หน้า :
กระทู้: ออกกำลังกายสมองอย่างไร ป้องกันภาวะสมองเสื่อม เริ่มกระทู้โดย: kouy1221 ที่ 16 พ.ย. 18, 13:16 น 3 เทคนิคเจ๋งๆ ค้นหากิจกรรมออกกำลังสมอง
" ... มาออกกำลังสมองกันเถอะ ... " ก่อนจะเข้าสู่เนื้อหาการออกกำลังสมองจำเป็นจะต้องทราบก่อนว่าสมองทำงานอย่างไร สมองมีหน้าที่รับรู้ ประมวลผล จัดเก็บและกระจายข้อมูลไปประมวลและบันทึกสะสมไว้ในสมองส่วนต่างๆเพื่อการใช้งานในอนาคต สมองส่วนที่เรียกว่า ... " ฮิปโปแคมปัส " ...จะทำหน้าที่ในการเก็บความทรงจำ จากประสบการณ์และการรับรู้ซึ่งผ่านมาจากระบบประสาทสัมผัสต่างๆ เช่น การมองเห็น การได้ยิน การดมกลิ่น การสัมผัสและการรับรส สิ่งแวดล้อม ประสบการณ์ที่แปลกใหม่จะสามารถกระตุ้นการทำงานของสมองได้มากกว่าปกติ เพราะขณะที่เรากำลังเรียนรู้ประสบการณ์ใหม่เซลล์สมองระบบประสาทจะถูกกระตุ้น ทำให้แตกแขนงเชื่อมต่อกันมากขึ้น ดังนั้น การออกกำลังสมอง คือ การทำกิจกรรมในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งซึ่งมีผลไปกระตุ้นการทำงานของสมองส่วนประสาทสัมผัส ในส่วนความจำและส่วนที่เกี่ยวข้องกับ สมองส่วนจัดการทักษะชั้นสูง ( cognitive ) ===================== ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสมอง... เมื่อทารกอยู่ในครรภ์ เซลล์ประสาทในสมองจะสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงแต่ละเซลล์ด้วยกัน เซลล์จะตอบสนองกับสิ่งแวดล้อมใหม่ๆและเมื่ออายุครบประมาณ 5 ปี สมองจะถูกสร้างจนครบสมบูรณ์แบบ ในอดีตเชื่อว่าเซลล์ประสาทไม่มีการสร้างขึ้นใหม่แต่จะค่อยๆลดจำนวนลงเมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่หรือวัยสูงอายุ แต่ในปัจจุบันการศึกษาต่างๆ พบว่าเซลล์ประสาทในสมองนั้นจะมีจำนวนคงที่ แม้อายุจะมากขึ้นและยังสามารถจะเจริญแตกแขนงมากขึ้นเพื่อทดแทนส่วนที่สูญเสียไปแล้ว ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีว่า ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะสมองเสื่อม ได้แก่ พันธุกรรม สิ่งแวดล้อม พฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ดี โรคเบาหวาน โรคเส้นเลือดสมอง และอื่นๆเป็นต้น ซึ่งจากการศึกษาพบว่า " สิ่งแวดล้อมและประสบการณ์ที่แปลกใหม่ " สามารถกระตุ้นการทำงานของสมองได้มากกว่า เห็นได้ชัดในผู้มีพฤติกรรมกระฉับกระเฉงจะมีโอกาสการเกิดสมองเสื่อมน้อยกว่า ขณะที่กำลังเรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ เซลล์ระบบประสาทจะสร้างสารสื่อประสาท ซึ่งจะไปกระตุ้นให้เซลล์ประสาทเองให้แตกแขนงเชื่อมโยงกันมากขึ้น ===================== หลักของการออกกำลังสมอง 1. เปลี่ยนแปลงชีวิตประจำวัน ลองเปลี่ยนแปลงขั้นตอนการปฏิบัติ เช่น การรับประทานอาหารเช้า หลังอาบน้ำ ดูแลสวน ตกแต่งต้นไม้หรือรดน้ำต้นไม้หลังตื่นนอนตอนเช้า เพิ่มเติมกิจวัตรใหม่ๆเข้าไปจากเดิม เช่น การวิ่งออกกำลังตอนเช้า ตอนทำอาหารเมนูใหม่ๆด้วยตัวท่านเอง รวมไปถึง ... การเปลี่ยนแปลงวิธีปฏิบัติ ... เช่น การฝึกงานใช้มือข้างที่ไม่ถนัด การฟังรายการวิทยุใหม่ๆ การฟังเพลง ทำนองใหม่ๆ เปลี่ยนรูปแบบไปจากที่เคยคุ้นเคย ===================== 2. เลือกใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า เลือกประสาทสัมผัสใหม่ๆแทนที่ใช้บ่อย เช่น ใช้มือคำของทำหาของแทนการมองหา การสื่อสารด้วยท่าทางแทนคำพูด อาจออกแบบออกมาเป็นเกมการละเล่น ผ่านกิจกรรมสนุกๆได้ สังเกตการผสมผสานประสาทสัมผัสทั้งห้า เช่น การดมกลิ่นหอมของดอกไม้ขณะเพลิดเพลินไปกับการฟังเพลง การลิ้มรสชาติไปพร้อมๆกับกลิ่นหอมของอาหารและภาพการจัดอาหารที่ดูน่ารับประทาน กระตุ้นประสาทสัมผัส เช่น การบำบัดด้วยกลิ่น การฝึกเล่นเกมส์ทดลองสมอง เช่น การเล่นไพ่ การเล่นหมากล้อม หมากกระดาน การเล่นเกม sudoku ของญี่ปุ่น เป็นต้น ===================== 3. ท้าทายประสบการณ์ใหม่ๆ การเดินทางเที่ยวเดินทางทัศนศึกษาพักค้างแรม การหางานอดิเรกใหม่ๆทำ เช่น เล่นกีฬาให้เหมาะกับวัยในรูปแบบที่ไม่เคยลอง การทำงานฝีมือเย็บปักถักร้อย หรือ เดินเลือกซื้อของด้วยตัวเอง การพบปะสังสรรค์เช่น การเข้าทำกิจกรรมร่วมกันในครอบครัว การเข้าเป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ การเป็นที่ปรึกษาในหน่วยงานที่ท่านเชี่ยวชาญ เป็นต้น ===================== วิธีออกกำลังสมองไม่ได้จำกัดอยู่ที่กล่าวมา แต่พฤติกรรมที่ปฏิบัติแนวที่ทำให้ได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้พบประสบการณ์ใหม่ๆ ล้วนแล้วแต่เป็นการออกกำลังสมองทั้งสิ้น หมอขอเน้นให้ยึดตามหลักการออกกำลังสมองแล้ว ก็ควรให้เหมาะสมกับวัย ความสะดวกและความชื่นชอบที่ผู้สูงวัย สามารถปฏิบัติด้วยจะเป็นการดีที่สุดนะครับ นพ.เก่งพงศ์ ตั้งอรุณสันติ ( หมอเก่ง ) อายุรแพทย์ประจำรพ.ผู้สูงอายุ Chersery home www.cherseryhome.com คลินิกกระตุ้นสมองและความจำสำหรับผู้สูงวัย สอบถามที่ 094-426-4439 02-056-1684 ทุกวัน 7.00น.-18.00น. |