีดวัคซีนควรฉีดทั้ง 2 ชนิด รวม 2 ครั้ง โดยที่ห่างกัน อย่างน้อย 2 เดือน จะทำให้สามารถป้องกันเชื้อ Pneumococcus ได้ครบ และนานอย่างน้อย 5 ปี

ทางโรงพยาบาลนนทเวชมีความยินดีให้คำปรึกษาโดยละเอียดและฉีดวัคซีนป้องกันโรค Pneumococcus แก่บุคคลทั่วไป



เพราะการป้องกันดีกว่าการรักษา การได้รับวัคซีนทั้งในวัยเด็กและผู้สูงอายุจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยป้องกันการเกิดโรคได้ เพราะยิ่งอายุมากขึ้น ปัจจัยเสี่ยงและความไวของเชื้อในการก่อโรคยิ่งเพิ่มมากขึ้น เช่น โรคไข้หวัดใหญ่ โรคปอดบวม ปอดอักเสบ ดังนั้นในเด็กและผู้สูงอายุจึงมีความจำเป็นที่ต้องฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันโรคเช่นเดียวกัน

ทั้งนี้ผู้ที่ต้องการฉีดวัคซีนควรพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีน เพื่อรับการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และรับคำแนะนำเกี่ยวกับข้อบ่งชี้และข้อห้ามของวัคซีนแต่ละตัว เพื่อให้ได้รับประโยชน์และความปลอดภัยจากการฉีดวัคซีนอย่างแท้จริง หรือสามารถเข้ามาปรึกษาที่โรงพยาบาลนนทเวชได้ค่ะ

ขอบคุณข้อมูล : https://www.nonthavej.co.th/Pneumococcal-vaccine.php
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า

กระทู้ฮอตในรอบ 7 วัน

Tags:  วัคซีนปอดอักเสบ   โรคปอดอักเสบ   เชื้อนิวโมคอกคัส   ฉีดวัคซีนปอด   โรงพยาบาลนนทเ 

หน้า: 1

 
ตอบ
ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:   Go
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม